ผักชีฝรั่ง นิยมกินใบเป็นอาหารให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้นผักชีฝรั่ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักชี

ผักชีฝรั่ง ( Long coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง คือ Eryngium foetidum L  สำหรับชื่อเรียกท้องถิ่นของผักชีฝรั่ง เช่น หอมป้อมกูลวา ผักชีดอย  ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา ผักจีดอย ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ ผักชีใบเลื่อย หอมน้อยฮ้อ หอมป้อม หอมเป ผักหอมเทศ ผักหอมเป หอมป้อมเปอะ เป็นต้น ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีการปลูกเพื่อเป็นอาหารและยาอยู่ทั่วโลก โดยมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย สารสำคัญต้านอนุมูลอิสระ เบตาแคโรทีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี และแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และอื่นๆอีกมากมาย

ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่ง เป็นสมุนไพรขนาดเล็ก เป็นพืชอายุสั้น หรือ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนผักชนิดอื่น นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร หรือ มาทำเป็นยาสมุนไพร ลักษณะของผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักชีฝรั่ง ลำต้นเตี้ย ติดดิน
  • ใบของผักชีฝรั่ง ออกใบจากลำต้น รอบๆโคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบยาว ทรงหอก ขอบใบเป็นแบบฟันเลื่อย
  • ดอกผักชีฝรั่ง จะออกเป็นก้าน สูงตรงออกมาจากโคนต้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย ดอกเป็นกระจุกกลม และ เป็นส่วนที่จะขยายพันธ์ต่อไป

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

เนื่องจากผักชีฝรั่งเป็นผักที่เรารับประทานเป็นประจำ ทั้งรับประทานสด และนำมาประกอบอาหาร แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า ผักชีฝรั่งยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร บำรุงร่างกายด้านต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงร่างกาย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอเสื่อมของเซลล์ร่างกาย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงกระดูกและฟ้น เนื่องจากมีแคลเซียมสูง
  • บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนโลหิต ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงผิวพรรณ และ บำรุงเส้นผม เนื่องจากมีวิตามินสูง
  • บรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดศีรษะและปวดตามร่างกาย
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ ลดน้ำมูก
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขัถ่ายได้ดี บำรุงระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง ทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังให้ลดลง
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
  • บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย หรือ ถูกงูกัด ใช้แก้พิษได้ดี
  • ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ ทำให้เลือกหยุดไหล แก้อาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยกระตุ้นน้ำนม
  • ระงับกลิ่นในช่องปาก ลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ลมหายใจสดชื่น

ข้อควรระวังการรับประทานผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่การรับประทานจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะ ในใบของผักชีใรั่งจะมีการสะสมของสารที่เรียกว่า กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นการสะสมตะกอนแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะแสบ หรือ ปวดท้องน้อย การรับประทานควรสลับกับผักชนิดอื่น ไม่ควรรับประทานทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ดี

ผักชีฝรั่ง พืชสวนครัว นิยมกินใบเป็นอาหาร ให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้น

มะยม ( star gooseberry ) พืชมงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นมะยมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้เจ็บคอ บำรุงเหงือกและฟัน โทษของมะยม มีอะไรบ้างมะยม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะยม ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ในทางการแพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ ในการนำมาทำยารักษาโรค เป็นส่วนของ ใบและราก มะยม ภาษาอังกฤษ เรียก Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม คือ Phyllanthus acidus (L.) Skeels เป็นพืชในตระกูลมะขามป้อม ชื่อรียกอื่นๆของมะยม เช่น หมากยม หมักยม ยม เป็นต้น

มะยมในประเทศไทย

ประเทศไทย มีความเชื่อว่า มะยมเป็นพืชมงคล ให้ปลูกในทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งไม่ดี คำว่า มะยม ออกเสียงคล้ายคำว่า นิยม ต้นมะยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ผลมะยม นิยมนำมาทำอาหารรับประทานมากมาย เช่น รับประทานผลสด นำมาแช่อิ่ม หรือ เชื่อม เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะยม

ต้นมะยม เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป มะยมสามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะยม มีดังนี้

  • ลำต้นมะยม มีความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นกลม ผิวลำต้นขลุขละ เป็นลูกคลื่น ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก
  • ใบมะยม เป็นใบใบประกอบ ออกใบตามกิ่งก้านเรียงสลับจำนวนมาก ลักษณะใบเรียวรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ
  • ดอกมะยม ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกคล้ายไตสีเขียวหรือสีแดง
  • ผลมะยม ลักษณะกลมแบน ลักษณะเป็นแฉกๆมนๆ เหมือนดวงดาว แตัไม่แหลม ผลอ่อนมะยมสีเขียว ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดมะยม ลักษณะคล้ายพูผล เมล็ดแข็ง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละเมล็ด เนื้อเมล็ดแข็งมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

สำหรับการบริโภคมะยม นิยมรับประทานผลมะยม มีรสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะยม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะยมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 33 แคลอรี่ โดยสารอาหารที่สำคัญในผลมะยม ประกอบด้วย กากใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต 6.40 กรัม โปรตีน 0.90 กรัมไขมัน 0.40 กรัม  แคลเซียม 32 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม  ธาตุเหล็ก 0.50 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 200 มิลลิกรัม โซเดียม 2 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 28 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะยม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะยม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผล ใบ และ ราก โดย สรรพคุณของมะยม มีดังนี้

  • ผลมะยม สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย ช่วยขับถ่าย รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง แก้อาการคัน ช่วยให้ผิวขาว ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ร่ายกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กระตุ้นการยากกินอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ใบมะยม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง แก้ผื่นคันตามผิวหนัง บำรุงตับ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยบำรุงผิวพรรณ  ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • รากมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยลดความอยากกินเหล้า

โทษของมะยม

ในมะยมมีน้ำยาง ซึ่งมีความเป็นพิษ อาจทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีอาการง่วงซึม และ รากมะยม สรรพคุณทำให้อาเจียน หากเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย