มะยม ( star gooseberry ) พืชมงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นมะยมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้เจ็บคอ บำรุงเหงือกและฟัน โทษของมะยม มีอะไรบ้างมะยม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะยม ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ในทางการแพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ ในการนำมาทำยารักษาโรค เป็นส่วนของ ใบและราก มะยม ภาษาอังกฤษ เรียก Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม คือ Phyllanthus acidus (L.) Skeels เป็นพืชในตระกูลมะขามป้อม ชื่อรียกอื่นๆของมะยม เช่น หมากยม หมักยม ยม เป็นต้น

มะยมในประเทศไทย

ประเทศไทย มีความเชื่อว่า มะยมเป็นพืชมงคล ให้ปลูกในทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งไม่ดี คำว่า มะยม ออกเสียงคล้ายคำว่า นิยม ต้นมะยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ผลมะยม นิยมนำมาทำอาหารรับประทานมากมาย เช่น รับประทานผลสด นำมาแช่อิ่ม หรือ เชื่อม เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะยม

ต้นมะยม เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป มะยมสามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะยม มีดังนี้

  • ลำต้นมะยม มีความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นกลม ผิวลำต้นขลุขละ เป็นลูกคลื่น ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก
  • ใบมะยม เป็นใบใบประกอบ ออกใบตามกิ่งก้านเรียงสลับจำนวนมาก ลักษณะใบเรียวรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ
  • ดอกมะยม ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกคล้ายไตสีเขียวหรือสีแดง
  • ผลมะยม ลักษณะกลมแบน ลักษณะเป็นแฉกๆมนๆ เหมือนดวงดาว แตัไม่แหลม ผลอ่อนมะยมสีเขียว ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดมะยม ลักษณะคล้ายพูผล เมล็ดแข็ง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละเมล็ด เนื้อเมล็ดแข็งมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

สำหรับการบริโภคมะยม นิยมรับประทานผลมะยม มีรสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะยม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะยมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 33 แคลอรี่ โดยสารอาหารที่สำคัญในผลมะยม ประกอบด้วย กากใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต 6.40 กรัม โปรตีน 0.90 กรัมไขมัน 0.40 กรัม  แคลเซียม 32 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม  ธาตุเหล็ก 0.50 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 200 มิลลิกรัม โซเดียม 2 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 28 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะยม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะยม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผล ใบ และ ราก โดย สรรพคุณของมะยม มีดังนี้

  • ผลมะยม สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย ช่วยขับถ่าย รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง แก้อาการคัน ช่วยให้ผิวขาว ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ร่ายกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กระตุ้นการยากกินอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ใบมะยม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง แก้ผื่นคันตามผิวหนัง บำรุงตับ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยบำรุงผิวพรรณ  ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • รากมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยลดความอยากกินเหล้า

โทษของมะยม

ในมะยมมีน้ำยาง ซึ่งมีความเป็นพิษ อาจทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีอาการง่วงซึม และ รากมะยม สรรพคุณทำให้อาเจียน หากเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ชะคราม ช้าคราม พืชตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้างชะคราม สมุุนไพร วัชพืช สรรพคุณของชะคราม

ต้นชะคราม ( Seablite ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม คือ Suaeda maritime (L.) Dumort. ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม เช่น ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะคราม เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพความเค็มของชายทะเลได้ ถิ่นกำเนิดของชะคราม อยู่ประเทศที่มีภูมิประเทศติดชายทะเล สำหรับประเทศไทย พบได้ตามป่าโกงกาง และ ชายทะเล ในภูมิภาคต่างๆ

ใบชะคราม นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งอาหารไทยที่มีใบชะครามเป็นส่วนประกอบ มีหลายเมนูอาหาร เช่น ยำใบชะครามทะเล แกงเลียง แกงคั่ว ห่อหมก แกงส้ม เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะคราม

ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นชะคราม มีดังนี้

  • ลำต้นชะคราม ลำต้นแตกกิ่งสาขาจำนวนมาก เป็นลักษณะพุ่มขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอ่อนสีเขียว ลำต้นแก่สีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
  • รากของชะคราม มีรากแก้วที่แทงลึกลงดิน เป็นแนวตั้ง และ มีรากแขนง แทงออกตามด้ายข้างขนานกับพื้น
  • ใบชะคราม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบออกตามกิ่งต่างๆ ใบลักกษณะกลมยาว อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบชะครามอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว กลีบดอกแก่มีสีแดง
  • ผลชะคราม ลักษณะทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  เมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะมันวาว

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

การบริโภคชะคราม นิยมรับประทานใบชะครามเป็นอาหาร ซึ่งสามารถรับประทานทั้งแบบใบสด และ ใบลวก ได้ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด และ ใบชะครามลวก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามลวกมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.10% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.58% คาร์โบไฮเดรต 2.49% โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามสดมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.40% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.81% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 2.97% โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม  เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะคราม

การใช้ประโยชน์จากชะคราม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย  สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบชะคราม รากชะคราม และ ลำต้นชะคราม สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • รากชะคราม สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก รักษาแผลฝี แก้น้ำเหลืองเสีย แก้อาการผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง และ รักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
  • ใบชะคราม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลบวมหนอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้ตามัว บำรุงเส้นผมและรากผม รักษาอาการผมร่วง
  • ลำต้นชะคราม สรรพคุณบำรุงเส้นผมและรากผม รักษาผมร่วง

โทษของชะคราม

  • ใบชะคราม มีกลิ่นฉุ่น สำหรับคนที่ไม่เคยชินในการกินใบชะคราม อาจทำให้อาเจียนได้
  • กลิ่นฉุนของใบชะคราม ทำให้กลิ่นตัวและกลิ่นปาก แรง ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ชะคราม ช้าคราม วัชพืช พืชล้มลุกตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณ เช่น บำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย