ทับทิม ผลไม้เพื่อสุขภาพ ต้นทับทิมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม สรรพคุณของทับทิม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต โทษของทับทิมทับทิม สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของทับทิม

ต้นทับทิม ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum L.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทับทิม เช่น พิลา พิลาสี หมากสีลา หมากจัง พิลาขาว มะก่องแก้ว และ มะเก๊าะ เป็นต้น ทับทิม มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย

น้ำทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด บรรเทาอาการโรคไขมันโลหิตสูง โรคโรคหัวใจ ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง สายพันธุ์ของทับทิม สำหรับสายพันธุ์ทับทิมดั้งเดิม สามารถจำแนกสายพันธุ์ทับทิมได้ 3 สายพันธุ์ คือ ทับทิมแดง ( Ahmar ) , ทับทิมแดง ( Asward ) และ ทับทิมแดง ( Halwa )

ทับทิมกับความเชื่อ

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆกับทับทิม เชื่อกันว่า ใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลใช้ในการประกอบพิธีน้ำมนต์ เพื่อคุ้มกันภัย ความเชื่อของชาวจีน นิยมใช้ทับทิมไหว้เจ้า และ บรรพบุรุษ เชื่อว่าทับทิมมีเมล็ดมาก สื่อความหมายถึงการมีลูกชายมากๆ คอยสืบสกุล และ สร้างความเจริญก้าวหน้า

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก อายุยาวนาน มากถึง 100 ปี ทับทิมชอบอากาศหนาวเย็น ชอบพื้นที่สูง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทับทิม มีดังนี้

  • รากทับทิม มีระบบรากแก้วและรากฝอย
  • ลำต้นทับทิม ลักษณะลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่ระดับล่าง ความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นบาง สีเทา เป็นมันเงา เนื้อไม้แข็งและเหนียว กิ่งของทับทิมมีหนามยาว
  • ใบทับทิม ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเรียวยาวปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม และใบเป็นมันวาว
  • ดอกทับทิม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามปลายยอดของกิ่ง กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว ส้ม แดง
  • ผลทับทิม ลักษณะกลม เปลือกของผลหนา ผิวเปลือกเป็นมันวาวและผิวเกลี้ยง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้ม มีรสหวาน รับประทานได้ สามารถนำเมล็ดมาคั้นเป็นน้ำทับทิมได้

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

สำหรับการรับประทานทับทิม นิยมรับประทานผลของเนื้อทับทิม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณคค่าทางโภชนาการของเนื้อทับทิม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 83 กิโลแคลอรี ซึ่งมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม น้ำตาล 13.67 กรัม กากใยอาหาร 4 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

เปลือกของทับทิม มีสารในกลุ่มแทนนินสูงถึงร้อยละ 25 คือ Gallotannin และ Ellagictannin สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ และ ต่อต้านการเจริญเติบโตของมะเร็งได้

สรรพคุณของทับทิม

สำหรับ สรรพคุณของทับทิม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน เช่น เนื้อผลทับทิม เปลือกผลทับทิม ดอกทับทิม รากทับทิม และ ใบทับทิม สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • เนื้อของผลทับทิม สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ป้องกันโรคข้อกระดูกอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เปลือกผลทับทิม เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาแผลติดเชื้อ รักษาแผลหนอง รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก
  • ดอกทับทิม สรรพคณูช่วยห้ามเลือด
  • ลำต้นทับทิม สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ
  • ใบทับทิม สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง รักษารังแค รักษาแผลสด

โทษของทับทิม

สำหรับโทษของทับทิม เนื่องจากทับทิม มีความเป็นพิษที่เปลือกของผล และ ลำต้น การใช้ประโยชน์จากเปลือกและลำต้นของทับทิมต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง โทษของทับทิม มีดังนี้

  • เปลือกทับทิมที่มีสาร gallotannin ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นพิษต่อตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทานเปลือกทับทิม
  • รากทับทิมีความเป็นพิษ การรับประทานรากและลำต้นของทับทิมในปริมาณมากอาจไม่ปลอดภัย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย