อะโวคาโด้ ลูกเนย ผลไม้ต่างแดน ราคาสูง สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงระบบเลือด ลดไขมัน บำรุงผิวพรรณ สามารถใช้แทนเนยได้ นิยมใช้ลดน้ำหนัก โทษของอะโวาโด้ มีอะไรบ้างอโวคาโด้ สมุนไพร ผลไม้ สรรพุคณของอะโวคาโด้

ต้นอโวคาโด้ ภาษาอังกฤษ เรียก Avocado ชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโวคาโด้ คือ Persea americana Mill สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอะโวคาโด้ เช่น ลูกเนย ต้นอโวคาโด้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ต้นอโวคาโด้ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ต่อมาจึงแพร่หลายในทุกภาคของประเทศไทย

สายพันธ์อะโวคาโด้

สำหรับต้นอะโวคาโด้ที่ได้รับความนิยม มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก โดยราบละเอียด มีดังนี้

  • สายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะเด่น คือ ผลสีเขียว ขั้วของผลจะขรุขระ เมล็ดค่อนข้างกลม เนื้อหนา ให้ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง ซึ่งสายพันธ์กัวเตมาลา เช่น พันธุ์แฮส (Hass) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)
  • สายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะเด่น คือ ผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา รสหวานอ่อนๆ ให้ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน ซึ่งสายพันธ์อินดีสตะวันตก เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)
  • สายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะเด่น คือ ผลเล็ก ผิวเรียบ สีม่วง เปลือกบาง เมล็ดใหญ่ ให้ไขมันมาก ทนอากาศเย็นได้ดี

ประโยชน์ของอะโวคาโด้ สามารถรับประทานเป็นผลไม้สด ทำให้อิ่มท้อง ใช้เป็นอาหารลดน้ำหนักได้ดี สกัดนำน้ำมันจากอะโวคาโด้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น เพื่อการบริโภค นำมาเป็นส่วนผสมในครีมบำรุงผิว และ นำมาเป็นส่วนผสมของแชมพูบำรุงเส้นผม

ลักษณะของต้นอะโวคาโด้

ต้นอะโวคาโด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นอะโวลาโด้ มีดังนี้

  • ลำต้นอะโวคาโด เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ความสูงประมาณ 20 เมตร
  • ใบอะโวคาโด ลักษณะใบใหญ่รียาว สากมือ ใบสีเขียวสด
  • ดอกอะโวคาโด ออกดอกเป็นช่อออกดอกที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก ดอกมีสีเขียวอมเหลือง
  • ผลอะโวคาโด ลักษณะกลมรี ภายในผลมีเนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติมัน ไม่มีกลิ่น ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางของผล

วิธีปลูกอะโวคาโด

สำหรับการเพาะพันธ์ต้นอโวคาโด้นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ ซึ่งเริ่มจากการนำเมล็ดล้างด้วยน้ำอุ่น นำกระดาษชำระพรมน้ำให้ชุ่ม ใส่ถุงพลาสติก โดยไม่ต้องปิดปากถุง วางเมล็ดลงคอยสังเกตุอย่าให้กระดาษแห้ง รอจนรากงอกออกมา ประมาณ 3 นิ้ว จึงค่อยย้ายลงกระถางปลูกและกลบดินครึ่งลูก รดน้ำให้ชุ่ม ครบ 3 เดือนให้ย้ายกระถางที่ใหญ่ขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด้

สำหรับการรับประทานอะโวคาโด้ นิยมนรับประทานเนื้อผลสุกของอะโวคาโด้เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลอะโวคาโด้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 160 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม น้ำตาล 0.66 กรัม กากใยอาหาร 6.7 กรัม ไขมัน 14.66 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 2.13 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 9.8 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.82 กรัม โปรตีน 2 กรัม น้ำ 73.23 กรัม วิตามินเอ 7 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 42 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 271 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.738 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.389 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.257 มิลลิกรัม วิตามินบี9 81 ไมโครกรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.07 มิลลิกรัม วิตามินเค 21 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.142 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 52 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 485 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.64 มิลลิกรัม

สรรพคุณของอะโวคาโด

สำหรับการนำอะโวคาโด้มาใช้ประโยชน์จากผล นำมารับประทานสดๆ หรือ นำมาสกัดนำน้ำมันมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสมุนไพรสรรพคุณของอะโวคาโด้ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  • บำรุงพิวพรรณ ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้ใบหน้าสดใส
  • บำรุงสายตา ช่วยชะลอการเสื่อมของกระจกตา
  • ช่วยบำรุงเลือด ลดไขมันเลว ( LDL ) ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งปากมดลูก
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันโรคหวัด
  • ช่วยระบบขับถ่าย เนื่องจากมีกากใยอาหารสูง
  • มีโฟเลตสูง เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ สร้างความแข็งแรงให้กับบุตรในครรภ์
  • บำรุงเส้นผม รักษาอาการผมร่วง รักษาศีรษะล้าน

โทษของอะโวคาโด้

สำหรับการรับประทานหรือใช้ประโยชน์จากอะโวคาโด้ มีข้อควรระวัง เนื่องจากอะโวคาโด้มีความเป็นพิษ หากใช้อย่างไม่เหมาะสำอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โทษของอะโวคาโด้ สมุนไพร มีดังนี้

  • ผลดิบอะโวคาโด้ มีสารแทนนินในปริมาณมาก ให้รสขม หากรับประทานมากเกินไปจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน ผื่นคัน ลมพิษ หากรุนแรงอาจจะเสียชีวิตได้
  • ใบ เปลือกต้น และ เปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอะโวคาโด มีความเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า

สูตรมาร์กหน้าอะโวคาโด

ควรทำการมาร์กหน้า ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลควรทำต่อเนื่อง สูจรนี้เป็นสูตรกลาง สำหรับผิวทุกสภาพ สามารถเติมส่วนผสมเพิ่มเติมตามชอบใจได้

  • ผลอะโวคาโดสุก ประมาณ 2 ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ไข่แดง 1 ฟอง
  • นำส่วนผสมทั้งหมดปั่นให้ละเอียด
  • ล้างหน้าให้สะอาดก่อนมาร์ก และเช็ดให้แห้ง
  • ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
  • ล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ จะทำให้หน้าตึง ชุ่มชื้น ดูอ่อนกว่าวัย

วิธีทำเครื่องดื่มอะโวคาโด

เครื่องดื่มอะโวคาโด ใช้ดื่มตอนเช้า บำรุงร่างกาย หรือ ใช้ดื่มดับกระหายได้ตามต้องการ มีประโยชน์ต่อร่างกาย

  • หั่นอะโวคาโดเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กำมือ
  • หั่นมะเขือเทศล้างสะอาดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ผล
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา
  • น้ำเปล่า 1 ถ้วย
  • น้ำแข็ง 2 ถ้วย
  • เกลือป่นนิดหน่อยประมาณ 1/4 ช้อนชา
  • ใส่อะโวคาโด และ มะเขือเทศ หั่นที่เตรียมไว้ ลงเครื่องปั่น
  • ใส่น้ำเปล่า และ น้ำแข็ง เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนชา และ น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ปั่นจนละเอียด
  • เติมเกลือเล็กน้อย และปั่นนิดหน่อย เพื่อให้เข้ากัน
  • ใช้ดื่มดับกระหาย ดื่มเป็นประจำบำรุงร่างกาย

ลำไย ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไรลำไย ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของลำไย

ต้นลำไย ภาษาอังกฤษ เรียก Longan ชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไย คือ Dimocarpus longan Lour. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งแหล่งปลูกลำไยในประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน สำหรับชื่ออื่นๆของลำไย เช่น บ่าลำไย กุ้ยหยวน กุ้ยอี้  เป็นต้น

สายพันธุ์ของลำไย

ต้นลำไยมีหลายสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภค ซึ่งสายพันธ์ลำไยมีมากถึง 26 สายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่นิยมปลูกในปะเทศไทย มี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ลำไยกะโหลก ลำไยกระดก ลำไยกะลา ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา และ ลำไยขาว โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไยกะโหลก ( ลำไยพันธุ์ดี ) เป็น สายพันธุ์ลำไย มีผลขนาดใหญ่ มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งย่อยได้เป็น ลำไยสีชมพู ลำไยตลับนาค ลำไยเบี้ยวเขียว ลำไยอีแดง ลำไยอีดอ ลำไยอีดำ ลำไยอีแห้ว ลำไยอีเหลือง ลำไยพวงทอง ลำไยเพชรสาครทวาย ลำไยปู่มาตีนโค้ง เป็นต้น
  • ลำไยกระดูก หรือ ลำไยพื้นเมือง ( ลำไยป่า ) เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีการอนุรักษ์ไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่นิยมปลูก ลักษณะะ ทรงพุ่มออกกว้างใบหนาทึบ ผลขนาดเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยรสไม่หวาน มีน้ำตาลแค่ประมาณ 13.75% ขึ้นทั่วไปปลูกง่าย แต่เหลือให้เห็นน้อย เพราะ ไม่นิยมปลูก เนื่องจาก ไม่ได้ราคา มีหลายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
  • ลำไยกะลา หรือ ลำไยธรรมดา ผลขนาดปานกลาง เนื้อหนาค่อนข้างกว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีปริมาณน้ำมาก ให้ผลค่อนข้างดก
  • ลำไยสายน้ำผึ้ง มีลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่มีเนื้อสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดีอร่อย กลิ่นหอมกรอบ เมล็ดขนาดเล็ก
  • ลำไยเถา หรือ ลำไยเครือ ( ลำไยชลบุรี ) เป็นลำไยไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นแข็งจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลักยึด ผลขนาดเล็ก เมล็ดขนาดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดค่อนข้างบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถัน จึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขาที่มีไม้ใหญ่
  • ลำไยขาว เป็นลำไยสายพันธุ์โบราณที่หายาก เชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและ ตอนกิ่งเพื่อขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง มีผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว เนื้อมีสีขาวใส เมล็ดลักษณะลีบ รสค่อนข้างหวาน

ประโยชน์ของลำไย

ลำไยนิยมใช้ประโยชน์จากผลลำไย นำมารับประทานเป็นอาหาร มีกากใยอาหารและมีรสหวาน นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาลำไย บ่งชี้ว่าลำไยสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพิ่มวิตามินซี ประโยชน์ช่วยในการบำรุงผิว ให้สดใส อ่อนกว่าวัย และ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ก่อนวัย นอกจากใช้รับประทานผลสดเป็นผลไม้ รสชาติอร่อย ทำเป็นน้ำลำไย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ดับกระหาย คลายร้อยได้ดี แปรรูปทำเป็นอาหารได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย แยมลำไย เป็นต้น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย แยมลำไย เป็นต้น ส่วนเนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ

ลักษณะของต้นลำไย

ต้นลำไย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สามารถปลูกได้ในพื้นที่มีความสูง 300 ถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นลำไย มีดังนี้

  • ลำต้นลำไย ลำต้นความสูงประมาณ 30–40 ฟุต เปลือกลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาลหรือสีเทา
  • ใบลำไย เป็นใบประกอบ ใบเรียงตัวสลับตามกิ่งก้าน ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ฐานใบค่อนข้างป้าน สีเขียวเข้ม เรียบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกลำไย ต้นลำไยออกดอกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวมักพบช่อดอกตรงปลายกิ่ง ดอกลำไยมีสีขาว หรือ สีขาวออกเหลือง
  • ผลลำไย ลักษณะกลม เปลือกผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล เปลือกผลค่อนข้างเรียบ มีเนื้อผลสีขาวใส ฉ่ำน้ำ รสหวาน
  • เมล็ดลำไย ลักษณะกลม อยู่แกนกลางของผลลำไย สีดำมัน แข็งมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

การปลูกลำไย

ต้นลำไย สายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาด คือ สายพันธุ์ดอ หรือ พันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียวและแห้ว ปราศจากโรค ได้จากการตอนกิ่ง พื้นที่เหมาะสำหรับปลูกลำไย เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีระบบการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง คือ 5.5-6.5 มีการกระจายตัวของฝนดี ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000 เมตร ระยะปลูก 8×8 เมตร หรือ 10×10 เมตร โรคของลำไย ที่ต้องระวัง ได้แก่ โรคราน้ำฝน หรือ โรคผลเน่า โรคใบไหม้ โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคพุ่มไม้กวาด

คุณค่าทางอาหารของลำไย

สำหรับการรับประทานลำไยเป็นอาหารสามารถรับประทานผลลำไยเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลำไยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม

สรรพคุณของลำไย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลำไยในการรักษาโรค และ บำรุงร่างกาย นิยมใช้ประโยชน์จากราก เปลือกลำต้น ใบ เมล็ด ดอกและผลของลำไย โดยสรรพคุณของลำไย สมุนไพร มีดังนี้

  • ใบลำไย สรรพคุณบรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคมาลาเรีย รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาแผลหนอง
  • เมล็ดลำไย สรรพคุณใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลหนอง ช่วยสมานแผล รักษากลากเกลื้อน
  • เปลือกของลำต้นสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง แก้อ่อนเพลีย รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • รากลำไย สรรพคุณรักษาอาการตกขาว ช่วยขับพยาธิ
  • ดอกลำไย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต
  • ผลลำไย สรรพคุณบำรุงม้าม บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย รักษาอาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย และ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายซูบผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว

โทษของลำไย 

การรับประทานลำไยมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการร้อนใน หรือ แผลในช่องปาก และ ตาแฉะน้ำตาไหล ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดีพอเหมาะ และ ผู้ที่มีอาการเจ็บคออยู่แล้ว มีอาการไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ไม่ควรรับประทานลำไย เพราะ การปลอกลำไยรับประทาน จะทำให้เนื้อลำไยด้านใน สัมพัสกับเปลือกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร

ลำไย สมุนไพร ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ลักษณะของต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณของลำไย เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย