มะละกอ พืชท้องถิ่น สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงผิวพรรณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของมะละกอมีอะไรบ้างมะละกอ สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะละกอ

ต้นมะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L. สำหรับชื่อเรียกอื่ืนๆของมะละกอ เช่น ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ และ บักหุ่ง เป็นต้น ต้นมะละกอ มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอล ปัจจุบันมะละกอมีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำดำเนิน มะละกอแขกหลอด มะละกอปากช่อง มะละกอแขกนวล มะละกอสายน้ำผึ้ง มะละกอจำปาดะ มะละกอโซโล มะละกอฮอลแลนด์ เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลักๆนำผลมะละกอมาทำเป็นอาหารรับประทาน รับประทานผลมะละกอดิบ เช่น แกงส้ม ส้มตำ ส่วนผลมะละกอสุกใช้เป็นอาหารยามว่าง รับประทานเป็นผลไม้ รสหวานอร่อย ผลมะละกอช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอกจากนั้นผลมะละกอนำมาแปรรูปอาหารในรูปแบบสินค้าอุตสาหกรรม เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น ยางมะละกอ มีเอนไซม์ชื่อPapain ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยโปรตีนได้ และที่สำคัญ มะละกอนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ มาร์กหน้า เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถปลูกได้ในดินทุกสภาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

คุณค่าทางอาหารของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก นักโภชนาการได้ศุกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

ยางมะละกอ มีเอนไซม์โปรตีน 4 ชนิด คือ papain , chymopapain A และ B และ papaya peptidase A  โดย เอนไซม์ chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ ทนความร้อนและทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ดี ทำให้เนื้อมีความนุ่ม เอนไซม์ในยางมะละกอส่วนมากพบที่ใบก้านและผลดิบ

สรรพคุณของมะละกอ

สำหรับมะละกอนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะละกอ ยางมะระกอ และ รากมะละกอ สรรพคุณของมะละกอ มีดังนี้

  • ผลมะละกอดิบ สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงน้ำนม ช่วยขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ช่วยขับพยาธิ
  • ผลมะละกอสุก สรรพคุณแก้ท้องผูก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับถ่ายพยาธิ
  • รากของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

โทษของมะละกอ

สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน มีความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรระวังการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของยางมะละกอ
  • ผลมะละกอสุกมีความหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ใยบางคน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ฟักทอง นิยมทานผลฟักทองเป็นอาหาร ต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง

ฟักทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักทอง ( Pumpkin ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักทอง คือ Cucurbita moschata Duchesne ชื่อเรียกอื่นๆของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า เป็นต้น ฟักทอง เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

สายพันธ์ของฟักทอง

สำหรับต้นฟักทอง สามารถแบ่งได้ 2 สายพันธ์ ใหญ่ คือ ฟักทองตระกูลอเมริกัน และ ฟักทองตระกูลสควอช โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ฟักทองตระกูลอเมริกัน ( pumpkin ) จะมีลักษณะของผลฟักทองขนาดใหญ่ เนื้อผลยุ่ย
  • ฟักทองตระกูลสควอช ( Squash ) ลักษณะของผลฟักทองมีเปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองตระกูลสควอช ได้แก่ ฟักทองไทย และ ฟักทองญี่ปุ่น

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง เป็นพืชล้มลุก พืชคลุมดิน เป็นพืืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมปลูกริมรั้ว มีลำต้นเลื้อยตามดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นฟักทอง ลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะของลำต้น เป็นเถา ลักษณะอวบน้ำ มีขนอ่อนๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน และ เกาะตามเสา เถามีสีเขียว
  • ใบฟักทอง ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีขนอ่อนๆ ใบมีขนาดใหญ่เป็นหยักๆ 5 หยัก
  • ดอกฟักทอง ลักษณะของดอกฟักทองเป็นช่อ สีเหลือง ออกดอกตากยอดของเถา ดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลฟักทอง มีลักษณะกลม แบน ใหญ่ เปลือกภายนอกผิวไม่เรียบ แข็ง และ ขรุขระ เปลือกผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกผลสุกสีน้ำตาล เนื้อของผลมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง

ผลฟักทอง นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำมาทำให้สุก ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย  เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกฟักทอง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เนื้อของผลฟักทองมีกากใยสูง และ มี กรดโพรไพโอนิก ที่มีสรรพคุณทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง

เมล็ดฟักทอฟักทอง มี สารคิวเคอร์บิทีน สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวตืด

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทอง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ดอก เมล็ด ราก และ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดฟักทอง สรรพคุณกำจัดพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางของผลฟักทอง สรรพคุณใช้พอกแผล แก้รฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง สรรพคุณช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงผิว ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ลดการอักเสบ แก้ปวด
  • เปลือกของผลฟักทอง สรรพคุณควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

โทษของฟักทอง

สำหรับการรับประทาน ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตายต่อร่างกาย แต่หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดฟักทอง ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมของแก็สในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องอืด ปวดท้องได้
  • เมล็ดฟักทอง มีไขมันและแคลอรี่สูง หากกินมากเกินไป อาจทำให้ประมาณไขมัน สะสมในเส้นเลือดมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเมล็ดฟักทองได้ อาจทำให้แก๊สสะสมในท้อง ทำให้แน่นท้อง ปวดท้องได้
  • ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่น สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะ อาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง

ฟักทอง พืชล้มลุก นิยมรับประทานผลฟักทอง ลักษณะของต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง ประโยชน์และสรรพคุณของฟักทอง บำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย