โรคซีพี โรคสมองพิการ ( Cerebral palsy ) ภาวะสมองพิการโดยกำเนิด ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย การทรงตัว และ ใบหน้าผิดรูป สาเหตุ อาการของโรค การดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร

โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค

โรคซีพี หรือ โรคสมองพิการCerebral palsy ) ย่อว่า CP คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก เป็นโรคที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีีความผิดปรกติอย่างชัดเจน ด้านการควบคุมร่างกาย การทรงตัว ใบหน้าผิดรูป เด็กที่เป็นโรคซีพีจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดแปลก ผิดปกติจากเด็กทั่วไปสังเกตุได้ชัดเจน การขยับแขนขา การทรงตัว ใบหน้า ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีสติปัญญาดีปกติและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาสติปัญญาด้อยกว่าคนปกติ

เด็กที่เป็นโรคซีพีมักจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า แล้วเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคซีพีหรือไม่

การสังเกตุอาการเด็กโรคซีพี

สำหรับในวัยเด็กแรกเกิด โรคซีพีสังเกตุอาการได้ยาก ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตุพัฒนาการของเด็ก เด็กซีพีมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ เช่น เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน แล้วคอยังไม่แข็ง มีอาการคอพับคออ่อน พัฒนาการด้านการเดินช้ากว่าเด็กปรกติ เด็ก

สาเหตุการเกิดโรคซีพี

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซีพี มีหลายสาเหตุซึ่งเป็นการเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดา สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การขาดออกซิเจนขณะคลอดนานเกินไป ทำให้สมองเซลล์สมองเสียหายตั้งแต่แรกคลอดส่งผลต่อการพัฒนาเมื่อโตขึ้น จนแสดงอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา
  • การติดเชื้อสมองหลังจากคลอด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนได้
  • การเสียหายของสมองในช่วง 2 ปีแรกหลังการเกิด เพราะการพัฒนาของสมองจะเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีแรก หากเสียหายแต่ต้นจะทำให้การพัฒนาสมองผิดปกติไปหมด ส่งผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
  • เมื่อสมองเสียหายแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ จึงไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองได้ดี เมื่อแขนขาขยับได้ไม่ดีส่งผลต่อกระดูกไม่สามารถยืดขยายได้ตามอายุ จึงทำให้ร่างกายผิดปกติ

ปัญหาของเด็กที่มีปัญหาโรคซีพี

สำหรับเด็กที่มีโรคซีพีจะมีปัญหาต่างๆมากมายที่งร่างกาย สังคม และ พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาของเด็กที่มีอาการโรคซีพี มีดังนี้

  • ภาวะระดับสติปัญหาต่ำกว่าปรกติ ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีปัญหา เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กกลุ่มนี้มักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
  • ปัญหาด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด ผู้ป่วยโรคซีพีมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้
  • ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • อาการโรคลมชัก เราพบว่าร้อยละ 20 ถึง 50 ของผู้ป่วยโรคซีพี มักมีอาการชักร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น เช่น ตาเหล่ ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก ( nystagmus ) ร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการได้ยิน ผู้ป่วยโรคซีพีอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยิน เนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง ทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง
  • ปัญหาด้ารการสื่อความหมาย ผู้ป่วยโรคซีพีจะมีความบกพร่องทางด้านภาษา ไม่สามารถเลียนแบบเสียง ทำให้มีความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ
  • ปัญหาด้านกระดูก ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis )
  • ปัญหาด้านฟันและร่องปาก ผู้ป่วยโรคซีพีมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก ถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้

อาการของโรคซีพี

อาการผิดปรกติจะเป็นตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักพบความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตได้จากเด็กมีท่านอนที่ผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ โดยอาการผิดปรกติสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแข็งเกร็ง กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเอง และ กลุ่มอาการผสมกัน ลักษณะอาการดังนี้

  • อาการโรคซีพี กลุ่มแข็งเกร็ง ( spastic ) เป็นอาการที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากกว่าปกติ อาการเกร็งทำให้ร่างกายผิดปกติ มีหลายรูปแบบ คือ
    • อาการเกร็งแบบครึ่งซีก คือ มีอาการเกร็งของแขนและขาข้างเดียวกัน ( spastic hemiplegia ) ลักษณะผิดปกติชัดเจนคล้ายผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • อาการเกร็งครึ่งท่อน คือ มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง( spastic diplegia ) เกร็งแค่ครึ่งตัวส่วนมากพบขาเกร็งมากกว่าแขน
    • อาการเกร็งทั้งตัว คือ มีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง
  • อาการโรคซีพี กลุ่มเคลื่อนไหวเอง เป็นอาการเคลื่อนไหวเองของผู้ป่วย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการกล้ายเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ และ อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกง่าปรกติ ดังนี้
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ เรียก อะธีตอยด์ ( athetoid ) ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ บางรายคอเอียง ปากเบี้ยว
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกว่าปรกติ เรียก อะแทกเซีย ( ataxia ) ทำให้มีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อาการโรคซีพี กลุ่มอาการผสมกัน ( mixed type ) คือ มีอาการทั้งเกร็ง และ กล้ามเนื้อผิดปรกติ พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง

การรักษาโรคซีพี

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ เนื้อสมองเมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาได้ สิ่งที่ทำได้คือการฟื้นฟู การบรรเทาอาการ เช่น การที่เส้นยึด เส้นตรึง กล้ามเนื้อลีบ ควรทำหารขยับ การยืด การบริหารทุกวัน ให้กล้มเนื้อมีความยืดหยุ่น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจ การปรับตัวเข้ากับสังคม ยอมรับตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเอง แรวทางการรักษา สามารถแบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเร่ิ่มรักษาตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติของแต่ละคน โดยโปรแกรมการรักษาจะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้ และ การใช้เครื่องช่วยเพื่อจัดท่าทาง
  • การรักษาโดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ
  • การรักษาเพื่อแก้ไขการพูด ฝึกให้สามารถออกแรงกล้ามเนื้อในการพูดให้สามารถพูดได้เป็นปรกติมากที่สุด
  • การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด โดยยาใช้รักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพ่ือลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งการรักษาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสม
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses-AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) รองเท้าตัด เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • เด็กควรได้รับการฟื้นฟู ทั้งทางกายภาพคือ การขยับแขนขาร่างกาย การฝึกเดิน ฝึกทำกิจวัตรประจำวันเอง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การฝึกการเข้าสังคม การเตรียมความพร้อมในการเรียน การฝึกอาชีพ
  • การฟื้นฟูและฝึกต่างๆควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ควรเกินอายุ 7 ปี เนื่องจากหลังจาก 7 ปีแล้วสมองจะเจริญได้ช้ามาก ทำให้การฝึก การฟื้นฟูที่ทำหลังจากอายุ 7 ปีจะทำได้ล่าช้ามาก
  • การดุแลเด็กที่เป็นโรคซีพีจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะต้องหยิบจับได้ง่าย ไม่มีคม ทางเดินควรมีทางลาด ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้การเดินการขยับต่างๆทำได้อย่างปลอดภัย และให้เด็กค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปกติ
  • การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การมีเพื่อนในวัยเดียวกัน การทำควมเข้าใจสังคมภายนอกบ้าน ควรพาเด็กออกไปพบปะผู้คน สังคมภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การปรับตัว
  • การฝึกพื้นฐานต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่ายเอง ควรฝึกให้เป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งยังได้ประโยชน์จากการฝึกกล้ามเนื้ออีกด้วย

ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาการมีไข้ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก ไม่มียารักษาแต่สามารถหายเองได้ภายใน 2 วัน หากพักผ่อนให้เพียงพอ โรคหวัดป้องกันอย่างไรโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

โรคหวัด ในปัจจุบันเป็นโรคที่คนรู้จักโดยทั่วไปพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เชื้อโรคที่ทำให้เกิดหวัดมีสายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด และเมื่อหายจากอาการไข้หวัดแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดนั้นๆเอง ผู้ป่วยไข้หวัดมักป่วยจากการติดเชื้อเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ๆ จนบางครั้งเราอาจเกิดไข้หวัดหลายครั้งในหนึ่งปี

โรคหวัด ทางการแพทย์เรียก common cold คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และ กล่องเสียง ซึงเมื่อเกิดอาการติดเชื้อจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น ตัวร้อน ไอ จาม เจ็บคอ และ มีน้ำมูก เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งหากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ ภายในสองวัน

โรคหวัด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น โรคหวัดจึงพบว่าเกิดมากในกลุ่มเด็ก คนชรา และ ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งจากน้ำมูก การไอ การจาม

สาเหตุการเกิดโรคหวัด

สาเหตุของการเกิดโรคหวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งมีหลายสายพันธ์ที่ทำให้เกิดหวัด แต่เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรงของโรค ซึ่งติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีน้ำมูก มีเสมหะ เจ็บคอ ซึ่งปัจจัยที่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัด คือ

  • ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ พบว่าในเด็กและผู้สูงอายุจะตืดเชื้อหวัดได้ง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่มักจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหรือฤดูหนาว
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่าย และหากเป็นก็จะอาการรุนแรงกว่าปกติอีกด้วย
  • การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดได้ง่าย

อาการของโรคหวัด

สำหรับอาการของโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง หากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ใน 2 วัน อาการของไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของไข้หวัในเด็กและอาการไข้หวัดในผู้หญ่ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการไข้หวัดในเด็ก มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสไข้สูงต่อเนื่องมากกว่า 2 วัน โดยอาการไม่ดีขึ้นปวดหัว ไออย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด ง่วงนอนมากผิดปกติ เบื่ออาหาร
  • อาการไข้หวัดในผู้ใหญ่ มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณไซนัส

การรักษาโรคหวัด

สำหรับแนวทางการรักษาไข้หวัด ไม่จำเป็นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสทุกชนิด ซึ่งการรักษาให้รักษาโดยการประคับประครองตามอาการของโรค เช่น กินยาลดไข้ พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัด

โรคหวัดสามารถกายเองได้ในสองวันหากพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ็อนจากไข้หวัด เนื่องจากอาจทำให้อาการของไข้หวัดรุนแรงมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดไข้หวัด มีดังนี้

  • ภาวะติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่แก้วหู ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในหู สังเกตอาการจากอาการปวดหู และในบางกรณีอาจมีน้ำหนองออกมาจากหู หากปล่อยไว้อาจทำให้แก้วหูทะลุได้
  • โรคหอบหืด หรือ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาการไข้หวัด ทำให้โรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
  • โรคไซนัสอักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่โพรงไซนัส จะทำให้เกิดอาการติดเชื้อจนกลายเป็นไซนัสอักเสบได้
  • คออักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่ลำคอ จะทำให้เกิดอาการคออักเสบ เจ็บคอและไอรุนแรง
  • หลอดลมอักเสบ หากเชื้อโรคลงมาที่หลอดลม อาจทำให้หลอดลมอักเสบ ไอมากขึ้น
  • ปอดบวม หากเชื้อโรคแพร่เข้าสู่ปอดจะทำลายปอด หากไม่รีบรักษาเป็นอันตรายได้

การป้องกันไข้หวัด

สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัด มีแนวทางการป้องกันจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้ร่างกายรับมือต่อเชื้อโรคต่างๆ และ ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือ สัมผัสสิ่งต่างๆ
  • ใช้เครื่องป้องกับ ผ้าปิดปาก หากต้องเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงให้ทำให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย