ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง สมุนไพร กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

เดือย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเดือย ( Adlay ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเดือย คือ Coix lacryma-jobi L. เดือย เป็น พืชตระกูลเดียวกับต้นหญ้า นิยมปลูกมากในภาคอีสาน ลูกเดือย สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำลูกเดือย เครื่องเคียงน้ำเต้าหู้ นำมาทำแป้งสำหรับทำขนม เดือย มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศแถบยุโรป ปัจจุบันเดือยสามารถปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะเขตประเทศอบอุ่น

เดือยในประเทศไทย

สำหรับ เดือย พบว่ามีการนำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา และในช่วงปี พ.ศ. 2513 ได้แพร่ไปยัง จ.ชัยภูมิ และเลย จนถึงภาคเหนือในปี พ.ศ. 2523  ลูกเดือย จัดเป็น พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย แหล่งปลูกเดือยที่สำคัญ คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย คือ พื้นที่ปลูกเดือย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับสายพันธ์ของเดือยที่ปลูกในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ ลูกเดือยหิน ลูกเดือยหินขบ และ ลูกเดือยทางการค้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยหิน ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือ เขตภูเขาสูง ลักษณะของลำต้นไม่สูงมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน เพราะ ให้แป้งน้อย เปลือกและเมล็ดแข็งมาก สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้
  • ลูกเดือยหินขบ ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกในภาคเหนือ ลักษณะลำต้นสูง สามารถรับประทานลูกเดือยได้
  • ลูกเดือยทางการค้า คือ ลูกเดือยที่นิยมรับประทานในปัจจุบัน เมล็ดคล้ายข้าวสาลี เปลือกบาง สีขาวขุ่น เดือย ชนิดนี้ มี 2 ประเภท คือ ลูกเดือยข้าวเหนียว ( glutinous type ) และ ลูกเดือยข้าวเจ้า ( nonglutinous type )

สายพันธุ์เดือย

สำหรับสายพันธ์เดือยที่มีการปลูกในปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ คือ var. lacryma-jobi , var. monilifur , var. stenocarpa และ var. ma-yuen รายละเอียด ดังนี้

  • var. lacryma-jobi เป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ลูกเดือยเป็นรูปข่ เปลือกแข็ง เมล็ดเงามัน ใช้ทำอาหารและเครื่องประดับได้
  • var. monilifur เป็นสายพันธุ์เดือยที่พบได้เฉพาะในประเทศพม่า และ ประเทศอินเดีย ไม่นิยมรับประทาน นำมาใช้ทำเครื่องประดับ
  • var. stenocarpa มะเดือยขี้หนอน ลักษณะของลูกเดือยคล้ายขวด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ประดับเสื้อผ้า ทำสร้อย และ เครื่องประดับ
  • var. ma-yuen สายพันธุ์นี้ใช้นำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นเดือย

เดือย เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกันกับข้าวและต้นหญ้า สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเดือย เหมือนกับกอหญ้าทั่วไป ลำต้นกลม และ ตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นปล้อง ผิวลำต้นเรียบ สีเขียว
  • ใบเดือย ลักษณะเรียวยาว สีเขียว กาบใบหุ้มลำต้น โคนใบหยัก ความยาวของใบประมาณ 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ และ ขอบใบคม บาดมือได้
  • ดอกเดือย เป็นลักษณะช่อ แทงออกแทงจากปลายลำต้น ช่อดอกยาว 8 เซนติเมตร ดอกของเดือยจะพัฒนาไปเป็นผลเดือย
  • ผลและเมล็ดเดือย ผลเดือยจะพัฒนามาจากดอกเดือย ลักษณะของผลเดือย กลม เปลือกของเมล็ดแข็ง ผลเดือยนำมารับประทานเป็นอาหาร ได้

คุณค่าทางโภชนาการของเดือย

สำหรับการรับประทานจะนำเมล็ดหรือผลมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 17.58 % ไขมัน 2.03 % คาร์โบไฮเดรต 51.58% ซิลิคอนไดออกไซด์ 0.1% แคลเซียม 0.04% แมกนีเซียม 0.06% โซเดียม 0.006% โปรแตสเซียม 0.14% ฟอสฟอรัส 0.15% และ กรดไขมัน

สำหรับสารสำคัญต่างๆที่พบในเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย coxenolide , Coixol , ethanediol , propanediol , butanediol
  • รากลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Lignin , Coixol , Palmitic Acid , Stearic Acid , Stigmeaterd และ Sitosterol

สารคอกซีโนไลด์ ( Coxenolide ) ที่พบในลูกเดือย มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ช่วยรักษาอาการตกขาวได้

ประโยชน์ของลูกเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือย นั้นจะนำลูกเดือยมารับประทานเป็นอาหาร นำมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานต่างๆ เนื่องจากลูกเดือยมีส่วนผสมของแป้ง มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย เป็นต้น สำหรับ สรรพคุณของเดือย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้น เป็นต้น

สรรพคุณของเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลูกเดือย ใบเดือย ลำต้นเดือย และ รากเดือย รายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการเหน็บชา ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ลดอาการปวดหัว ช่วยบำรุงเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดข้อเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาการตกขาวผิดปกติในสตรี แก้เจ็บคอ รักษาวัณโรค ช่วยขับเลือด ช่วยขับหนอง
  • ใบเดือย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน แก้ปัสสาวะเหลืองขุ่น
  • รากลูกเดือย มีรสขม สรรพคุณช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ แก้โรคหนองใน แก้ข้อเข่าเสื่อม ลดอาการปวดตามข้อ รักษาอาการตกขาว ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

โทษของเดือย

สำหรับการรับประทานลูกเดือย อย่างปลอดภัย ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการบริโภคลูกเดือยไม่ปลอดภัย แต่ข้อควรระวังในการรับประทานลูกเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยก่อนนำมารับประทานต้องนำมาทำให้อ่อนก่อน ไม่สามารถนำมารับประทานแบบแข็งๆ เนื่องจากอันตรายต่อระบบการย่อยิาหาร
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานลูกเดือย ลูกเดือยอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ และทำให้มดลูกบีบตัว เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังการรับประทานลูกเดือย เนื่องจากลูกเดือยสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง พืชพื้นเมือง กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

แครอท ( Carrot ) นิยมรับประทานหัวแครอทเป็นอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

แครอท สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแครอท ภาษาอังกฤษ เรียก Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. แครอทจัดเป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับผักชี มีต้นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ต้นแครอมมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวแครอทมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง สีส้ม เป็นต้น นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร

หัวแครอท มีสารอาหารมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่สำคัญมี สารฟอลคารินอล ( falcarinol ) ช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี สรรพคุณของแครอท ใช้รักษาโรคได้อย่างหลากหลาย

ลักษณะของต้นแครอท

ต้นแครอท คือ พืชล้มลุกตระกูลผักชี สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ แครอทสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับปลูกแครอท คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ต้นแครอทมีหัวอยู่ใต้ดิน โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอท เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะยาว ประมาณ 15 เซ็นติเมตร ลักษณะอ้วน ปลายแหลม ผิวเรียบ มีต่างๆ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีม่วง หัวแครอทคือส่วนที่นิยมนำมารับประทานได้ ที่หัวของแครอทมีราก
  • ใบแครอท ใบแครอทมีสีเขียว อยู่ตามก้านใบ ซึ่งก้านใบแครอทออกมาจากหัวแครอท ก้านใบแครอท ลักษณะยาว สีเขียว  ความสูงของก้านใบประมาณ 20 เซนติเมตร ใบแครอท มีสีเขียว เป็นลักษณะฝอยๆ เหมือนในผักชี

สายพันธุ์ของแครอท

สำหรับแครอทไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย ซึ่งแครอทมีหลายสายพันธ์ ซึ่งแต่ละสาพันธ์มีสีของหัวแครอทที่แตกต่างกันออกไป โดย สายพันธ์แครอทที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • แครอทพันธุ์เบบี้แครอท ( Baby carrot ) หัวขนาดเล็ก สีส้ม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แนนเทส ( Nantes ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แชนทีเน่ ( Chantenay ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แดนเวอร์ ( Danvers ) หัวขนาดเล็ด สั้น และ เรียว มีสีส้ม ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์อิมเพอเรเตอร์ ( Imperater ) หัวขนาดใหญ่ สีส้ม ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์หงส์แดง ( New Kuruda ) เป็นแครอทสายพันธ์ไทย
  • แครอทพันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส ( Mini Express ) หัวขนาดเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี
  • แครอทพันธุ์ทัมบีลีนา ( Thumbelina ) หัวกลม และ สั้น สีส้ม ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์ทัวริโนเอฟวัน ( Tourino F1 ) หัวอ้วนเตี้ย สีส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของแครอท

สำหรับการศึกษาแครอท นักโภชนาการไค้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท โดยคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 41 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม  เบตาแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

ซึ่งในหัวแครอท มีสารสำคัญ คือ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็ง

สรรพคุณของแครอท

สำหรับประโยชน์ของแครอทด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นมีมากมาย โดย สรรพคุณของแครอท มีรายละเอียดดังนี้

  • บำรุงสายตา แครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยถนอมดวงตา และ สายตา
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ปรับการระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ช่วยรักษาแผล ช่วยสมานแผล
  • บำรุงเส้นผม แครอทช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง
  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

โทษของแครอท

สำหรับการรับประทานแครอทอย่างปลอดภัย ต้องรับประทานแครอทในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการรับประทานแครอทมีดังนี้

  • สำหรับคนบางคนอาจแพ้แครอท หากพบว่าเกิดอาการแพ้หลังจากกินแครอท ให้หยุดกินและพบแพทย์เพื่อรักษาด่วน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว การกินแครอทในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง สำหรับผุ้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • หัวแครอทสดๆ ที่ไม่ผ่านความร้อน อาจมีกลิ่นเหม็นเขียว อาจทำให้อาเจียนได้ การรับประทานแครอท ควรทำให้ผ่านความร้อนก่อน หรือ ทำให้หัวแครอทมีขนาดเล็กลงก่อน

แครอท ( Carrot ) ผักสวนครัว หัวแครอท นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย