โรคหน้าเบี้ยว อัมพาตเบลล์ Bell’s palsy ความผิดปรกติของเส้นประสาทคู่ที่7 ทำให้ ใบหน้าผิดรูป ปากเบี้ยว ข้างใดข้างหนึ่ง พบได้ทุกเพศทุกวัย  สาเหตุและรักษาอย่างไร  

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท

โรคหน้าเบี้ยวBell’s palsy ) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ อัมพาตชั่วขณะ สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ  ซึ่งสาเหตุของความผิดปรกติมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม ( Herpes simplex virus ) งูสวัด ( Herpes zoster ) ที่แฝงอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เกิดภาวะความผิดปรกติของการควบคุมประสาทของใบหน้า สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ปกติแล้วโรคนี้จะหายได้ 80% ขึ้นไป ใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์หรือนานที่สุด สามเดือน รักษาด้วยยาและการผ่าตัด

สาเหตุของการเกิดโรคหน้าเบี้ยว 

สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยความผิดปรกตินั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • โรคเนื้องอกในสมอง และก้อนเนื้อไปกดทับเส้นประสาทควบคุมใบหน้า
  • เส้นประสาทคู่ที่ 7 ผิดปกติ อักเสบหรือกระทบกระเทือน
  • ความผิดปกติของก้านสมอง แต่พบเป็นส่วนน้อย
  • การติดเชื้อไวรัสเริม HSV1

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย และหลังคลอดบุตร
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสูง ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับอาการเบื้องต้นที่พบส่วนมาก คือ หลับตาได้แต่ไม่สนิทควบคุมไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา ข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว ดื่มน้ำไม่ได้ มีน้ำไหลออกจากข้างปากควบคุมไม่ได้ ลิ้นรับรสได้ไม่ดีเหมือนก่อน หูอื้อข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • แขนขาอ่อนแรงโดยเป็นข้างเดียวกันกับปากที่เบี้ยว
  • เห็นภาพไม่ชัด เกิดภาพซ้อน
  • ทรงตัวไม่ได้ วินเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
  • ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุมปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
  • บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู
  • ระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
  • รับรสชาติได้น้อยลง

การรักษาโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น โดยมากผู้ป่วยจะดีขึ้น และสามารถหายได้เองภายใน 6 เดือน แต่หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณเพียงร้อยละ 65 หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึงร้อยละ 97 โดยการรักษา จะเป็นการให้ยารักษาโรค เช่น ให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวให้ปลอดจากการเกิดโรคหน้าเบี้ยว มีวิธีดังนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เช่น รับประทานอาหารรสไม่จัด ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผักและผลไม้ ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
  • สำหรับกรณีที่เกิดอาการ ถ้าหากไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ไม่ต้องตกใจ สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์เพราะจะเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ดูแลสุขลักษณะเบื้องต้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้สูงอย่างกระทันหัน ตัวแดงเป็นผื่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อันตรายหากรักษาไม่ทัน ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รักษาอย่างไร

ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไข้กาฬ หมายถึง โรคที่มีความรุนแรงที่มีผื่นสีดำขึ้นตามร่างกาย ส่วนคำว่า หลังแอ่น หมายถึง การอาการหลังแข็งเกร็ง มีอาการชัก

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Meningitis ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เป็นเชื้อโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสสารคัดหลังของคนที่มีเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นการจาม การไอ ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแิอ่นมักพบ 2 ลักษณะ คือ คือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด

  • ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อเชื้อโรคเจือปนในเลือดและไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและปวด ซึ่งลักษณะอาการค่อนข้างรุนแรง
  • ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะต่อจากการติดเชื้อในการแสเลือด เมื่อเชื้อโรคไหลเวียนเข้าสู่สมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองเกิดการติดเชื้อ ทำให้สมองอักเสบ ส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วย

ไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย

สถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นทุกปี ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2536 – 2552 มีรายงานผู้ป่วย 15 ถึง 74 รายต่อปี โรคนี้ไม่มีรูปแบบของการเกิดโรคตามฤดูกาลที่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่มอายุ แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุตํ่ากว่า 5 ปี มักพบในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นและแออัด สุขอนามัยไม่ดีนัก

สาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นๆได้ จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่เป็นพาหะนำโรคผ่านระบบทางเดินหายใจ จากการไอ การจาม การสัมผัสเสมหะ สัมผัสน้ำมูก สัมผัสน้ำลาย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็น โรคกาฬหลังแอ่น จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ เพราะ สูดอากาศ และ เอาเชื้อแบคทีเรียที่มันกระจายอยู่ในละอองเสมหะ หรือ แม้กระทั่งน้ำลายของผู้ป่วย เมื่อจาม ไอ
  • การอยู่ใกล้แหล่งที่มีผู้ป่วย และ อยู่ในสถานที่แออัด ทำให้เชื้อแพร่กระจายง่าย
  • การใช้ของใช้ร่วมกับ ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มีพาหะ เช่น แก้ว ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ย 3 – 4 วัน ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะมีลักษณะอาการที่สำคัญ อย่าง คือ มีไข้ มีผื่น และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

ลักษณะอาการทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีไข้ประมาณ 2-3 วันและมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นจ้ำเลือดคล้ายกับอาการฟกช้ำ ลักษณะผื่นมีรูปคล้ายดาวกระจาย มักเกิดผื่นบริเวณลำตัวส่วนล่าง ขาและเท้า หากมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ผู้ป่วยจะค่อยๆซึมลง และไม่ค่อยรู้สึกตัว หากเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้การเสียชีวิตได้

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น เมื่อแพทย์ตรวจเลือดและพบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค สามารถใช้การรักษาด้วยการใช้ยาปฎิชีวนะ เพื่อไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

แนวทางการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น 2 วิธีหลัก คือ การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการฉีดยาต้านจุลชีพ ซึ่งนอกจากนั้นสามารถป้องกันโรคได้อย่างง่ายด้วยตนเอง คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ดูแลความสะอาดของร่างกาย ไม่เอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค แนวทางการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับ ผู้อื่น หรือ ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยให้สวมหน้ากากอนามัย หรือ ใช้ถุงมือยางเมื่อต้องสัมผัส
  • เมื่อทราบว่าตนเอง หรือ บุตรหลาน เป็นไข้สูง ให้รีบพบแพทย์
  • ดูแที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย