โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

เลือดออกตามไรฟัน Scurvy ภาวะเลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก แตกและฉีกขาด สัญญาณเตือนการเกิดโรคในช่องปากอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาและป้องกัน

เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด โรคในช่องปาก

โรคเลือดออกตามไร ( Scurvy ) หรือ ลักกะปิดลักกะเปิด คือ ภาวะร่างกายขาดวิตามินซี ทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก เกิดการแตกและฉีกขาดจนมีเลือกออกจากเหงือก พบบ่อบในกลุ่มโรคในช่องปาก

วิตามินซี มีความสำคัญต่อ กระบวนการซ่อมแซมตนเองของเซลล์ การบวม การอักเสบจำเป็นต้องมีวิตามินซี หลอดเลือดขนาดเล็กจะมีวิตามินซี เสริมสร้างความแข็งแรง ดังนั้น เมื่อขาดวิตามินซี ก็จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนัง และ เหงือก เกิดการแตก ชีกขาด ได้ง่าย ส่วนมากจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยทำงานจนถึงวัยชรา พบได้ทั้งชายและหญิง พอๆกัน

ซึ่งถึงแม้ว่าจะรับประทานวิตามินซี ในปริมาณที่เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยบางราย มีปัญหาเรื่องการดูดซึม วิตามินซี ทำให้ไม่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้เกิด อาการของโรคลักปิดลักเปิด โรคนี้เป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่เป็นสัญญาณเตือนแรก ในความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย หากปล่อยไว้เรื้อรัง จะมีปัญหาต่อเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลอันตรายต่อโรครุนแรง อื่นที่ตามมาได้

สาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน มีหลายสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย 

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งสารพิษในบุหรี่ มีผลต่อประสิทธิภาพ การดูดซึมวิตามินซี ของลำไส้ให้ลดลง
  • โรคลำไส้อักเสบ จะมีผลต่อการดูดซึมของลำไส้ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินซี ในขณะที่ป่วยโรคนี้
  • อายุ เพราะ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการวิตามินซี ของร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเด็กก่อน 9 ปี ต้องการวิตามินซีเฉลี่ยประมาณ 35 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เป็นเฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อวัน
  • การตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์จะพบว่าความต้องการวิตามินซี ในร่างกายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะปกติ อีก ประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขณะให้นมบุตร พบว่าวิตามินซี มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ ซึ่งความต้องการวิตามินซี จะมากขึ้นกว่าปกติอีกถึง ประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว
  • การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง พบว่า วิตามินซีจะเสียสภาพ เมื่ออยู่ในความร้อนสูง ในผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะพบวิตามินซีสูง แต่เมื่อนำไปประกอบอาหารโดยใช้ความร้อน พวกอาหารพัด อาหารนึ่ง อาหารอบ พบว่าวิตามินซี เสียสภาพไปมากกว่า 60 %
  • ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ขณะที่ต้องเข้ารับการฟอกไต
  • การดื่มสุรา มีผลต่อการดูดซึมของลำไส้
  • พฤติกรรมการกิน พบมากในเด็กที่ไม่ชอบรับประทานผัก และ ผลไม้
  • ภาวะทางเศรฐกิจ การอพยพย้ายถิ่น การลี้ภัยสงคราม มักพบว่าเกิดภาวะขาดวิตามินซี เนื่องจากไม่ได้รับอาหารพวกผัก และ ผลไม้ที่มีวิตามินซี ที่เพียงพอ

อาการโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับการแสดงอาการของโรคเลือดออกตามไรฟันไม่แสดงอาการหนักต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ แต่ สิ่งที่ต้องระวัง คือ การติดเชื้อโรคในช่องปาก ลักษณะอาการที่ผิดปรกติ สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกตามไรฟันที่ต้องพบแพทย์

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดแรง ไม่มีแรงทำงาน
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีอาการปวด เป็นๆหายๆ
  • เลือดออกตามลายฟัน เหงือกบวมง่าย
  • เลือดติดแปรงสีฟัน ขณะแปรงฟัน
  • เลือดออกที่เหงือก เมื่อรับประมาณอาหารแข็ง
  • ผิวหนังห้อเลือดง่าย เป็นจุดแดงตามผิวหนัง
  • ซูบผอม ร่างกายไม่โต กระดูกผิดรูป ร่างกายเล็กเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ภาวะซีด
  • ตาแดง ตาบวม บางรายเลือดออก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน ตรวจประวัติการรักษา สอบถามพฤติกรรมการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ ตรวจช่องปาก เหงือก และ ฟัน เอกซเรย์กระดูก ดูโครงสร้างกระดูก

การรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับโรคเลือดออกตามไรฟันไม่ร้ายแรง สามารถหายเองได้ เพียงคนที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันต้องหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนั้นการให้วิตามินซี เสริม ตามปริมาณอายุ เพศ ภาวะของร่างกาย และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ให้เน้นผัก ผลไม้ มีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว สัปปะรด มะเขือเทศ มะม่วง พริกหวาน กะหล่ำ เน้นรับประทานสด แทนการปรุงอาหารด้วยความร้อน

การป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

แนวทางการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันให้ดูแลสุขภาพ และ สุขภาพช่องปากให้สะอาด แนวทางการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีดังนี้

  • พยายามบังคับ ตนเองให้เน้น รับประทานผัก และ ผลไม้ ตามที่แนะนำข้างต้น เพิ่มมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และ ดื่ม สุรา หากสามารถเลิกได้จะดีที่สุด
  • การซื้อวิตามินซีเสริม รับประทานเอง จะต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อน เพราะ หาก ร่างกายรับวิตามินเกินความต้องการ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ตับ ไตทำงานหนัก โรคหัวใจ เป็นต้น
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย