มะขาม สมุนไพร ไม้ยืนต้น นิยมรรับประทานผลมะขามเป็นผลไม้ ปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สรรพคุณของมะขาม กากใยอาหารสูง วิตามินสูง บำรุงทางเดินอาหาร ขับเสมหะ บำรุงผิวมะขาม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ เรียก Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamarindus indica L. เป็นพืชตระกูลถั่วมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชียในเวลาต่อมา ต้นมะขามปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

มะขามในประเทศไทย

เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อในสังคมไทย มองว่ามะขามเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าสามารถป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย ด้านของชื่อมะขาม พ้องกับคำว่าเกรงขาม ชื่อเป็นมงคลจึงนิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลกับคนภายในประเทศ มะขามจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

มะขามสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย นิยมนำมาทำอาหารทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด เนื้อมะขามแก่ หรือ มะขามเปียก มีรสเปรี้ยวใช้ปรุงรสอาหารทั้งใช้เป็นส่วนผสมของแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน ยอดและใบอ่อนมะขาม นำมาต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว รวมถึงผลมะขามนำมาแปรรูปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม 

การรับประทานมะขามนิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาการต่างๆประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะขามด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบ ผล ราก โดยสรรพคุณของมะขาม มีดังนีเ

  • ผลมะขาม สรรพคุณเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงเลือด ช่วยลดรอยคล้ำ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟัน บำรุงรากผม ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ บำรุงสายตา แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน ช่วยถ่ายพยาธิตัวกลมในลำไส้และพยาธิไส้เดือน  ช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ
  • รากมะขาม สรรพคุณช่วยในการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกลำต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยรักษาแผลสด รักษาแผลไฟลวก แผลเบาหวาน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยรักษาฝีในมดลูก ช่วยขับโลหิต ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ใช้สำหรับสตรหลังคลอด
  • ใบมะขาม สรรพคุรเป็นยาระบาย ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาไข้หวัด อาการไอ รักษาโรคบิด ใช้เป็นยาหยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ แก้อาการตามัว
  • เนื้อหุ้มเมล็ดของมะขาม สรรพคุณเป็นยาสวนล้างท้อง
  • ผลดิบมะขาม สรรพคุณลดความอ้วน เป็นยาระบาย ลดไข้
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผลที่ช่องปาก คอ ลิ้น และตามร่างกาย
  • ดอกมะขาม สรรพคุณเป็นยาลดความดันโลหิตสูง

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ตะลิงปลิง สมุนไพร รสเปรี้ยว ต้นตะลิงปลิงเป็นอย่างไร สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก บำรุงระบบประสาท โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ เรียก  Bilimbi ชื่อวิทยาศาตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อนและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ซึ่งตะลิงปลิงนิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผลตะลิงปลิงเป็นอาหาร

ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใช้เป็นอาหารรับประทานยามว่าง นำมาจิ้มพริกเกลือรับประทาน หรือ ทำมาเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทแกง จะให้รสเปรี้ยว เพิ่มความอร่อย หากนพมาตากแห้ง สามารถใช้ทำชา ชงเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย บำรุงร่างกาย ส่วนใบและราก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์รักษาสิว ใช้พอกหน้า ทำให้หน้าใส

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง 

ต้นตะลิงปลิง เป็นพันธ์ไม้ขนาดเล็กในประเทศเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในลุ่มแม่น้ำอะเมซอลของประเทศบราซิล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลำต้นมัขนาดเล็ก ความสูงของต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อน ใบมีขุยนุ่มปกคลุม ลักษณะรูปใบคล้ายรูปหอก ใบเป็นมัน ปลายใบแหลม
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีช่อหลายๆช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกสีแดงเข้ม
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผิวของผลเรียบ สีเขียว และผลสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลืองและมีรสเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

การบริโภคตะลิงปลิงเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลของตะลิงปลิง ซึ่งผลตะลิงปลิงให้รสเปรี้ยว โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปิง มีสรรพคุณมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบขับพิษ ระบบภูมิคุ้มกัน สรรพคุณต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงระบบย่อยอาหาร ทำให้รับประทานได้มากขึ้น เจริญอาหาร
  • แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษ ช่วยดับกระหายจากการเสียน้ำ จากอาการร้อน
  • ช่วยขับเหงื่อ โดยผสมกับพริกไทย รับประทาน
  • ฟอกโลหิตโดยการรับประทานผลตะลิงปลิง
  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย
  • สามารถใช้รักษาคางทูม โดยใช้ใบนำมาพอก
  • ใช้ผลมาทำเป็นยาลดไข้ได้
  • กรณีมีไข้ขึ้น สามารถใช้รากของตะลิงปลิงมาดับพิษร้อนของไข้ได้ดี
  • นำดอก และ ผล มาใช้ชงเป็นชาดื่ม สามารถช่วยแก้อาการไอ อาการคันคอ อาการเคืองคอ ได้ดี
  • นำผลมาใช้เป็นยาละลายเสมหะ ยาแก้เสมหะเหนียวข้น ยาแก้น้ำลายเหียว ทำให้ชุ่มคอได้ดี
  • นำผล และราก มาทำเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนได้ดี
  • ใช้รากแก้อาการเลือดออก ที่กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ กรณีเกิดการอักเสบ จนแสบร้อนท้อง
  • ใช้รากรักษาอาการอักเสบของลำไส้ แสบลำไส้ ปวดท้อง ปวดลำไส้
  • รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส
  • ลดอาการปวดจากโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้อาการปวดลดลง ขณะอุจจาระ
  • ลดอาการปวดมดลูก โดยใช้ผลของตะลิงปลิง
  • ในผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถใช้ส่วนราก บรรเทาอาการปวดของโรคเกาต์ ปวดตามข้อต่างๆ ลดการสะสมของผลึกยูริกได้ดี
  • ใช้รักษาโรครูมาตอยด์ อาการข้อปวด ปุ่มรูมาตอยด์ โดยใช้ส่วนใมาทำเป็นยา
  • ใช้ผลหรือราก เพื่อใช้สมานแผล ใช้ลดการไหลของเลือด
  • ใช้ใบลดอาการแพ้ อาการคัน อาการบวมแดง โดยนำใบมาต้มอาบ
  • สรรพคุณลดระดับน้ำตาลและไขมัน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
  • ผลของน้ำตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ดี

สูตรน้ำตะลิงปลิง นำตะลิงปลิงประมาณครึ่งกิโลกรัม มาล้างให้สะอาด ตากแห้งเพื่อที่จะสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ต้มน้ำตาล 2 ถ้วย โดยเติมน้ำประมาณ 3 ถ้วยครึ่ง นำตะลิงปลิงเข้าเครื่องปั่นรวมกับน้ำเชื่อม แต่อย่าให้ล้น ปั่นรวมกัน กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเฉพาะน้ำ นำมาดื่มโดยเติมเกลือ เติมน้ำเปล่า ตามชอบ

โทษของตะลิงปลิง

เนื่องจากตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การกินอาหารที่มีเปรี้ยวจัด อาจส่งเสียกระทบต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย