ข่อย กิ่งข่อยในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ต้นข่อยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้างข่อย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นข่อย ( Tooth brush tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่อย คือ Streblus asper Lour. ชื่อเรียกอื่นๆของข่อย เช่น ตองขะแหน่  , ส้มพอ  , ซะโยเส่ , กักไม้ฝอย , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ต้นข่อย เป็น พืชตระกูลเดียวกับขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น นำมาใช้เป็นไม้ประดับ ยารักษาโรค และ ของใช้ต่างๆ ปัจจุบันข่อยนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม และ ไทย การขยายพันธ์ข่อยใช้การปักชำ การทาบกิ่ง ลักษณะของต้นข่อย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นข่อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 5 ถึง 15 เมตร เปลือกข่อยสีเทานวล ต้นข่อยเป็นทรงพุ่ม มีกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นข่อยมีน้ำยาง น้ำยางสีขาว
  • ใบข่อย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งอ่อน ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน ใบมีขนอ่อนปกคลุม ขอบใบเป็นรอยหยัก
  • ดอกข่อย ดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกลักษณะกลม สีเหลืองแกมเขียว
  • ผลข่อย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลข่อยเหมือนไข่ สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อด้านในผลมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายพริกไทย

สรรพคุณของข่อย

ต้นข่อย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เปลือกข่อย กิ่งข่อย ผลข่อย เมล็ดข่อย และ รากข่อย สรรพคุณของข่อยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกข่อย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง รักษาไซนัส มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ใช้รักษาแผล รักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาสีฟัน รักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • เนื้อไม้ข่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเหงือกอักเสบ รักษาแผลสด แผลติดเชื้อ
  • ใบข่อย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ดอกข่อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ผลข่อย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
  • เมล็ดข่อย สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร
  • รากข่อย สรรพคุณรักษาโรคบ้าหมู รักษาบาดแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง

โทษของข่อย

สำหรับ โทษของข่อย การนำข่อยมาปรุงยาเพื่อรับประทาน ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และ ไม่ควรรับประทานอย่างต่อนเนื่อง เพราะ ข่อยความเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และ ความดันโลหิต

ข่อย คือ พืชพื้นเมือง กิ่งข่อย ในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ลักษณะของต้นข่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย เช่น บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

แตงกวา นิยมบริโภคผลแตงกวาเป็นอาหาร ต้นแตงกวาเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหายน้ำ โทษของแตงกวามีอะไรบ้าง คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาแตกวา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแตงกวา ( Cucumber ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Cucumis sativus L. ชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา คือ แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน เป็นต้น ต้นแตงกวา เป็นพืชเศรษฐกิจ ผลแตงกวา นิยมนำมารับปรทานผลสดอย่างแพร่หลาย ถิ่นกำเนิดของแตงกวามาจากประเทศอินเดีย เป็นพืชปลูกง่าย ให้ผลเร็ว การเก็บรักษาง่าย

แตงกวาในประเทศไทย

สำหรับ แตงกวาในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกแตงกวาเชิงพาณิชย์มากมาก สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยข้อมูลพื้นที่ปลูกแตงกวาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2542-2543 มีพื้นที่ปลูกแตงกวา ประมาณ 123,163 ไร่ และ การส่งออกแตงกวา พบว่ามีการส่งออกผลสด และ เมล็ดพันธ์แตงกวา ในปี พศ 2541 มีการส่งออก ผลแตงกวาสด 25 เมตริกตัน มูลค่า 2.10 ล้านบาท และส่งออกเมล็ดพันธุ์แตงกวา 27.06 ล้านตัน มูลค่า 82.88 ล้านบาท และ การมีการนำเข้าแตงกวา 3.88 ตัน มูลค่า 4.87 ล้านบาท ปัจจุบัน แตงกวา เป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา เป็นพืชล้มลุก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ใช้เวลา 60 วันก็สามารถเก็บผลแตงกวารับประทานได้แล้ว การขยายพันธ์แตงกวาใช้ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นแตงกวา ลักษณะเป็นเถา ลำต้นยาว เลื้อยตามหลักหรือพื้น ความยาวของลำต้นประมาณ 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว อวบน้ำ มีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ใบแตงกวา เป็นใบเดียว ออกมาตามข้อของลำต้น ปลายใบแหลม มีขนหยาบทั่วใบ
  • ดอกแตงกวา ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบ ดอกแตงกวามีสีเหลือง
  • ผลแตงกวา เจริญเติบโตมาจากดอกแตงกวา ลักษณะกลมยาว สีเขียว ภายในอวบน้ำ มีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดแตงกวา อยู่ในผลแตงกวา ลักษณะทรงรีปลายเมล็ดแหลม สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับการศึกษาคุณประโยชน์ทางโภชนาการของแตงกวา นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลแตงกวา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม น้ำตาล 1.67 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม โปรตีน 0.65 กรัม น้ำ 95.23 กรัม วิตามินบี1 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.033 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.098 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.259 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี9 7 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม

ในแตงกวา มีแร่ธาตุสำคัญชื่อ ” ซิลิกา ” คือ แร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และ เส้นเอ็น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับประโยชน์ของแตงกวา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นแตงกวา ตั้งแต่ ผลสด ใบ เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลแตงกวา สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวพรรณเรียบตึง ทำให้ผิวพรรณอ่อนนุ่ม เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟไหม้ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ลำตันแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดท้อง รักษาหนองใน ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการรับประทานแตงกวา มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือ บริโภคอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดโทษได้ โดยโทษของแตงกวา มีรายละเอียด ดังนี้

  • การปลูกแตงกวาเชิงพาณิชย์ มีการใช้สารเคมีบางชนิด เพื่อป้องกันการกัดทำลายจากศัตรูพืช ดังนั้น การนำแตงกวามารับประทานต้องทำความสะอาดให้สารตกค้างในแตงกวาเจือจางลง
  • แตงกวามีกรดยูริกสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรทานแตงกวาในปริมาณมากเกินไป

แตงกวา ผักสวนครัว นิยมบริโภคผลแตงกวา เป็นอาหาร ลักษณะของต้นแตงกวาเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของแตงกวา เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหายน้ำ โทษของแตงกวามีอะไรบ้าง คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย