ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอม สรรพคุณบำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้างแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocimum × africanum Lour. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นกะเพรา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นแมงลัก เช่น ก้อมก้อข้าว มังลัก อีตู่ เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และเพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหารที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ แหล่งเพาะปลูกแมงลักภายในประเทศไทย สามารถให้ผลผลิตได้เพียง 112 กิโลกรัม ต่อพื้นที่เพียง 148 ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลผลิตต่อไร่ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการปลูกต้นกะเพราและต้นโหระพา เราสามารถพบเห็นต้นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด และ สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ แมงลักสายพันธุ์ศรแดง เป็นสายพันธ์แมงลักที่ใบใหญ่

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก จัดเป็นพืชล้มลุก ในกลุ่มพืชตระกูลเดียวกับต้นกะเพราและต้นโหระพา สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย จากใบแมงลักสดและเมล็ดแมงลัก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียดดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบเฟลวิล 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และโปรตีน 2.9 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย methyl cinnamate , d-camphor และ polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

การใช้ประโยชน์จากต้นแมงลักด้านสมุนไพร เพื่อการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เราใช้ประโยชน์จาก ใบแมงลัก และ เม็ดแมงลัก ซึ่งสรรพคุณของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

ข้อควรระวังการบริโภคเม็ดแมงลัก

เม็ดแมงลักมีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย แต่การรับประทานเม็ดแมงลัก มีข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เนื่องจาก เมล็ดแมงลักจะพองตัวในกระเพาะ ทำให้แน่นท้องมากเกินไป
  • เมล็ดแมงลักหากรับประทานในขณะที่เมล็ดยังพองตัวไม่สุด เมล็ดแมงลักจะดูดน้ำในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ หรือ ภาวะลำไส้อุดตันได้
  • ขณะระหว่างที่รับประทานยา ควรงดการกินเม็ดแมงลัก เนื่องจากเมล็ดแมงลักจะดูดซึมยาที่ใช้รักษาร่างกาย ทำให้ฤทธิ์ของยาไม่มีประสิทธิภาพ
  • หากต้องการลดความอ้วนด้วยการรับประทานเม็ดแมงลัก ควรเป็นมื้อเย็นแทนการรับประทานอาหาร และ ไม่ควรรับประทานทุกมื้อ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • เม็ดแมงลักที่ขายตามท้องตลาด อาจมีเชื้อราปะปน เมื่อนำมารับประทาน อาจทำให้ท้องเสีย และ เป็นพิษต่อร่างกายได้

ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก สมุนไพร นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอมช่วยดับคาวอาหารได้ สรรพคุณของแมงลัก เช่น บำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ทับทิม ผลไม้เพื่อสุขภาพ ต้นทับทิมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม สรรพคุณของทับทิม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต โทษของทับทิมทับทิม สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของทับทิม

ต้นทับทิม ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum L.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทับทิม เช่น พิลา พิลาสี หมากสีลา หมากจัง พิลาขาว มะก่องแก้ว และ มะเก๊าะ เป็นต้น ทับทิม มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย

น้ำทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด บรรเทาอาการโรคไขมันโลหิตสูง โรคโรคหัวใจ ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง สายพันธุ์ของทับทิม สำหรับสายพันธุ์ทับทิมดั้งเดิม สามารถจำแนกสายพันธุ์ทับทิมได้ 3 สายพันธุ์ คือ ทับทิมแดง ( Ahmar ) , ทับทิมแดง ( Asward ) และ ทับทิมแดง ( Halwa )

ทับทิมกับความเชื่อ

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆกับทับทิม เชื่อกันว่า ใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลใช้ในการประกอบพิธีน้ำมนต์ เพื่อคุ้มกันภัย ความเชื่อของชาวจีน นิยมใช้ทับทิมไหว้เจ้า และ บรรพบุรุษ เชื่อว่าทับทิมมีเมล็ดมาก สื่อความหมายถึงการมีลูกชายมากๆ คอยสืบสกุล และ สร้างความเจริญก้าวหน้า

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก อายุยาวนาน มากถึง 100 ปี ทับทิมชอบอากาศหนาวเย็น ชอบพื้นที่สูง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทับทิม มีดังนี้

  • รากทับทิม มีระบบรากแก้วและรากฝอย
  • ลำต้นทับทิม ลักษณะลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่ระดับล่าง ความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นบาง สีเทา เป็นมันเงา เนื้อไม้แข็งและเหนียว กิ่งของทับทิมมีหนามยาว
  • ใบทับทิม ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเรียวยาวปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม และใบเป็นมันวาว
  • ดอกทับทิม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามปลายยอดของกิ่ง กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว ส้ม แดง
  • ผลทับทิม ลักษณะกลม เปลือกของผลหนา ผิวเปลือกเป็นมันวาวและผิวเกลี้ยง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้ม มีรสหวาน รับประทานได้ สามารถนำเมล็ดมาคั้นเป็นน้ำทับทิมได้

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

สำหรับการรับประทานทับทิม นิยมรับประทานผลของเนื้อทับทิม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณคค่าทางโภชนาการของเนื้อทับทิม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 83 กิโลแคลอรี ซึ่งมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม น้ำตาล 13.67 กรัม กากใยอาหาร 4 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

เปลือกของทับทิม มีสารในกลุ่มแทนนินสูงถึงร้อยละ 25 คือ Gallotannin และ Ellagictannin สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ และ ต่อต้านการเจริญเติบโตของมะเร็งได้

สรรพคุณของทับทิม

สำหรับ สรรพคุณของทับทิม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน เช่น เนื้อผลทับทิม เปลือกผลทับทิม ดอกทับทิม รากทับทิม และ ใบทับทิม สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • เนื้อของผลทับทิม สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ป้องกันโรคข้อกระดูกอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เปลือกผลทับทิม เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาแผลติดเชื้อ รักษาแผลหนอง รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก
  • ดอกทับทิม สรรพคณูช่วยห้ามเลือด
  • ลำต้นทับทิม สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ
  • ใบทับทิม สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง รักษารังแค รักษาแผลสด

โทษของทับทิม

สำหรับโทษของทับทิม เนื่องจากทับทิม มีความเป็นพิษที่เปลือกของผล และ ลำต้น การใช้ประโยชน์จากเปลือกและลำต้นของทับทิมต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง โทษของทับทิม มีดังนี้

  • เปลือกทับทิมที่มีสาร gallotannin ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นพิษต่อตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทานเปลือกทับทิม
  • รากทับทิมีความเป็นพิษ การรับประทานรากและลำต้นของทับทิมในปริมาณมากอาจไม่ปลอดภัย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย