กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิด แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไรหัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ ซึ่งปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตรานี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และ เกิดอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่การเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน การหยุดเต้นในบางเวลา สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายสาเหตุซึ่งมีปัจัยการเกิดโรคอยู่ 2 สาเหตุ คือ ความผิดปรกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายละเอียด ตามนี้

  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ  เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแอมเฟตามีน
  • การชอบดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และ น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแสดงอาการ คือ มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้ ซึ่งโรคนี้จำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างใกล้ชิด ซึ่งสำหรับอาการของโรคสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • อาการหน้ามืด
  • อาการใจสั่น
  • อาการหายใจขัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อาการแน่นหน้าอก

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค แพทยจะทำการสอบถามอาการ ประวัติผู้ป่วย และ ประวัติการรักษาโรค และ ตรวจหัวใจ โดย การตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ตรวจขนาดหัวใจ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานต่อมไทรอยด์ และ ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูโครงสร้างหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยารักษาโรค รวมถึงการใช้เครื่องมือรักษาต่างๆ เช่น การกระตุ้นไฟ้า การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาจะเป็นยาคลายเครียด เพื่อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ เป็นยาช่วยกระตุ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของดรค
  • รักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( pacemaker ) เป็นเครื่องมือขนาดเล็กโดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า  และ สอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยในการควบคุมและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอก เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาใช้รักษาสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • การรักษาด้วยการใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ( ablation therapy ) เป็นการสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ และ ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ( implantable cardioverter defibrillator ) เป็นเครื่องมือกระตุ้นหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ( ventricular fibrillation )

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยที่สามารถความคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด และ วิตกกังวล
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และ หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอด หม้ามืด เป็นลม ควรรีบพบแพทย์

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย