มะกอก ผลไม้ สามารถสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้างมะกอก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะกอก ( Hog plum ) พืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz  ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น ไพแซ กอกหมอง กูก กอกกุก กอกเขา กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ มะกอกไทย กอกป่า มะกอกป่า  โค่ยพล่าละ แผละค้อก สือก้วยโหยว เพี๊ยะค๊อก ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง ลำปูนล เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

มะกอกในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง มะกอกป่า มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ รายละเอียด มีดังนี้

  • มะกอกป่า นิยมใช้ผลมาปรุงรสเปรี้ยว และ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด
  • มะกอกโอลีฟ นิยมนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก
  • มะกอกฝรั่ง มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้
  • มะกอกน้ำ นิยมนำมาดองและแช่อิ่ม

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นพืชตระกลูเดียวกับมะม่วง สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้ง ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลักษณะของลำต้นกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่ม มีเปลือกเป็นสีเทา ลักษณะกหนา ผิวเปลือกเรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย และ มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก ลักษณะใบแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนของมะกอกเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นใบประกอบ
  • ดอกมะกอก มะกอกออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเหมือนรูปถ้วย ออกตามปลายกิ่ง และ ซอกใบ มีสีครีม มะกอกจะออกดอกทุกเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ผลมะกอก มีรสเปรี้ยว ลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านในผลมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ เปลือกผลเป็นสีเขียว ผลแก่เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน ภายในผลมีเมล็ด ขนาดใหญ่ และ แข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับประโยชน์ของมะกอก มีมากมายทั้งด้านการรักษาโรคและด้านอื่นๆ โดยการรับประทานมะกอก นิยมรับประทานมะกอกจากส่วน ผล และ ใบอ่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอกและใอ่อนของมะกอก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม  วิตามินซี 53 มิลลิกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
  • ใบอ่อนมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย แคลเซียม 49 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
  • น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันสามารถสกัดจากผลมะกอก นิยมใช้ผลมะกอกดอลีฟ มาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่งน้ำมันมะกอกสามารถใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) เป็นน้ำมันคุณภาพดี น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป สามารถคงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มากกว่าน้ำมันมะกอกธรรมดา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ ได้

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก

สรรพคุณของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุณของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการสะอึก บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก สรรพคุณแก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง
  • ผลมะกอก สรรพคุณเสริมแคลเซียมในร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำรักษาเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก สรรพคุณแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะกอก

สำหรับโทษจากการใช้มะกอก จะเกิดจากการใช้มะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก ในปริมารที่มากเกินไป โดยการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย คือ วันละ 2 ช้อนโต้ะ และ ไม่เกิด 1 ลิตรต่อ 1 สัปดาห์ โดยข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก ผลไม้รสเปรี้ยว สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ลักษณะของต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของมะกอก เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ช่วขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สะเลเต สมุนไพร ไม้มงคลเสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์มีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นว่านมหาหงส์ ( Butterfly lily ) พีชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่านมหาหงส์ คือ  Hedychium coronarium J.Koenig ชื่อเรียกอื่นๆของว่านมหาหงส์ เช่น เลเป ลันเต ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ ว่านกระชายเห็น สะเลเต กระทายเหิน หางหงส์ ตาเหิน เฮวคำ  เป็นต้น

ลักษณะของต้นว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์ เป็นพืชล้มลุก ชอบน้ำ ขึ้นได้ดีตามที่ลุ่มชื้น อายุยืน มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร โตเร็ว ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และ ศัตรูพืช มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร ลักษณะของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ เหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม สีเขียว เนื้อในสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ลำต้นของว่านมหาหงส์ จะออกมาจากเหง้า ขึ้นตรง สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม เป็นสีเขียว
  • ใบของว่านมหาหงส์ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายหอก ปลายแหลม ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวสด
  • ดอกของว่านมหาหงส์ จะออกดอกเป็นช่อ ดอกออกจากปลายยอดของลำต้น ปลายกลีบดอกเป็นสีขาวอมสีเขียว โคนดอกเป็นสีขาว ดอกมหาหงส์ออกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี
  • ผลของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นผลแห้ง ทรงกลม แตกออกได้เป็นพู

คุณค่าทางโภชนากการของว่านมหาหงส์ 

สำหรับการนำเอาว่านมหาหงส์มาใช้ประโยชน์ นั้นจะนิยมนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย โดยได้จากการสัดจากเหง้าของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นของเหลว ใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน โดยในน้ำมันหอมระเหยของว่านมหาหงส์ มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย  beta-pinene , borneol , d-limonene และ linalool สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของโลชั้นกันยุงได้ และ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย

ประโยชน์ของว่านมหาหงส์

สำหรับว่านมหาหงส์ สามารถใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งการนำเอามาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรค และ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ รายละเอียด ดังนี้

  • สามารถใช้เป็นอาหาร โดยนำเหง้าอ่อนของว่านมหาหงส์มารับประทาน รสชาติเผ็ดร้อนคล้ายขิง คนเหนือนิยมลวกรับประทานกับน้ำพริก
  • ดอกว่านมหาหงส์ นำมาใช้บูชาพระ
  • เหง้าว่านมหาหงส์ สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เรียก น้ำมันมหาหงส์ นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำหอม โลชั้นทากันยุง สบู่ ครีมอาน้ำ เป็นต้น
  • น้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาหงส์ ใช้นำมาให้กลิ่นหอม และ เป็นส่วนผสมของครีมสปาต่างๆ เช่น โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ หรือโคลนหมักตัว เป็นต้น
  • ไม้มงคล ดอกสวย ว่านมหาหงส์ ดอกจะมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด และ เชื่อกันว่าว่านมหาหงส์จะช่วยเสริมอำนาจและบารมี

สรรพคุณของว่านมหาหงส์

การใช้ประโยชน์จากว่านมหาหงส์ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้าของมหาหงส์มา ดดยรายละเอียดของสรรพคุณของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ตากแห้งนำมาบดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ยาบำรุงกำลัง ทำยาอายุวัฒนะ แก้กษัย บำรุงไต
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาต้มดื่มช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย แก้ลมชัก
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาคั้นน้ำ สามารถรักษาแผลฟกช้ำ แผลอักเสบ และ แผลบวมได้

โทษของว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขิง ที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน หากสัมผัสโดยไม่ใส่ถุงมือ หรือ บางคนที่ผิวบอบบาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ แสบร้อนได้

ว่านมหาหงส์ สะเลเต พืชสมุนไพร ไม้มงคล เสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์ของมหาหงส์ สรรพคุณของมหาหงส์ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับต้นมหาหงส์

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย