สมองฝ่อ Brain atrophy เนื้อสมองเสื่อม ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย หลงลืมบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนไปโรคสมองฝ่อ โรคสมอง การรักษาสมองฝ่อ ความจำเสื่อม

สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นศูนย์กลางการควบคุมอวัยวะ ความรู้สึก การทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย หากเกิดความเสียหายจะทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาการของสมอง เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 25 ปี วัยเด็กจึงเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วที่สุด สมองจะค่อยๆเติบโตไปเรื่อยๆจนอายุ 25 ปี จึงจะหยุดการเจริญเติบโต จากนั้นเซลล์สมองจะค่อยๆฝ่อและลีบไปตามอายุ ซึ่งอายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่เซลล์สมองเริ่มเสื่อมมากที่สุด

โรคสมองฝ่อ ทางการแพทย์ เรียก Brain atrophy เป็นภาวะความเสื่อมจองเนื้อสมอง จากหลายสาเหตุ เช่น ความเสื่อมตามอายุ อุบัตติเหตุที่สมอง หรือ ภาวะการเกิดโรคต่างๆที่ส่งผลต่อสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับ สาเหตุหลักของการเสื่อมของเซลล์สมอง คือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การนอน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ความเครียด แต่สาเหตุรองลงมา คือ ภาวะความเสื่อมของเนื้อสมองตามวัย การเกิดอุบัตติเหตุที่สมอง และ ภาวะการเกิดโรคอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อสมอง ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อภาวะสมองฝ่อ มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งการไม่กินอาหารเช้า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลต่อภาวะสมองขาดสารอาหาร ทำให้สมองเสื่อมได้
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ สมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 ภาวะร่างกายขาดน้ำ ส่งผลต่อเซลล์สมองง่ายขึ้น
  • การสะสมแป้งและน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป แป้งและน้ำตาลทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับบำรุงสมองลดลง การขาดโปรตีนส่งผลต่อสมอง
  • การเสพสารเสพติต รวมถึงการสูบบุหรี่ และ การดื่่มสุรา
  • ภาวะความเครียด เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมองโดยตรง

อาการป่วยโรคสมองฝ่อ 

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ จะไม่แสดงอาการผิดปรกติให้พบเห็น ไม่มีอาการเจ็บป่วย การสังเกตุอาการและการวินิจฉัยโรคด้วยตาเปล่าทำได้ยาก ซึ่งอาการต่างๆสามารถสังเกตุได้ ดังนี้

  • มีอาการหลงลืมบ่อย
  • ความจำลดลง ความจำไม่ค่อยดี
  • ความสามารถในการคิดซับซ้อนลดลง
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มักทำอะไรซ้ำๆ ย่างไม่มีเหตุผล

การตรวจโรคสมองฝ่อ 

แนวทางการวินิจฉัยโรคสมองฝ่อ แพทย์จะสังเกตุและตรวจประวัติต่างๆ เช่น ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ความเครียดจาการทำงานต่างๆ จากนั้นทำการตรวจวินิฉัยด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาภาวะสมองฝ่อ ไม่มียารักษาให้เนื้อสมองเพิ่มขึ้นได้ การรักษาใช้การรักษาประคับประครองตามอาการ และ รักษาสาเหตุของการเกิดสมองฝ่อ เพื่อชะลอความเสื่อมของเนื้อสมอง สำหรับวิธีการชะลอความเสื่อมที่เป็นที่ยอมรับ คือ การดูแลสุขภาพ ด้วยอาหารที่ดี อากาศที่ดี การขับถ่ายที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ปรับสภาพจิตใจให้ปลอดจากความเครียด

การป้องกันโรคสมองฝ่อ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมพัฒนาสมอง ฝึกคิดบ่อยๆ เช่น ฝึกคิด การเล่นหมากรุก ฝึกคิดเลข เป็นต้น
  • งดการเสพสารเสพติด งดดื่มสุรา และ งดการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆในชีวิตประจำวัน

โรคสมองฝ่อ ( Brain atrophy ) ความเสื่อมของเนื้อสมอง ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย พบมากในกลุ่มคนอายุ 75 ปีขึ้นลืมสิ่งต่างๆบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ทำแป้งได้ สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ต้นเท้ายายม่อมเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้างท้ายยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม ภาษาอักกฤษ เรียก East Indian arrow root ชื่อวิทยาศาสตร์ของท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกลอย ( DIOSCOREACEAE ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของท้าวยายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เม้ายายม่อม เป็นต้น ต้นท้าวยายม่อม พบได้ไปในประเทศเขตร้อน เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแต่พบน้อยในภาคอีสาน

ประโยชน์ของท้าวยายม่อม

สำหรับต้นท้าวยายม่อม จัดว่ามีความสำคัญทางสังคมและเศรษบกิจ สูง สามารถนำมาบริโภค และ ใช้เป็นวัตถุดิบหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ประโยชน์ของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ประโยชน์ด้านการอาหาร นำท้าวยายม่อม มาเป็นส่วนหัวมาผสมของอาหารเพื่อสร้างความหนืดทดแทนการใช้แป้งมัน ทำให้อิ่มท้อง รวมถึงรับประทานดอกและยอดอ่อนของท้าวยายม่อมด้วย ซึ่งนิยมนำมาพัดใส่น้ำกะทิเป็นอาหารพื้นบ้าน แสนอร่อย
  • ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง โดยนำมาใช้ทำครีมทาหน้า เพื่อให้หน้าขาว ผิวพรรณสดใส ลดสิวฝ้า รวมถึงเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแป้งท้าวยายม่อม ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งอายุหลายปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ หรือ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ลำต้นท้าวยายม่อม อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร ถึง 2 เมตร  แต่ที่ใช้ประโยชน์ คือ ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน เป็นลักษระต่างๆ ที่พบมาก ได้แก่ รูปกลม กลมแบน หรือรูปรี โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.5-4 นิ้ว
  • ใบท้าวยายม่อม มีลักษณะ เป็นใบขนาดใหญ่ และ เว้าลึก และ เป็นรูปลักษระคล้ายฝ่ามือ โดยที่ปลายแยกออกเป็นแฉก มี 3 แฉก
  • ดอกท้าวยายม่อม เป็นช่อ ก้านดอก มีสีม่วงอมเขียว มีลาย ช่อดอกจะมี 1-2 ช่อ กลีบรวมจะเป็นสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบมีความแหลม โคนกลีบมีเชื่อมติดกันลักษณะเป็นหลอด
  • ผลท้าวยายม่อม เป็นผลสดมีเนื้อ รูปเกือบกลม หรือ รูปทรงรี ปลายมีความแหลมเรียว สีเขียว พบมากบริเวณที่ อยู่ใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งไม่มาก ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

สรรพคุณของท้าวยายม่อม

สำหรับการนำต้นท้าวยายม่อม มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากรากของท้าวยายม่อม ลำต้นท้าวยายม่อม และ หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย  บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • ลำต้นท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน

โทษของท้าวยายม่อม

สำหรับโทษของต้นท้าวยายม่อมนั้น หัวท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษ มีรสขมมาก ก่อนนำมาทำอาหารต้องล้างให้สะอาด หรือ ตากแห้ง ก่อนนำมาใช้ประโยชน์

สูตรแป้งท้าวยายม่อม

สำหรับคุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อม คือ มีความละเอียดมาก สีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ขั้นตอนการแปรรูปหัวท้าวยายม่อม นำมาทำแป้งท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ล้างหัวท้าวยายม่อมด้วยน้ำสะอาด และ แช่หัวท้าวยายม่อมทิ้งไว้ก่อน จากนั้นขูดเนื้อของหัวท้าวยายม่อมให้ละเอียด หรือ นำมาปั่นก็ได้ จากนั้นผสมน้ำและแยกกากและน้ำออกด้วยผ้าขาวบาง
  • นำแป้งให้ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน เทน้ำสีเหลืองที่ลอยอยู่ข้างบนทิ้ง ใส่น้ำใหม่ลงไปกวนให้เข้ากัน และทิ้งไว้อีก 1 คืน เทน้ำออก ทำแบบนี้ซ้ำไปมา 4 ครั้ง จนน้ำกว่าน้ำตกตะกอนแป้งจะใส
  • แทน้ำใสออก ให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง จากนั้นนำแป้งไปตากแห้ง ก็จะได้แป้งท้าวยายม่อมที่พร้อมใช้งาน

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ใช้เป็นแป้งได้ สรรพคุณของท้าวยายม่อม บำรุงระบบกล้ามเนื้อ ช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม ประโยชน์ของท้าวยายม่อม โทษมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย