มะเขือเทศ สมุนไพรสำหรับความงาม ต้นมะเขือเทศเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศมีอะไรบ้างมะเขือเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะเขือเทศ ( Tomato ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือเทศ คือ Lycopersicon esculentum Mill. ชื่อเรียกอื่นๆของมะเขือเทศ เช่น มะเขือส้ม มะเขือเครือ มะเขือน้อย ตรอบ น้ำนอ เป็นต้น ต้นมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก แถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ จากนั้นมะเขือเทศได้แพร่กระจายเข้าสู่ทวีกอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีดังนี้

  • รากมะเขือเทศ เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากแก้วความลึกได้ถึง 1 เมตร และ รากแขนงยาวได้ถึง 50 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นของมะเขือเทศ เนื้อลำต้นอ่อน เป็นทรงกลม เปราะและหักง่าย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม และ ลำต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ใบของมะเขือเทศ ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบสีเขียว มีขนอ่อนๆ ผิวใบหยาบ ในไม่เรียบ
  • ดอกมะเขือเทศ ลักษณะดอกมะเขือเทศออกเป็นช่อ แทงออกตามข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะเขือเทศ ลักษณะกลม ฉ่ำน้ำ ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดง
  • เมล็ดมะเขือเทศ ลักษณะแบน ทรงรี สีเหลือง ขนาดเล็ก อยู่ภายในผลของมะเขือเทศ

มะเขือเทศในประเทศไทย

สำหรับมะเขือเทศในประเทศไทย นั้นมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มะเขือเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพืช โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และ มะเขือเทศสำหรับรับประทานผลสด ซึ่งจากสถิติการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 90,000 พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ ร้อยละ 90 ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เพื่อการบริโภคผลสด ประมาณ  9,000 ไร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และ สารต่างๆจากมะเขือเทศ ได้มีการศึกษาผลมะเขือเทศสด ขนาด 100 กรัม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่ามะเขือเทศให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม น้ำตาล 2.6 กรัม กากใยอาหาร 1.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม น้ำ 94.5 กรัม วิตามินเอ 42 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 123 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.594 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม วิตามินเค 7.9 ไมโครกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.114 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 2,573 ไมโครกรัม

ผลมะเขือเทศสด พบว่ามีสารสำคัญ กลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ไลโคพีน ( Lycopene ) เป็นสารให้สีแดง และ มี กรดซิตริก ที่ให้รสเปรี้ยว ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ จะมีสารอาหารสำคัญมามกา แต่ในมะเขือเทศ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก โดยคุณสมบัติของสารชนิดนี้ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยพบในมะเขือเทศดิบมากกว่ามะเขือเทศสุก

สรรพคุณของมะเขือเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากผลของมะเขือเทศ โดยพบว่า ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหอบหืด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในปาก
  • บำรุงเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  • ป้องกันเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิระ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาสิว
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมชุ่มชื่น

โทษของมะเขือเทศ

สำหรับการบริโภคมะเขือเทศ เพื่อความปลอดภัยต้องรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระมัดระวังในการบริโภคมะเขือเทศ มีดังนี้

  • น้ำมะเขือเทศ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินมะเขือเทศแล้วได้ประโยชน์ทั้งหมด เพราะ ในมะเขือเทศมีธาตุโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือ ผู้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรดื่มน้ำมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศดิบ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ สาร beta-tomatine แต่มีในปริมาณเล็กน้อย เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยผลมะเขือเทศดิบ สีเขียว มีความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม

มะเขือเทศ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร สำหรับความงาม ลักษณะของต้นมะเขือเทศ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

ต้นมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้างมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ผลไม้ สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ( Mangosteen ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia × mangostana L.ชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ต้นมังคุด มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดา และ หมู่เกาะโมลุกกะ มีฉายาว่า “ ราชินีแห่งผลไม้ ” จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มาก มังคุดนั้น ไม่ได้นิยมเพียงรับประทานผลเท่านั้น เปลือกมังคุด ก็มีประโยชน์มากมาย เช่นกัน

ต้นมังคุด จัดเป็น ไม้ยืนต้น ไม้ผลเขตร้อน พบปลูกมากในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ฟิลิปปินส์ โดยประเทศที่มีผลผลิตจากมังคุดมากที่สุด คือ ประเทศไทย

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีผลผลิตมังคุดมากที่สุดในโลก โดยแหล่งปลูกมังคุด ที่สำคัญของไทย คือ ภาคใต้ และ ภาคตะวันออก  โดยมูลค่าการส่งออกในแต่ละปี มากถึง 1,500 ล้านบาท ประเทศที่รับมังคุดของไทยไป คือ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ เนเธอแลนด์ ประเทศไทยสามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรสชาติดีมากกว่ามังคุดของประเทศอื่นๆ ด้วยความเหมาะสมของดิน และ อากาศ ทำให้มังคุดจากประเทศไทยเป็นมังคุดที่ดีที่สุดในโลก แนวโน้มอนาคุดมังคุดจะมีความสำคัญมาก สำหรับเป็นผลไม้ส่งออกของไทย เพราะ การขยายตลาดมังคุดสู่ประเทศจีน

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นพืชเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด และ การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมในการขยายพันธ์มังคุดมากที่สุด คือ การเพาะเมล็ด เพราะ สะดวกและรวดเร็ว ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • รากของมังคุด เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากค่อนข้างลึก ประมาณ 120 เซนติเมตร
  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะของลำต้น ทรงกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นมีสีดำ
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ใบแทงออกตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นทรงรี ใบค่อนข้างหนา ใบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวใบมียางสีเหลือง
  • ดอกมังคุด ดอกออกเป็นดอกคู่หรือดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายกิ่งแทงออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบสีแดง
  • ผลมังคุด ลักษณะผลทรงกลม เปลือกผลมังคุด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมังคุดอ่อนสีเขียว ผลมังคุดสุกมีสีม่วง เปลือกมังคุดลักษณะแข็ง ผิวมัน เปลือกด้านในอ่อน มีเนื้อสีขาว ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับมังคุดนั้นนิยมรับประทานเนื้อผลมังคุด ให้รสหวาน อร่อย นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมังคุดสดๆ รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อผลมังคุด สด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 73 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 80.94 โปรตีน 0.41 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก  0.30 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม โซเดียม 7 มิลลิกรัม สังกะสี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.054 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.054 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.286 มิลลิกรัม และ วิตามินบี6  0.018 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมังคุด นั้น พบว่ามังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง นอกจาก ยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) อยู่ในเปลือกของมังคุด

สรรพคุณของมังคุด

มังคุดนั้น นิยมใช้ประโยชน์กับผลมังคุด โดยนิยมรับประทางผล และ นำเปลือกผลมังคุดตากแห้งมาใช้ประดยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยรายละเอียดของสรรพคุรของมังคุด มีดังนี้

  • ผลมังคุด เปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้กระปรี่กระเปร่า บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันท้องเสีย ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงสมอง
  • เปลือกผลมังคุด สรรพคุณป้องกันโรคหวัด บำรุงผิว รักษาสิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ  ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ

โทษของมังคุด 

  • เปลือกมังคุด มีสารออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และ กดระบบการทำงานของประสาท ทำให้เพิ่มความดันเลือด ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสกัดที่ได้จากเปลือกมังคุด
  • มังคุด มีสารแทนนิน ( Tannin ) หากบริโภคมากเกินไป และ บริโภคต่อเนื่องนานๆ อาจเป็นพิษต่อตับ และไต ได้

ต้นมังคุด ผลไม้ รสหวาน ราชินีแห่งผลไม้ ลักษณะของต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด เช่น บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย