ลูกสำรอง พุงทะลาย สมุนไพร ช่วยลดความอ้วน ต้นสำรองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ โทษของลูกสำรองมีอะไรบ้างสำรอง สมุนไพร ลูกสำรอง

ต้นสำรอง ภาษาอังกฤษ เรียก Malva nut ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกสำรอง คือ Scaphium scaphigerum (Wall. ex G. Don) G.Planch. พืชตระกูลชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสำรอง เข่น หมากจอง บักจอง ท้ายเภา ฮวงไต้ไฮ้ พ่างต้าห่าย เป็นต้น สำหรับต้นสำรอง สามารถพบได้ทั่วไปในป่าดงดิบ และ ป่าพื้นราบ ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า เวียดนาม มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบต้นสำรองมากในทางภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จันทบุรี และ ตราด เป็นต้นฃ

ลูกสำรอง มีสรรพคุณเด่น คือ ช่วยลดความอ้วน มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ พุงทะลาย เนื่องจากลูกสำรอง เมื่อรับประทานเข้าไปจะพองตัวได้ดี ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มไม่หิว ช่วยกำจัดไขมัน และ ช่วยดูดซับไขมันและขับถ่ายออกมาทางอุจจาระได้ดี

ลักษณะของต้นสำรอง

ต้นสำรอง เป็นไม้ยืนต้น พบทั่วไปตามป่าดงดิบและป่าตามพื้นราบ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งรายละเอียดของต้นสำรอง มีดังนี้

  • ลำต้นสำรอง ลักษณะลำต้นกลม เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 ถึง 40 เมตร เปลือกของลำต้นแตกสะเก็ด สีน้ำตาล เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอมแดง
  • ใบสำรอง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวเข้ม ใบเป็นมัน ขอบใบเป็นลูกคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกสำรอง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีเหลือง และ เกสรตัวเมียสีแดง ดอกสำรองจะออกดอกประมาณเดือนมกราคมของทุกปี
  • ผลของลูกสำรอง ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่ ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ส่วนท้ายของผลจะมีแผ่นบางๆสีน้ำตาลคล้ายใบเรือ เรียกว่า ปีก
  • เมล็ดสำรอง ลักษณะผลรีคล้ายกระสวย เปลือกของเมล็ดสำรองแข็ง สีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง

สำหรับการนำสำรองมารับประทานเป็นอาหาร นิยมนำลูกสำรองมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 4,175.24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 64.12 – 76.45% โปรตีน 3.75-9.5 % ไขมัน 0.41 – 9.5%  คาร์โบไฮเดรต 62% ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่พบส่วนมากเป็นน้ำตาลโมโนแซกคาไรด์ ได้แก่ Arabinose , Galactose , Glucose , Mannose , Rhamnose และ Xylose เป็นต้น นอกจากนี้ในลูกสำรอง พบว่ามีสาร Glucorine 15% , Pentose 24% และสาร Bassorin เป็นต้น

สรรพคุณของลูกสำรอง 

สำหรับการนำสำรองมาใช้ประโยชน์เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลสำรอง หรือ ลูกสำรอง ใบ เปลือก แก่นไม้ และ ราก สรรพคุณของสำรอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกสำรอง สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความอ้วน ช่วยกระชับร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยขับลม ช่วยบำรุงสำไส้ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย แก้ท้องเดิน แก้ท้องเสีย และ บรรเทาอาการตาอักเสบ รักษาตาบวมแดง
  • ใบสำรอง สรรพคุณช่วยขับลม และ เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เปลือกลำต้น สำรองสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย รักษาโรคเลื้อน
  • แก่นไม้ต้นสำรอง สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย รักษาโรคเลื้อน
  • รากต้นสำรอง สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้พยาธิผิวหนัง แก้ไอ และ ช่วยขับลม

โทษของสำรอง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสำรอง ปัจจุบันมีการนำลูกสำรอง มาทำ น้ำสำรอง รับประทาน เชื่อว่าจะช่วยลดความอ้วน และ เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดโทษได้ ซึ่งโทษของสำรอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำรองจะมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายเป็นปกติ แต่ไม่แนะนำสำหรับเด็ก ผู้เป็นภูมิแพ้ และ สตรีมีครรภ์ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีภูมิที่ไว อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น

ลูกสำรอง หรือ พุงทะลาย สมุนไพร ช่วยลดความอ้วน ลักษณะของต้นสำรองเป็นอย่างไร คุรค่าทางโภชนาการลูกสำรอง สรรพคุณของลูกสำรอง เช่น ดูดไขมัน บำรุงร่างกาย แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ โทษของลูกสำรองมีอะไรบ้าง

เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย