มะเขือเทศ สมุนไพรสำหรับความงาม ต้นมะเขือเทศเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศมีอะไรบ้างมะเขือเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะเขือเทศ ( Tomato ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือเทศ คือ Lycopersicon esculentum Mill. ชื่อเรียกอื่นๆของมะเขือเทศ เช่น มะเขือส้ม มะเขือเครือ มะเขือน้อย ตรอบ น้ำนอ เป็นต้น ต้นมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก แถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ จากนั้นมะเขือเทศได้แพร่กระจายเข้าสู่ทวีกอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีดังนี้

  • รากมะเขือเทศ เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากแก้วความลึกได้ถึง 1 เมตร และ รากแขนงยาวได้ถึง 50 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นของมะเขือเทศ เนื้อลำต้นอ่อน เป็นทรงกลม เปราะและหักง่าย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม และ ลำต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ใบของมะเขือเทศ ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบสีเขียว มีขนอ่อนๆ ผิวใบหยาบ ในไม่เรียบ
  • ดอกมะเขือเทศ ลักษณะดอกมะเขือเทศออกเป็นช่อ แทงออกตามข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะเขือเทศ ลักษณะกลม ฉ่ำน้ำ ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดง
  • เมล็ดมะเขือเทศ ลักษณะแบน ทรงรี สีเหลือง ขนาดเล็ก อยู่ภายในผลของมะเขือเทศ

มะเขือเทศในประเทศไทย

สำหรับมะเขือเทศในประเทศไทย นั้นมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มะเขือเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพืช โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และ มะเขือเทศสำหรับรับประทานผลสด ซึ่งจากสถิติการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 90,000 พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ ร้อยละ 90 ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เพื่อการบริโภคผลสด ประมาณ  9,000 ไร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และ สารต่างๆจากมะเขือเทศ ได้มีการศึกษาผลมะเขือเทศสด ขนาด 100 กรัม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่ามะเขือเทศให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม น้ำตาล 2.6 กรัม กากใยอาหาร 1.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม น้ำ 94.5 กรัม วิตามินเอ 42 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 123 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.594 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม วิตามินเค 7.9 ไมโครกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.114 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 2,573 ไมโครกรัม

ผลมะเขือเทศสด พบว่ามีสารสำคัญ กลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ไลโคพีน ( Lycopene ) เป็นสารให้สีแดง และ มี กรดซิตริก ที่ให้รสเปรี้ยว ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ จะมีสารอาหารสำคัญมามกา แต่ในมะเขือเทศ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก โดยคุณสมบัติของสารชนิดนี้ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยพบในมะเขือเทศดิบมากกว่ามะเขือเทศสุก

สรรพคุณของมะเขือเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากผลของมะเขือเทศ โดยพบว่า ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหอบหืด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในปาก
  • บำรุงเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  • ป้องกันเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิระ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาสิว
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมชุ่มชื่น

โทษของมะเขือเทศ

สำหรับการบริโภคมะเขือเทศ เพื่อความปลอดภัยต้องรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระมัดระวังในการบริโภคมะเขือเทศ มีดังนี้

  • น้ำมะเขือเทศ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินมะเขือเทศแล้วได้ประโยชน์ทั้งหมด เพราะ ในมะเขือเทศมีธาตุโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือ ผู้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรดื่มน้ำมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศดิบ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ สาร beta-tomatine แต่มีในปริมาณเล็กน้อย เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยผลมะเขือเทศดิบ สีเขียว มีความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม

มะเขือเทศ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร สำหรับความงาม ลักษณะของต้นมะเขือเทศ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

ฟักทอง นิยมทานผลฟักทองเป็นอาหาร ต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง

ฟักทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักทอง ( Pumpkin ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักทอง คือ Cucurbita moschata Duchesne ชื่อเรียกอื่นๆของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า เป็นต้น ฟักทอง เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

สายพันธ์ของฟักทอง

สำหรับต้นฟักทอง สามารถแบ่งได้ 2 สายพันธ์ ใหญ่ คือ ฟักทองตระกูลอเมริกัน และ ฟักทองตระกูลสควอช โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ฟักทองตระกูลอเมริกัน ( pumpkin ) จะมีลักษณะของผลฟักทองขนาดใหญ่ เนื้อผลยุ่ย
  • ฟักทองตระกูลสควอช ( Squash ) ลักษณะของผลฟักทองมีเปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองตระกูลสควอช ได้แก่ ฟักทองไทย และ ฟักทองญี่ปุ่น

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง เป็นพืชล้มลุก พืชคลุมดิน เป็นพืืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมปลูกริมรั้ว มีลำต้นเลื้อยตามดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นฟักทอง ลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะของลำต้น เป็นเถา ลักษณะอวบน้ำ มีขนอ่อนๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน และ เกาะตามเสา เถามีสีเขียว
  • ใบฟักทอง ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีขนอ่อนๆ ใบมีขนาดใหญ่เป็นหยักๆ 5 หยัก
  • ดอกฟักทอง ลักษณะของดอกฟักทองเป็นช่อ สีเหลือง ออกดอกตากยอดของเถา ดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลฟักทอง มีลักษณะกลม แบน ใหญ่ เปลือกภายนอกผิวไม่เรียบ แข็ง และ ขรุขระ เปลือกผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกผลสุกสีน้ำตาล เนื้อของผลมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง

ผลฟักทอง นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำมาทำให้สุก ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย  เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกฟักทอง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เนื้อของผลฟักทองมีกากใยสูง และ มี กรดโพรไพโอนิก ที่มีสรรพคุณทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง

เมล็ดฟักทอฟักทอง มี สารคิวเคอร์บิทีน สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวตืด

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทอง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ดอก เมล็ด ราก และ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดฟักทอง สรรพคุณกำจัดพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางของผลฟักทอง สรรพคุณใช้พอกแผล แก้รฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง สรรพคุณช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงผิว ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ลดการอักเสบ แก้ปวด
  • เปลือกของผลฟักทอง สรรพคุณควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

โทษของฟักทอง

สำหรับการรับประทาน ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตายต่อร่างกาย แต่หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดฟักทอง ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมของแก็สในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องอืด ปวดท้องได้
  • เมล็ดฟักทอง มีไขมันและแคลอรี่สูง หากกินมากเกินไป อาจทำให้ประมาณไขมัน สะสมในเส้นเลือดมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเมล็ดฟักทองได้ อาจทำให้แก๊สสะสมในท้อง ทำให้แน่นท้อง ปวดท้องได้
  • ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่น สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะ อาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง

ฟักทอง พืชล้มลุก นิยมรับประทานผลฟักทอง ลักษณะของต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง ประโยชน์และสรรพคุณของฟักทอง บำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย