กานพลู สมุนไพร สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นกานพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของกานพลูมีอะไรบ้างกานพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกานพลู ( Clove ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry กานพลู คือ พืชตระกลูชมพู่ เป็นไม้ยืนต้น สรรพคุณหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แหล่งปลูกและส่งออกกานพลู คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประเทศศรีลังกา เป็นต้น

ลักษณะของต้นกานพลู

สำหรับ ต้นกานพลู จัดเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศแถบเอเชียกลาง ดอกกานพลูตากแห้ง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะบำรุงเหงือกและฟัน ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร ลักษณะของต้นกานพลูเป็นพุ่มทรงกรวยคว่ำ เปลือกลำต้นเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน เปลือกกานพลูมีต่อมน้ำมัน
  • ใบกานพลู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีความมันวาว
  • ดอกกานพลู ลักษณะเป็นช่อดอก โดยดอกกานพลูแทงออกจากปลายยอด และ ง่ามใบ ดอกกานพลูแตกแขนงเป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีต่อมน้ำมัน
  • ผลกานพลู พัฒนามาจากดอกกานพลู เป็นผลเดี่ยว ในผลกานพลูมีเมล็ด เป็นทรงไข่ ผลแก่กานพลูมีสีแดงเข้ม

กานพลูในประเทศไทย

สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทย มีน้อยมาก ความต้องการใช้กานพลูนั้นนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก ปริมาณการนำเข้ากานพลูมากกว่า 100 ตันต่อปี ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

สำหรัยการพลูด้านการรักษาโรค ตำรายาสมุนไพรของไทย เลือกใช้ดอกกานพลูแห้ง ในการนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน หรือ นำดอกกานพลูแห้งมาชงน้ำเพื่อดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม นอกจากนั้น นำกานพลูผสมน้ำใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

น้ำมันกานพลู คือ น้ำมันที่สกัดได้จากกานพลู ซึ่งมีสรรพคุณในาการยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ซึ่งในน้ำมันกานพลู มี สารeugenol มีสรรพคุณป้องการการเกิดโรคโลหิตจาง ฆ่าเชื้อรา มีฤทธิ์เร่งการขับน้ำดี นำมันกานพลู นำมาเป็นส่วนผสมของอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นำไปผสมน้ำยาบ้วนปาก นำมาใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง นำมาแต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ทำสบู่ และ ทำยาสีฟัน

สำหรับสารเคมีต่างในกานพลู พบว่ามีหลากหลาย และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่ง สามารถสรุป สารเคมีต่างๆในกานพลูส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ใบกานพลู มี Eugenol 94.4 % และ β-caryophyllene 2.9 %
  • ดอกการพลู มี Eugenol 72-90 % Eugenyl acetate 2-2.7 %  β-caryophyllene 5-12 %  และ trans-β-caryophyllene 6.3-12.7 %

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ดอกกานพลู เปลือกลำต้นกานพลู ใบกานพลู และ น้ำมันกานพลู โดย สรรคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกกานพลู สามารถใช้รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาหู บรรเทาอาการไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย รักษาโรคหืด ขับเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน และ ช่วยดับกลิ่นปาก
  • เปลือกต้นกานพลู สามารถแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกานพลู สามารถช่วยรักษาอาการปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สามารถช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ นั้นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ห้ามใช้กานพลู เพราะ กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สาร eugenol ที่พบในดอกการพลู ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันกานพลู หากนำมาใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ นำมาบ้วนปากเพื่อระงับกลิ่นปากโดยตรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

กานพลู สมุนไพรกลิ่นหอม สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลักษณะของต้นกานพลู คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู มีอะไรบ้าง โทษของกานพลู เป็นอย่างไร ต้นกานพลู

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้าง

เห็ดหอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเห็ดหอม คือ พืชชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆของเห็ดหอม คือ ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น เห็ดหอม เป็นพืชที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ดอกเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากชนิด มีประโยขน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บำรุงกระดูก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะของต้นเห็ดหอม

เห็ดหอม ( Shiitake ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอมให้ผลผลิดตลอดทั้งปี โดยให้ผลผลิดสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ต้นเห็ดหอมมีลักษณะเหมือนหมวกกลมๆ ผิวสีน้ำตาลอ่อน มีขนสีขาวอ่อนๆ ก้านดอกเห็ด และ โคนเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม สามารถรับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมนั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง โดยผลการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 387 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาการ 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 8.5 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 375 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สำหรับการศึกษาเห็ดหอม จากการศึกษาเห็ดหอมในงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่าในเห็กหอมมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • เลนติแนน ( Lentinan ) สารอาหารชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี
  • กรดอะมิโนอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) กรออมิโนชนิดนี้ช่วยย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ลดไขมันและคอเรสเตอรัลในเลือดได้ดี ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ
  • สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) ช่วยบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคโลหิตจาง

สรรพคุณของเห็ดหอม

สำหรับการบริโภคเห็ดหอม นั้นมีปรธโยชน์และสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหอมมีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยสร้างระบบภูมิต้านทานโรคทำให้แก่ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย หรืออาการโลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ไม่ให้กระดูกเปราะหรือแตกหักง่าย
  • ช่วยบำรุงระบบสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า ช่วยให้ระบบประสาทของร่างกายให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ใบหน้าดูไม่แก่ก่อนวัย
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายและสบายขึ้น

โทษของเห็ดหอม

สำหรับการนำเห็ดหอมมารับประทาน ในปัจจุบันมีการนำเห็ดหอมมารับประทานในหลายรูปแบบ ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง สำหรักการเลือกเห็ดหอมที่สะอาดและ ปรุงอย่างถูกวิธี จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษจากการกินเห็ดหอม โดยการซื้อเห็ดหอม สำหรับเห็ดหอมแห้ง ควรเลือกซื้อเห็ดหอมที่ดอกหนา มีรอยแตกสีขาวลึกกระจายทั่วดอก โดยให้นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 15 นาที จนเห็ดหอมแห้งนุ่มก่อนนำไปปรุงอาหาร ส่วนเห็ดหอมสด ควรเลือกซื้อดอกเห็ดที่สดและสะอาด สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม มีดังนี้

  • การรับประทานเห็ดหอม สำหรับคนที่มีอาการแพ้เห็ดหอม ให้หยุดกินทันที และ พบเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากรับประทานเห็ดหอมและมีอาการดังนี้ คือ ปวดท้อง มีอาการแพ้ตามผิวหนัง มีเลือดออกผิดปกติ หายใจลำบาก ให้พบแพทย์ด่วน
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม
  • สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอมกระตุ้นการทำงานของร่างกาย อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ ( Eosinophilia ) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอม อาจทำให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ คือ พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออก ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม สรรพคุณของเห็ดหอม และ โทษของเห็ดหอม มีอะไรบ้าง เห็ดหอม เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย