แก้วมังกร ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณมากมาย ช่วยขับถ่าย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ ลักษณะของต้นแก้วมังกรเป็นอย่างไร มีโทษหรือไม่อย่างไร

แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก Dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ  Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. ต้นแก้วมังกรเป็นพืชตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง ซึ่งในแถบเอเชียเริ่มนำเข้ามาปลูกในประเทศเวียดนาม เมื่อร้อยปีก่อน จนได้รับความนิยมแพร่กระจายไปหลายประเทศ  แหล่งปลูกแก้วมังกรที่สำคัญในประเทศไทย คือ ภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี และสมุทรสงคราม

ประโยชน์ของแก้วมังกร รับประทานเป็นผลไม้สด นิยมรับประทานตอนเช้า ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี นำมาทำเป็นผลไม้ฟรุตสลัด เป็นของหวานอาหารว่าง แปรรูปเป็นผลไม้อบแห้ง และใช้ทำเครื่องดื่มดับกระหาย เช่น สมูตตี้แก้วมังกร

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชอวบน้ำ พวกเดียวกับกระบองเพชร ต้องการน้ำน้อย ไม่ต้องการดูแลมาก มีอายุหลายปี ให้ผลผลิตตลอดเกือบทั้งปี ตั้งแต่มีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มีศัตรูที่ทำลายผลผลิตสำคัญ คือ หนู มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้

  • ลำต้นแก้วมังกร คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
  • ดอกแก้วมังกร ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
  • ผลแก้วมังกร ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธ์ของแก้วมังกร

สำหรับสายพันธ์แก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายันีธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ สายพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง รายละเอียด ดังนี้

  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า แก้วมังกรสายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร 

การรับประทานแก้วมังกร 100 กรัม จะได้ พลังงาน 66 กิโลแคลอรี คุณค่าทางอาหารอื่นๆ ได้แก่ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินB1-3 วิตามินC แร่ธาตุต่างๆ เช่น Ca K Mg P และ Fe เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกากใยหรือไฟเบอร์ ช่วยทำให้อิ่มท้อง และการขับถ่ายได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อการควบคุมน้ำหนัก เพราะ มีน้ำตาลน้อย ทำให้อิ่มท้องนาน และช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ดูมีน้ำมีนวลอีกด้วย จัดเป็นสมุนไพรสำหรับสตรี

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกรด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ผลและเปลือกผลมาใช้ประโยชน์ สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ เนื่องจากแก้วมังกรมีวิตามินอยู่จำนวนมาก ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด ควบคุมน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงเลือด บรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง บำรุงการสร้างเม็ดเลือด
  • เหมาะสำหรับสตรีที่กำลังให้นมบุตร ช่วยทำให้น้ำนมมีคุณภาพดี
  • ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

โทษของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคแก้วมังกร  มีดังนี้

  • สรรพคุณของแก้วมังกร ทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย หากกินมากเกินไป อาจทำให้มือเท้าเย็นและท้องเสียง่าย
  • สตรีที่อยู่ในขณะมีประจำเดือน ควรงดการกินแก้วมังกร ความเย็นของแก้วมังกร อาจทำให้เลือดเสียจับตัวเป็นก้อน และ ทำให้ประจำเดือนขัดได้

รากสามสิบ สมุนไพร บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เชื่อกันว่าเมื่อกินรากสามสิบ ทำให้ผิวพรรณดี สวยงามได้ตลอดทุกวัย ช่วยให้มีบุตร และ อ่อนวัยเสมอ

รากสามสิบ สมุนไพร สรรพคุณรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ คือ พอควายเมะ เตอสีเบาะ จ๋วงเครือ สามร้อยราก ผักชีช้าง ผักหนาม เป็นต้น รากสามสิบ มีชื่อเรียกในตำรับยาบำรุงสตรี ว่า สาวร้อยผัว และในตำรับยาบำรุงบุรุษว่า ม้าสามต๋อน สรรพคุณต้านทานโรคต่างๆมากมาย ต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรียได้ดี

รากสามสิบ สมุนไพรไม้ชนิดเถา เป็นไม้เนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นได้ดีและมีหนามแหลม พบมากในประเทศไทย และประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เจริญเติยโตได้ดี ในป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือ ตามเขาหินปูนในเขตแล้ง

วิธีเตรียมน้ำรากสามสิบ นิยมใช้ส่วนราก มาทำเป็นยา ล้างรากให้สะอาด และตากรากจนแห้ง นำราก แห้งประมาณ 90-100 กรัม ใส่หม้อต้มน้ำสะอาด รอจนน้ำเปลี่ยนสี ใช้ดื่มตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชประเภทไม้เถา พบได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อนต่างๆ เช่น ไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสตรี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน พบสาร steroidal saponins มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สรรพคุณและประโยชน์ของรากสามสิบ มีดังนี้

  • แก้ปัญหาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการผิดปกติต่างๆจาก ภาวะหมดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • สร้างสมดุลระบบฮอร์โมนสตรี แก้อาการวัยทอง ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนมขณะให้นมบุตร ป้องกันการแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • เพิ่มขนาดหน้าอก สรพคุณช่วยช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นคาวปลาในช่องคลอด สรรพคูรช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังคลอด สรรพคุณช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกินตามเอว ต้นแขน ตันขา
  • บำรุงโลหิต
  • บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวสวยใส ช่วยชะลอความแก่ชราก่อนวัยอันควร
  • ลดกลิ่นตัวในผู้ที่กลิ่นตัวแรง ลดกลิ่นปาก
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง
  • มีฤทธิ์ยากระตุ้นประสาท
  • ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และ ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ใช้รักษาโรคคอพอก
  • นิยมใช้รากต้มกับน้ำดื่มสะอาด ใช้เป็นเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาท้องอืดท้องเฝ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
  • รักษาอาการท้องเสีย โรคบิด
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ในผู้ที่ปัสสาวะไม่ออก
  • บำรุงตับและปอดให้ทำงานเป็นปกติ
  • ใช้แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย
  • บรรเทาอาการแพ้ ระคายเคืองต่างๆ
  • แก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของรากสามสิบ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ เป็นยาบำรุงหรือรักษาโรคนั้น ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากสามสิบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน หากรับประทานจะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนสตรีมากเกินไป
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย