หอมแดง สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ ต้นหอมหัวแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดงมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร

หอมแดง เป็นพืชสำคัญในอาหารไทย อาหารไทยนิยมใช้หอมแดงนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเครื่องแกงต่างๆ ประเทศไทยปลูกหอมหัวแดงมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ หอมแดงที่มีคุณภาพดี คือ หอมแดงของศรีสะเกษ

สายพันธ์หอมแดง

สำหรับการปลูกหัวหอมในประเทศไทย นิยมปลูกหอมแดงอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดงพันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดงพันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดงพันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

หอมแดง ( Shallot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมแดง คือ Allium ascalonicum L. พืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของหอมหัวแดง เช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ลักษณะของต้นหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชล้มลุก สามารกเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ไม่ชอบน้ำ หัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นหอมแดง มีดังนี้

  • ใบหอมแดง สำหรับใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของในกลม ยาว สีเขียวใบอ่อนของหอมแดงสามารถนำมาบริโภคได้
  • หัวหอมแดง เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ ลักษณะของหัวหอมแดงกลม เนื้อในมีสีขาว เปลือกนอกสีแดง มีกลิ่นหอม
  • ลำต้นของหัวหอม อยู่ติดกับหัวหอมลำต้นเกิดจากหัวหอม เรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ
  • รากของหัวหอม เป็นระบบรากฝอย มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

หอมหัวแดง มีกลิ่นฉุ่นเป็นลักษณะเด่นของหอมแดง หัวหอมแดงมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง ซึ่งสารสำคัญ เช่น Ethanol , Acetonc , methyl Ethyl , Methyl Disulfide , Methyl , Methyl Trisulfide , Methyl I-propyl Trisulfide , I-propyl Trisulfide , Ketone , I-propanol , 2 – propanol , Methanol , I-butanol , Hydrogen Sulfidc , I-propanethiol , I-propyl Disulfide , Thioalkanal-S-oxide , di-n- propyl Disulfide , n- propyl-allyl Disulfide , Diallyl Disulfide , Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc

น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง รสขม มีความเผ็ดร้อน ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และ เป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดไขมัน และ น้ำตาลในเลือด และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวหอมแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ และมีให้สารอาหารสำหคัณ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน และ ไนอาซิน

หอมหัวแดง ขนาด 100 กรัม มีวิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ และ วิตามินซี

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามาถใช้ประโยชน์จาก หัวหอมแดง ใบหอมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้กำเดาไหล แก้ฟกช้ำ
  • เมล๊ดหอมแดง สรรพคุณกินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษ
  • หัวหอมแดง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญธาตุไฟ ต่อต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้หวัดคัดจมูก รักษาโรคตา ขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้ปวดหู แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อ แก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้อาการฟกช้ำ บรรเทาอาการคัน แก้พิษแมงมุมกัด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการเมาค้าง แก้อาการสะอึก รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาผิวจุดด่างดำ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของหอมแดง

สำหรับหอมแดงมีกลิ่นฉุนหอมเฉพาะตัว การนำมามำอาหารนิยมทำให้ร้อนก่อน หากกินสดๆ อาจมีกลิ่นฉุนมากเกินไป โทษของหอมแดง มีดังนี้

  • การกินหอมแดงมาก อาจจะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสียได้
  • หัวหอมแดง ทำให้แสบตา แสบจมูก และ ผิวหนังระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณผิวที่บอบบาง
  • หอมแดงสด มีกลิ่นฉุน หากกินเข้าไป อาจทำให้อาเจียนได้

หอมแดง พืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมหัวแดง คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดง มีอะไรบ้าง

ดินสอพอง มีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย ดินสอพองผสมกับน้ำอบทาตัวให้หอม สรระคุณบำรุงผิว

ดินสอพอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ลักษณะของดินสอพอง

สำหรับ ดินสอพอง นั้นมีลักษณะเป็นผง และ ก้อน มีสีขาว มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย โดยนิยมนำดินสอพองผสมกับน้ำอบมาทาตัวให้หอม

ดินสอพองในประเทศไทย

พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็น หินปูนเนื้อมาร์ล ( marly limestone ) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีความเป็นกรด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น หากดูเผินๆ จะเห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง สมัยโบราณใช้ทำแป้งทาร่างกาย เพื่อให้เย็นสบาย นำมาผสมกับน้ำหอม เรียก แป้งกระแจะ ทำยาสีฟัน ปัจจุบันใช้ดินสอพองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว นำมาส่วนผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะ เสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

สมัยโบราณใช้ดินสอพองเป็นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผื่นคัน ใช้ทาพื้นที่ลงรักให้เห็นลายชัดเจน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนั้นมาจากภาษาเขมรแปลว่าขาว ดินสอพองจึงหมายถึงดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว

ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง

ดินสอพอง จัดว่าเป็น สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เป็นยาสมุนไพร ตามตำรับยาแผนโบราณ จากประวัติศาสตร์พบว่ามีการนำ ดินสอพอง มาใช้เป็นยา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์ของดินสอพอง ได้ดังนี้

  • ดินสอพอง สรรพคุณเป็นยาเย็น ใช้ลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบ รักษาผดผื่นคัน และ ช่วยห้ามเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นสบาย
  • ดินสอพองใช้ป้องกันผิวจากแสงแดด ดินสอพองใช้ทาหน้าป้องกันแสงแดดได้
  • ดินสอพองใช้รักษาผิวหน้า สรรพคุณช่วยขจัดสิวเสี้ยนได้ ลดอาการปวดบวม แก้อักเสบ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ดินสอพองเหมาะสำหรับคนผิวมัน
  • ดินสอพองใช้ขัดผิว เมื่อนำมาผสมกับขมิ้นและมะขามเปียก นำมาขัดหน้า ขัดผิว ช่วยให้ผิวพรรณสวยสดใส
  • ดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง จะมีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • ดินสองพองนำมาผสมกับขมิ้นชัน ไพล เหงือกปลาหมอ จะช่วยบำรุงผิวให้เรียบเนียน
  • ดินสอพองใช้ลดอาการแก้ที่ผิวหนัง โดยนำดินสอพองผสมกับใบเสลดพังพอน ใช้ทาผิว
  • ดินสอพองช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับสารพิษจากเผ็ดพิษ
  • ดินสอพองแก้อักเสบ บวมช้ำ โดยนำดินสอพองผสมกับน้ำมะกรูด ทาที่แผลโน

ดินสอพองมีแคลเซียมคาร์บอเนต สรรพคุณช่วยดูดซับความมัน ซึ่งความมันเป็นสาเหตุของการอักเสบที่รูขุมขน โดยเราได้นำเสนอสูตรการดูแลผิว จากดินสอพอง มาให้ 4 สูตร สำหรับเพื่อนนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • สูตรที่ 1 ดินสอพองกับน้ำมะนาว โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ มะนาว 2 ช้อนชา โดยนำมาผสมกันและ นำมาพอกใบหน้าให้ทั่ว เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที และล้างออก จะช่วยรักษาปัญหาผิวมันที่มี รูขุมขนกว้าง และมีสิวเสี้ยน
  • สูตรที่ 2 สอพองกับน้ำผึ้ง โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1/2 ช้อนชา นำมาผสมกัน และนำมาพอกใบหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยลดปัญหาผิวแห้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า
  • สูตรที่ 3 ดินสอพองกับขมิ้นและน้ำนม ส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 3 ช้อนโต๊ะ นมสด 2 ช้อนชา ผงขมิ้น 1 ช้อนชา นำมาผสมกัน และ ใช่พอกหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ผดผื่นคัน ทำให้บำรุงผิวเปล่งปลั่ง

โทษของดินสอพอง

ในการใช้ประโยชน์จากดินสอพอง ใช้เพื่อบำรุงผิวหน้า และ ป้องกันการเกิดสิว แต่ดินสอพองจะอยู่ในรูปแบบผง หากไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจสูดดมผงเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจได้

ดินสอพอง คือ แร่ธาตุที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์เย็น นิยมนำมาใช้ทำเป็นแป้ง ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง ใช้ดูแลผิวพรรณ รักษาสิว ซึ่งดินสอพอง ประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (CO3) ร้อยละ 80 แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก แคลเซียม ซิลิกา และ อาราโกไนต์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

  • Schurrenberger, D., Russell, J. and Kerry Kelts. 2003. Classification of lacustrine sediments based on sedimentary components. Journal of Paleolimnology 29: 141-154.
  • Chalk of Kent by C. S. Harris Accessed 11/06/2005
  • Geochemistry and time-series analyses of orbitally forced Upper Cretaceous marl–limestone rhythmites, abstract Accessed 11/06/2005
  • Palaeoenvironmental Interpretation of the Early Postglacial Sedimentary Record of a Marl Lake Accessed 11/06/2005
  • Sedimentary Rocks. Pettijohn, F. J., Harper& Brothers New York 1957, p. 410
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย