โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย