ผักชีฝรั่ง นิยมกินใบเป็นอาหารให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้นผักชีฝรั่ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักชี

ผักชีฝรั่ง ( Long coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง คือ Eryngium foetidum L  สำหรับชื่อเรียกท้องถิ่นของผักชีฝรั่ง เช่น หอมป้อมกูลวา ผักชีดอย  ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา ผักจีดอย ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ ผักชีใบเลื่อย หอมน้อยฮ้อ หอมป้อม หอมเป ผักหอมเทศ ผักหอมเป หอมป้อมเปอะ เป็นต้น ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีการปลูกเพื่อเป็นอาหารและยาอยู่ทั่วโลก โดยมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย สารสำคัญต้านอนุมูลอิสระ เบตาแคโรทีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี และแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และอื่นๆอีกมากมาย

ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่ง เป็นสมุนไพรขนาดเล็ก เป็นพืชอายุสั้น หรือ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนผักชนิดอื่น นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร หรือ มาทำเป็นยาสมุนไพร ลักษณะของผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักชีฝรั่ง ลำต้นเตี้ย ติดดิน
  • ใบของผักชีฝรั่ง ออกใบจากลำต้น รอบๆโคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบยาว ทรงหอก ขอบใบเป็นแบบฟันเลื่อย
  • ดอกผักชีฝรั่ง จะออกเป็นก้าน สูงตรงออกมาจากโคนต้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย ดอกเป็นกระจุกกลม และ เป็นส่วนที่จะขยายพันธ์ต่อไป

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

เนื่องจากผักชีฝรั่งเป็นผักที่เรารับประทานเป็นประจำ ทั้งรับประทานสด และนำมาประกอบอาหาร แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า ผักชีฝรั่งยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร บำรุงร่างกายด้านต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงร่างกาย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอเสื่อมของเซลล์ร่างกาย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงกระดูกและฟ้น เนื่องจากมีแคลเซียมสูง
  • บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนโลหิต ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงผิวพรรณ และ บำรุงเส้นผม เนื่องจากมีวิตามินสูง
  • บรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดศีรษะและปวดตามร่างกาย
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ ลดน้ำมูก
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขัถ่ายได้ดี บำรุงระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง ทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังให้ลดลง
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
  • บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย หรือ ถูกงูกัด ใช้แก้พิษได้ดี
  • ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ ทำให้เลือกหยุดไหล แก้อาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยกระตุ้นน้ำนม
  • ระงับกลิ่นในช่องปาก ลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ลมหายใจสดชื่น

ข้อควรระวังการรับประทานผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่การรับประทานจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะ ในใบของผักชีใรั่งจะมีการสะสมของสารที่เรียกว่า กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นการสะสมตะกอนแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะแสบ หรือ ปวดท้องน้อย การรับประทานควรสลับกับผักชนิดอื่น ไม่ควรรับประทานทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ดี

ผักชีฝรั่ง พืชสวนครัว นิยมกินใบเป็นอาหาร ให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลู ต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลูทำให้เป็นนิ่วในไตชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นชะพลู ( Wildbetal leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู คือ Piper sarmentosum Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ผักพลูนก , พลูลิง , ปูลิง , ปูลิงนก , ผักปูนา , ผักแค , ผักอีเลิด , ผักนางเลิด , ช้าพลู , นมวา เป็นต้น ชะพลู พืชพื้นบ้าน ตระกูลพริกไทย ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูง นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร เช่น เมี่ยงคำ แกงกะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือ นำมากินกับน้ำพริก แต่ใบชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือ รับประทานอย่างเป็นประจำ

ลักษณะของต้นชะพลู

ชะพลู พืชตระกลูเดียวกับพริกไทย เป็นพืชล้มลุก พืชคุลมดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่ชะพลูชอบดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ชะพลู สามารถขยายพันธุ์ โดยการแยกเหง้า หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู มีลักษณะตั่งตรง เกาะตามหลักหรือเสา สูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นเป็นข้อๆ
  • ใบชะพลู ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบสีเขียวสด ผิวใบเรียบนูน ลักษณะมันวาว ใบมีกลิ่นหอม ใบออกตามข้อของลำต้น
  • ดอกชะพลู ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกชะพลูเป็นทรงกระบอก ดอกอ่อนชะพลูมีสีขาว ดอกแก่ชะพลูสีเขียว ดอกแทงออกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู ผลชะพลูมีสีเขียว ลักษณะมัน ผลออกบนช่อดอก ลักษณะเล็กกลมฝังตัวในช่อดอก ดอกชะพลูออกในฤดูฝนของทุกปี

คุณค่าโภชนากการของชะพลู

ใบชะพลู นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สารอาหารสำคัญใน ใบชะพูล เช่น แคลเซียม เบต้าแคโรทีน น้ำมันหอมระเหย ( Volatile Oil ) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการชองใบชะพลู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 6.09 กรัม โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม และ เบต้าแคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับชะพลู มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ชะพลู สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้ง รากชะพลู ลำต้นชะพลู ใบชะพลู และ ผลชะพลู สรรพคุณของชะพลู มีดังนี้

  • รากชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงเลือด
  • ลำต้นชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • ใบชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ผลชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร
  • ดอกชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม

โทษของชะพลู

สำหรับการบริโภคชะพลู ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประมานมากเกินไป และ รับประทานติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู มีดังนี้

  • ใบชะพลูมีสารออกซาเลทสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป การสะสมสารออกซาเลทมากๆ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต สำหรับการขับสารออกซาเลท ต้องดื่มน้ำตามมากๆ สารออกซาเลตจะเจือจางลง โดยทางการปัสสาวะ

 

ชะพลู พืชล้มลุก ตระกลูพริกไทย นิยมรับประทานใบชะพลู ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของใบชะพลู ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลู ทำให้เป็นนิ่วในไต

 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย