หมามุ่ย สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้รักษาดรคได้ ต้นหมามุ่ยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง โทษของหมาหมุ่ยมีอะไรบ้าง

หมามุ่ย สมุนไพร สมุนไพรไทย

หมามุ่ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สายพันธ์ของหมามุ้ย ที่รู้จักกันดี มี 2 สายพันธ์ คือ หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย ต้นหมามุ่ย  ต้นหมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC.  ชื่อเรียกอื่นๆของต้นหมามุ้ย เช่น บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ ถั่วเวลเวท เป็นต้น

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ่ย เป็นไม้เถา พืชล้มลุก ตระกลูถั่ว โดยลักษณะของต้นหมามุ่ย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น เป็นเถาเครือ ยาวประมาณ 10 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาล
  • ใบ ลักษณะของใบหมามุ่นทรงรี คล้ายไข่ ใบบาง โคนใบกลม มีขนปกคลุมใบทั้งสองด้าน
  • ดอก ลักษณะของดอกหมามุ่ยเป็นช่อ มีขนปกคลุม สีม่วงอมดำ ดอกหมามุ่ยมีกลิ่นฉุน ดอกหมามุ่ยตามตามง่ามของใบ
  • ผล ลักษณของผลหมามุ่ย เป็นฝัก ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักของหมามุ่ยมีขนอ่อนๆปกคลุม ฝักแก่ของหมามุ่ยมีฤิทธิ์เป็นพิษ ทำให้ผิวหนัง คับ บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน ขนของหมามุ่ย มี สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน
  • เมล็ด ภายในฝักของหมามุ่ย มีเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เมล็ดหมามุ่ย มี สารแอลโดปา ( L-Dopa ) มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักภาชนาการได้ศึกษาเมล็ดหมามุ่ย คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย นั้นมี โปรตีน ไขมัน และ กากใยอาหาร  และ ในเมล็ดของหมามุ่ย มีสารอาหารสำคัญมากมาย มีกรดอะมิโน ที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ สารอาหาร ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ ธาตุสังกะสี  เมล็ดหมามุ้ยมีพิษไม่สามารถกินแบบสดๆได้

ความแตกต่างของหมามุ้ยอินเดียและหมามุ่ยไทย

สำหรับหมามุ่ยที่คนรู้จักกัน มี 2 ชนิด คือ หมามุ่ยอินเดีย และ หมามุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่การนำเอาหมามุ่ยมาใช้ประโยชน์ใช้หมามุ่ยอินเดีย เพราะ หมามุ่ยอินเดีย มีสรรพคุณทางยาสูงกว่าหมามุ่ยไทย และ ความเป็นพิษน้อยด้วย ซึ่งความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและ หมามุ่ยอินเดีย ที่เห็นอย่างชัดเจน คือ รูปร่าง และ ความคันเมื่อสัมผัส

หมามุ่ยอินเดีย ( Velvet Bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ่ยอินเดีย คือ Mucuna pruriens(L.)DC.var.utilis สายพันธุ์หมามุ่ยอินเดีย ในปัจจุบัน มี 2 สายพันธุ์ คือ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดขาว และ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดดำ

หมามุ่ยอินเดียในประเทศไทย

หมามุ่ยอินเดีย เข้าสู่ประเทศไทยมานานแล้ว รู้จักแพร่หลายในประเทศอินเดีย เชื่อว่าหมามุ่ยอินเดีย เข้าสูประเทศไทย ผ่านทางเรือ หรือ ผู้แสวงบุญที่กลับจากประเทศอินเดีย มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาเมล็ดของหมามุ่ยอินเดีย ด้วยวิธี HPLC เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสารออกฤทธิ์ในเมล็ดหมามุ่ยอินเดีย ซึ่งผลจากการวิจัย พบว่า หมามุ่ยอินเดีย มี แอล – โดปา ( L-Dopa ) เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ โดพามีน ( Dopamine ) มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท และยังมี สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ( Anti-Oxidant ) ช่วยส่งเสริมสุขภาพของสมอง ช่วยผ่อนคลาย และ ชะลอวัย

สรรพคุณของหมามุ่ย

ต้นหมามุ้ย นิยมใช้ประโยชน์มาช้านาน ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ประโยชน์จากหมามุ้ย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ รายละเอียดของสรรพคุณหมามุ้ย ดังนี้

  • ใบหมามุ้ย ใช้รักษาแผล นำมาทำยาพอกเพื่อรักษาแผล
  • เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น ช่วยผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ เพิ่มสมรรถภาพ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ ช่วยกระตุ้นให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความรู้สึก ทำให้อวัยวะแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่งอสุจิ เพิ่มฮอร์โมนสตรี ทำให้หน้าอกเต่งตึง ทำให้นมโต บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง กระชับช่องคลอด รักษาโรคพาร์กินสัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รากหมามุ้ย ใช้ถอนพิษ แก้ไอ

โทษของหมามุ่ย

สำหรับการใช้ประโยชน์หมามุ่ย มีข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย ดังนี้

  • เมล็ดหมามุ่ยสดๆ มีความเป็นพิษ มีฤิทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ประสาทหลอน หากไม่นำมาคั่วให้สุกก่อนจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  • สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยด้านจิตเวช และ ผู้ป่วยโรคความดัน ไม่ควรรับประทานหมามุ่ย
  • ขนฝักของหมามุ่ยมีพิษ ทำให้คัน ระคายเคืองผิวพรรณ
  • สำหรับคนที่แพ้พืชตระกูลถั่ว ไม่ควรกินหมามุ่ย เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

หมามุ้ย หมามุ่ย คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นหมามุ่ย ประโยชน์และสรรพคุณของหมาหมุ่ย เช่น ช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพ โทษของหมาหมุ่ย มีอะไรบ้าง หมามุ้ยใช้ประโยชน์อย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย โทษของเห็ดชุมเทศเป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ต้นเห็ดชุมเทศเป็นอย่างไรชุมเห็ดเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ เรียก Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ เรียก Senna alata (L.) Roxb. เห็ดชุมเทศเป็นไม้ล้มลุกตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทอง สวยงาม สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เห็ดชุมเทศในประเทศไทย พบได้ในตอนบนของประเทศ และ เขตภูเขาสูง ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ เช่น ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า  ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ พืชล้มลุก ขนาดกลาง ทรงพุ่ม ในประเทศไทยพบได้ตามเขตภูเขาสูง การขยายพันธ์ของชุมเห็ดเทศใช้การเพาะเมล็ด ต้นชุมเห็ดเทศมีลักษณะ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของลำต้น เรียบ ตรง มีขน สีน้ำตาล ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ ลักษณะใบทรงรี ใบหยัก ปลายใบโค้งมน เรียงสลับกันตามกิ่งก้าน เนื้อของใบค่อนหนา หยาบ และ เหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของดอก ตั้งตรง รูปไข่ ดอกมีขนาดใหญ่ สึเหลืองทาง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของผลเป็นฝัก ยาว แบน เรียบ ไม่มีขน ฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมล็ดอยู่ภายในฝัก

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

มีการนำเอาชุมเห็ดเทศ มาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมกินยอดอ่อน และ ดอกชุมเห็ดเทศ กินเป็นผักสด โดยนำมาลวกก่อนนำมากิน  แต่ด้วยความสวยงามของดอกชุมเห็ดเทศ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามของบ้าน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

การใช้ชุมเห็ดเทศด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น ชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นของชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกของต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดเส้น  แก้กษัย ขับเสมหะ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้เป็นยาบ้วนปาก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น รักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลพุพอง เป็นต้น
  • รากของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลย์ของร่างกาย แก้กษัย แก้ตาเหลือง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับพายธิ แก้พิษตานซาง รักษาอาการท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร

โทษของชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ มีพิษเป็นยาเบื่อ การใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ชุมเห็ดเทศ เพราะ ชุมเห็ดเทศช่วยกระตุ้นการคลอดลูก อาจทำให้แท้งได้
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ชุมเห็ดเทศ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถใช้ได้อาจเป็นอันตราย
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ คือ พืชพื้นเมือง สุมนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของเห้ดชุมเทศ เป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ประโยชน์ของเห็ดชุมเทศ เป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชุมเห็ดเทศ (Chumhet Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 108.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หน้า 75.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 208.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ชุมเห็ดเทศ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 271-274.
  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [13 มี.ค. 2014].
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 มี.ค. 2014].
  • สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [13 มี.ค. 2014].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 26 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 มี.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [13 มี.ค. 2014].
  • พืชสมุนไพร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/tewpharmacyherb/mean.htm. [13 มี.ค. 2014].
  • หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. “ชุมเห็ดเทศ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 74-75.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย