ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมรับประทานเมล็ดถั่วแดงเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วแดง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแดง สรรพคุณป้องกันท้องผูก ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของถั่วแดงถั่วแดง ธัญพืช สมุนไพร สรรพคุณถั่วแดง

ต้นถั่วแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วแดง คือ Phasecolus vulgaris L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น เมล็ดของถัวแดง นั้นจริงๆมีหลายสี เช้น สีแดงเข้ม สีแดงม่วง และ สีชมพู ซึ่งสำหรับสายพันธืถั่วแดงนิยมปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ถั่วแดงหลวง และ ถั่วนิ้วนางแดง

ถั่วแดงในประเทศไทย

สำหรับถั่วแดงในประเทศไทย มีการส่งเสริมให้ปลูกโดยโครงการหลวง ซึ่งนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัศนี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกเป็นพืชทดแทนฝิ่น ต่อมามีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงขึ้นมาเองได้สำเร็จ คือ ถั่วแดงสายพันธ์หมอกจ๋าม จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธ์ถั่วแดงเรื่อยมา จนได้สายพันธ์ที่สามารถปลูกและ เป็นที่นิยมถึงทุกวันนี้ คือ ถั่วแดงพันธ์นิ้วนางแดง และ ถั่วแดงหลวง

สายพันธ์ถั่วแดงที่นิยมปลูกในประเทศไทย

จากการส่งเสริมและพัฒนาถั่วแดง โดยโครงการหลวง จึงได้สายพันธ์ถั่วแดงที่นิยมปลูกในประเทศไทย ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ถั่วนิ้วนางแดง และ ถั่วแดงหลวง ถั่วแดงหลวงเป็นสายพันธืที่นิยมปลูกมากที่สุด รายละเอียดของชนิดของถั่วแดง มีดังนี้

  • ถั่วนิ้วนางแดง เดิมทีเรียกว่าถั่วแดงซีลอน เป็นถั่วแดงสายพันธ์ที่ไวต่อแสง นิยมปลูกแซมตามแปลงพืชต่างๆ เช่น แปลงข้าวโพด ถั่วนิ้วนางแดง สามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้จำนวนมาก โดยมีตลาดสำคัญ คือ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ แหล่งปลูกถั่วนิ้วนางแดงที่สำคัญ คือ อำเภอวังสะพังและอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
  • ถั่วแดงหลวง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในปัจจุบัน ถั่วแดงหลวงมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และต่อมาสามารถแพร่กระจายไปสู่อเมริกากลาง แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และ เอเชีย

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี นิยมรับประทานเมล็ดของถั่วแดงเป็นอาหาร สำหรับการปลูกถั่วแดง สามารถปลูกได้ดีบนที่สูง อุณหภูมิช่วง 19 – 23 องศาเซลเซียส ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วแดง มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นพุ่มเตี้ยๆ ความสูงของลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร
  • ใบถั่วแดง เป็นใบประกอบเรียงกันตามข้อกิ่ง ใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีขนอ่อนๆปกคลุม ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกถั่วแดง ลักษณะเป็นช่อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกออกตากซอกใบ
  • ฝักและเมล็ดถั่วแดง ลักษณะฝักเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ความยาวของฝักประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักถั่วแดงมีเมล็ด เมล็ดอ่อนจะมีสีขาว เมล็ดแก่จะเป็นสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแดง

สำหรับถั่วแดงนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วแดงเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 337 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม กากใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม

สรรพคุณถั่วแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของเมล็ดถั่วแดง มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และ ป้องกันท้องผูก ช่วยกำจัดสารตกค้างที่สะสมในระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ป้องกันอาการชา รักษาอาการชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า
  • ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
  • บำรุงข้อและกระดูก บรรเทาอาการปวดตามข้อ ลดอาการอักเสบ
  • ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

โทษของถั่วแดง

สำหรับการรับประทานถั่วแดง เพื่อการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ไม่ควรรัประทานถั่วแดง เนื่องจากอาจกระตุ้นห้อาการข้ออักเสบกำเริบ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย