ผักชีฝรั่ง นิยมกินใบเป็นอาหารให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้นผักชีฝรั่ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักชี

ผักชีฝรั่ง ( Long coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง คือ Eryngium foetidum L  สำหรับชื่อเรียกท้องถิ่นของผักชีฝรั่ง เช่น หอมป้อมกูลวา ผักชีดอย  ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา ผักจีดอย ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ ผักชีใบเลื่อย หอมน้อยฮ้อ หอมป้อม หอมเป ผักหอมเทศ ผักหอมเป หอมป้อมเปอะ เป็นต้น ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีการปลูกเพื่อเป็นอาหารและยาอยู่ทั่วโลก โดยมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย สารสำคัญต้านอนุมูลอิสระ เบตาแคโรทีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี และแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และอื่นๆอีกมากมาย

ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่ง เป็นสมุนไพรขนาดเล็ก เป็นพืชอายุสั้น หรือ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนผักชนิดอื่น นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร หรือ มาทำเป็นยาสมุนไพร ลักษณะของผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักชีฝรั่ง ลำต้นเตี้ย ติดดิน
  • ใบของผักชีฝรั่ง ออกใบจากลำต้น รอบๆโคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบยาว ทรงหอก ขอบใบเป็นแบบฟันเลื่อย
  • ดอกผักชีฝรั่ง จะออกเป็นก้าน สูงตรงออกมาจากโคนต้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย ดอกเป็นกระจุกกลม และ เป็นส่วนที่จะขยายพันธ์ต่อไป

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

เนื่องจากผักชีฝรั่งเป็นผักที่เรารับประทานเป็นประจำ ทั้งรับประทานสด และนำมาประกอบอาหาร แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า ผักชีฝรั่งยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร บำรุงร่างกายด้านต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงร่างกาย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอเสื่อมของเซลล์ร่างกาย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงกระดูกและฟ้น เนื่องจากมีแคลเซียมสูง
  • บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนโลหิต ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงผิวพรรณ และ บำรุงเส้นผม เนื่องจากมีวิตามินสูง
  • บรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดศีรษะและปวดตามร่างกาย
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ ลดน้ำมูก
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขัถ่ายได้ดี บำรุงระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง ทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังให้ลดลง
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
  • บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย หรือ ถูกงูกัด ใช้แก้พิษได้ดี
  • ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ ทำให้เลือกหยุดไหล แก้อาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยกระตุ้นน้ำนม
  • ระงับกลิ่นในช่องปาก ลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ลมหายใจสดชื่น

ข้อควรระวังการรับประทานผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่การรับประทานจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะ ในใบของผักชีใรั่งจะมีการสะสมของสารที่เรียกว่า กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นการสะสมตะกอนแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะแสบ หรือ ปวดท้องน้อย การรับประทานควรสลับกับผักชนิดอื่น ไม่ควรรับประทานทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ดี

ผักชีฝรั่ง พืชสวนครัว นิยมกินใบเป็นอาหาร ให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้น

ยี่หร่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณบำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่ายี่หร่า เครื่องเทศ สมุนไพร สรรพคุณของยี่หร่า

ต้นยี่หร่า ภาษาอังกฤษ เรียก Shrubby basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. นอกจากนั้นมีชื่อท้องถิ่นภาษาไทยอื่นๆ ได้แก่ หอมป้อม ( ภาษาถิ่นของภาคเหนือ ), กะเพราญวณ ( ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร ), จันทร์หอม เนียม ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ), สะหลีดี ( ภาษาถิ่นของกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ), โหระพาช้าง กะเพราควาย ( ภาษาถิ่นของภาคกลาง ), หร่า ( ภาษาถิ่นของภาคใต้ )

ยี่หร่ามีถิ่นกำเนิดในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าเรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศ หรือทำยาหอม คนละประเภทกับที่เราใช้รับประทานใบที่ใช้รับประทาน ยี่หร่ามีชื่อหลากหลายชื่อ เช่น ยี่หร่าจันทร์หอม ยี่หร่าเนียมต้น เนียม กะเพราญวน และ โหระพาช้าง เป็นต้น เรานิยมคุ้นเคยนำมาผัดรับประทานกัน

ชนิดของยี่หร่า

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ยี่หร่าเทียนขาว และ ยี่หร่าจันทรหอม รายละเอียด ดังนี้

  • เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • จันทร์หอม เป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้กันครับ

ลักษณะของต้นยี่หร่า 

ต้นยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ชอบความชื้นปานกลาง ในสภาพกลางแจ้งและแสงเข้าถึง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีทรงเตี้ย โดยมีความสูงไม่มากแค่ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอกใน 1 ช่อ
  • ผล เป็นรูปทรงกลมยาวรี มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดมากมาย อบให้แห้ง ใช้ดับกลิ่นคาว เป็นเครื่องเทศชั้นดี

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เนื่องจากเป็นพืชที่สะสมแร่ธาตุและวิตามิน การรับประทานยี่หร่า จึงแทบจะไม่ให้พลังงาน แต่จะมีกากใยและวิตามินแร่ธาตุจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินบี1-3 วิตามินซีสูง มีธาตุอาหารหลัก คือ แคลเซียมสูง และธาตุอาหารรอง คือ เหล็กและฟอสฟอรัส โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่น้อย

สรรพคุณของยี่หร่า

สรรพคุณทางการรักษาโรคของยีหร่า นอกจากจะใช้ยี่หร่าเป็นอาหาร ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ในอาหารไทยต่างๆแล้ว การรับประทานยี่หร่ายังมีระโยชน์ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ให้ย่อยอาหารได้เป็นปกติ ลดก๊าซในไส้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฝ้อ อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ขับก๊าซในกระเพาะ และลำไส้ได้ดี ลดการจุกเสียดเมื่อรับประทานอาหาร
  • เมื่อเกิดอาการลำไส้หด การบีบตัวของลำไส้ ยี่หร่าสามารถลดอาหารต่างๆเหล่านี้ได้ดี
  • ในใบยี่หร่ามีธาตุอาหารรองต่างๆมากมาย ช่วยบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย ให้สมดุล
  • เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน จากการหดเกร็งของมดลูก ยี่หร่าสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ดี
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ สามารถใช้ผลยี่หร่าตากแห้งประมาณ 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือด ประมาณ 1 ลิตร ใช้ดื่มแก้อาการ
  • ผลการวิจัย พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้ง หรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต้นๆ ได้ดี
  • มีวิตามินซีสูง บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน และลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงระบบกระดูกและฟันได้ดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ

ประโยชน์ของยี่หร่า

คนไทยรับประทานยี่หร่ามาช้านาน เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณบำรุงร่างกายมากมาย มีการนำยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่

  • ยี่หร่าถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันยี่หร่า ( Caraway oil ) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว สร้างกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก
  • เมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหอมสำหรับถนอนอาหาร ใช้หมักอาหารประเภทเนื้อต่างๆ ให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยเฉพาะการทำเนื้อตากแห้ง ใช้ผสมเครื่องหมักเนื้อก่อนนำไปตาก พบว่านอกจากจะถนอมอาหารได้ดีแล้วยังดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง
  • เมล็ดยี่หร่าแห้งนิยมนำมาทำเครื่องแกง โดยโขลกรวมกับเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริกแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เพิ่มความหอม
  • ใบยี่หร่าใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมรับประทนกับไส้อั่ว เพิ่มรสชาติและความหอม

ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศสำคัญในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะแกงกะหรี่และมัสมั่น ส่วนอาหารไทยนิยมใช้ใบยี่หร่าในการแต่งกลิ่นอาหาร และ ยังมีน้ำมันระเหย เรียก น้ำมันยี่หร่า ( cumin oil ) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม

ยี่หร่า สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม นำเสนอเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย