มะเร็งช่องปาก ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่เสี่ยงมะเร็งช่องปากสูง อาการมีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาและป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง มะเร็งในช่องปาก โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ปาก รวมถึงอวัยวะในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ และ ต่อมทอนซิล มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบมากในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป

สำหรับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนทั่วไปมากถึงประมาณ 15 เท่า

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคได้ แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งช่องปาก คือ การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่กระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งช่องปากด้วย มีดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV )
  • อาการเหงือกอักเสบแบบเรื้อรัง หากเกิดขึ้นแบบซ้ำๆ อาจกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งได้
  • การเคี้ยวหมากของผู้สูงวัย ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคในช่องปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ระยะของมะเร็งช่องปาก

สำหรับโรคมะเร็งช่องในปาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 1 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก แต่มีขนาดไม่ใหญ่ ขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 2 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังน้อยก่วา 4 เซนติเมตร ระยะนี้จะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 3 ขนาดของก้อนเนื้อใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ ในระยะนี้เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 4 ระยะนี้ก้อนเนื้อ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ระยะนี้เป็นระยะรุนแรง สามารถเสียชีวิตได้

อาการโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก จะพบว่าในช่องปากมีสีขาวหรือสีแดงบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม หากเกิดรอยลักษณะดังกล่าวเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคมะเร็งช่องปาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรค แต่โดยทั่วไปสามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งในช่องปาก ได้ดังนี้

  • มีรอยสีขาวหรือรอยด่างแดงในช่องปาก
  • มีอาการบวม มีตุ่ม หรือ ก้อนเนื้อในช่องปาก ริมฝีปาก ลิ้น หรือ เหงือก
  • มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกระคายเคืองภายในลำคอเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่
  • มีอาการชา หรือ มีอาหารเจ็บ บริเวณใบหน้า ปาก หรือ ลำคอ โดยอาการไม่หายภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • มีการเปลี่ยนแปลงของตัวฟัน เช่น การสบฟัน หรือ การเคี้ยว
  • มีอาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง
  • เสียงเปลี่ยน เช่น เสียงแหบ
  • มีอาการเจ็บหู
  • น้ำหนักลดอย่างมาก

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องตัดชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยแนวทางการวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การตรวจประวัติการรักษา อาการต่างๆเบื้องต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจก้อนเนื้อบริเวณลำคอ การตรวจช่องปาก
  • การตัดก้อนเนื้อเพื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เบาหวาน การทำงานของไต ตับ กระดูก สมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
  • X-ray ดูช่องอก ปอด หัวใจ
  • ตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจโดยเอ็มอาร์ไอ บริเวณปากและลำคอเพื่อประเมินการลุกลามของโรค
  • การอัลตราซาวน์ดูการลุกลามของโรคในตับ
  • การตรวจทางทันตกรรมเพื่อดูแลรักษาฟันร่วมกับการรักษาต่างๆ

การรักษาโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งช่องปาก แพทย์จะใช้การผ่าตัด ร่วมกับ การฉายรังสี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ระยะของการเกิดโรค ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง รายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ในระยะต้นของโรค แต่ไม่เกินระยะสาม มักมีผลข้างเคียงทำให้เกิด อาการปวดเจ็บ หรืออาจเกิดการติดเชื้อ
  • รังสีรักษา สามารถทำได้โดยการฉายโดยตรงหรือฝังแร่ ซึ่งมักใช้ร่วมกับการผ่าตัด ผลข้างเคียงที่เกิดคือผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี จะต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
  • เคมีบำบัด ใช่ร่วมกับวิธีอื่นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ มักมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด เกร็ดเลือดต่ำ ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ยังไมสามารถทำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การงดเว้นปัจจัยเสียงที่กระตุ้นให้เกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รักษาสุขภาพในช่องปาก และ แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
  • หมั่นสังเกตุอาการตนเอง โดยเฉพาะในช่องปาก หากพบอาการผิดปกติตุ่มหนอง ก้อนเนื้อควรรีบปรึกษาแพทย์

มะเร็งช่องปาก โรคอันตรายโรคหนึ่ง ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคสูง อาการสำคัญที่พบ คือ มีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องทำอย่างไร

กระทือ พืชพื้นบ้านตระกูลขิง สามารถรับประทานเหง้าได้ ลักษณะของต้นกระทือเป็นอย่างไร สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม แก้เคล็ดขัดยอก บำรุงน้ำนม โทษของกระทือมีอะไรบ้างกระทือ สมุนไพร สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ ภาษาอังกฤษ เรียก Shampoo ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. กระทือจัดเป็นพืชตระกูลขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น เฮียวแดง กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ ทือ เป็นต้น ต้นกระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และได้มีการแพร่กระจายไปประเทศต่างๆในเอเชีย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เราเรียกว่า เหง้ากระทือ หรือ หัวกระทือ

มีการใช้ประโยน์จากกระทือหลากหลายทั้งด้านอาหารและการรักษาโรค หัวของกะทือนำมาแก้เคล็ดขัดยอกได้ หรือ คั้นเอาน้ำจากหัวกระทือมาดื่มช่วยขับลม บำรุงน้ำนม นอกจากนั้นหัวกระทือ และ ลำต้นอ่อน สามารถนำมาทำอาหารรับประทานเป็นผักสด ทคานคู่กับน้ำพริกได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ชอบดินร่วนที่มีความชื้น เช่น ข้างลำน้ำ ข้างลำห้วย สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ส่วนของลำต้นจะสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีเนื้ออ่อนเป็นเส้นใย ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม หุ้มด้วยกาบใบ ส่วนลำต้นใต้ดิน หรือเรียกว่า เหง้า ลักษณะกลมเป็นแง่งๆ คล้ายเหง้าข่า เนื้อเหง้าเป็นสีขาว เหง้าแก่จะมีเนื้อเป็นสีเหลือง
  • ใบกระทือ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงใบออกจากลำต้นหนือดิน ใบเป็นรูปหอก ยาว ใบเรียบ ใบมีสีเขียว ปลายใบแหลมเล็ก
  • ดอกกระทือ ลักษณะดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกจะแทงออกจากก้านช่อ ออกจากเหง้าใต้ดินแทงก้านดอกขึ้นมาเหนือดิน ก้านดอกลักษณะกลม ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนตัวช่อดอกลักษณะกลม กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ดอกกระทือจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
  • ผลและเมล็ดของกระทือ ลักษณะรูปไข่ เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีขาว เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ ผิวเรียบ เป็นมัน

สรรพคุณของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระทือ รากกระทือ ลำต้นกระทือ ใบกระทือ และ ดอกกระทือ สรรพคุณของกระทือ มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ช่วยบำรุงน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ลดไข้

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย