ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง ต้นถั่วเหลืองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของถั่วเหลืองถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว สรรพคุณของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก Soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง คือ Glycine max (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง เช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง เถ๊าะหน่อ ตบยั่ง อาทรึ่ม โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า และ เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

ถั่วเหลืองได้รับฉายาว่า ราชาแห่งถั่ว จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดของโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ ประเทศบราซิลและจีน การปลูกถั่วเหลืองแพร่หลายในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ถั่วเหลืองในประเทศไทย

การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการปลูกครั้งแรกเมื่อใด สันนิษฐานว่ามาจากชาวจีนที่มาอาศัยหรือค้าขายในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกถั่วเหลืองทั่วไป และ ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ถั่วเหลือง จสมีถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก มีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ เช่น สจ.4 สจ.5 สุโขทัย1 สุโขทัย2 สุโขทัย3 นครสวรรค์1 เชียงใหม่60 เชียงใหม่2 เชียงใหม่3 เชียงใหม่4

สำหรับสายพันธ์ถั่วเหลืองที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ สายพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่60 ประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองประมาณ 60-110 วัน

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

สำหรับต้นถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ต้นถั่วเหลือง มี 2 ประเภท คือ ถั่วเหลืองชนิดทอดยอด และ ถั่วเหลืองชนิดไม่ทอดยอด ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีดังนี้

  • ลำต้นต้นถั่วเหลือง ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่ม กิ่งก้านแตกแขนง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
  • ใบถั่วเหลือง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นนรูปไข่เรียวยาว ใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วใบ
  • ดอกถั่วเหลือง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นกระจะ สีขาว กับ สีม่วง ดอกออกตามก้านใบและยอดของลำต้น กลีบดอกมีขนปกคลุม
  • ฝักถั่วเหลือง ฝักออกเป็นกลุ่มๆ ลักษณะยาวกลม ฝักมีขนสีเทาปกคลุมทั่วฝัก ฝักยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ดฝักอ่อนสีเขียว ฝักสุกสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเหลือง อยู่ภายในฝักถั่วเหลือง เมล็ดลักษณะกลมรี ผิวเรียบ เมล็ดมีหลายสี เช่น เหลือง เขียว น้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วเหลือง สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง นักโภชนาการได้ศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัม น้ำตาล 7.33 กรัม กากใยอาหาร 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเหลือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นถั่วเหลือง สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือกเมล็ด กากเมล็ด เมล็ด ใบ และ ดอก สรรพคุณของถั่วเหลือง มีดังนี้

  • เปลือกเมล็ด สรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด แก้ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย ลดอาการเหงื่อออก
  • กากเมล็ด สรรพคุณช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
  • ใบถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษางูกัด
  • ดอกถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก รักษาต้อกระจก
  • เมล็ดถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงโรคความดัน ลดคอเรสเตอรัล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ช่วยขับรอน ช่วยถอนพิษ รักษาโรคโลหิตจาง รักษาตานขโมย กระตุ้นกระเพาะอาหาร แก้โรคบิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ปรับสมดุลย์ออร์โมนเพศหญิง แก้ปวดตามข้อกระดูก

โทษของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลือง มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเหลือง ดังนี้

  • สำหรับบางคนพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง เช่น เกิดผื่นคันหลังจากรับประทานถั่วเหลือง หากพบอาการผิดปรกติ ให้หยุดรับประทานทันที
  • ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก แน่นท้องได้
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โดยหากพบอาการ เช่น เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วนง่าย ให้หยุดการรับประทานถั่วเหลือง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักคะน้า พืชสวนครัวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สารอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน ต้นคะน้าเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักค้าน้า เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ โทษของผักคะน้าผักคะน้า พืชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของคะน้า

ต้นคะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kai-Lan พืชตระกูลผักกาด ชื่อวิทยาศาสตร์ของคะน้า คือ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นที่นิยมเพาะปลูกในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย

สายพันธ์ผักคะน้า

ผักคะน้า สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สายพันธุ์ผัคะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม และ ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน รายละเอียด ดังนี้

  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ลักษณะใบใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่น สายพันธ์ใบกลม คือ คะน้าพันธุ์ฝาง 1
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ข้อห่าง คือ คะน้าพันธุ์ P.L.20
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ จำนวนใบต่อต้นน้อย คือ คะน้าพันธุ์แม่โจ้ 2

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ต้นคะน้า เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นคะน้า มีดังนี้

  • รากผักคะน้า มีรากแก้วขนาด สีขาว ลึกลงดินประมาณ 10 เซ็นติเมตร และมีรากฝอยอ่อนตามรากแก้ว
  • ลำต้นผักคะน้า ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบผักคะน้า ใบมีขนาดใหญ่ ใบกลม ผิวใบเป็นคลืน และเป็นมัน ใบสีเขียว
  • ดอกผักคะน้า ดอกผักคะน้าจะแทงออกจากปลายยอด จะออกดอกเมื่อต้นแก่ ดอกคะน้าจะมีเมล็ด ซึ่งสามารถนำไปขยาายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า

สำหรับผักคะน้า นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถกินได้ทั้งต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม และ การใยอาหาร 3.2 กรัม

สารสำคัญในผักคะน้า คือ สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารนี้หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ดูดซับไอโอดีนทำให้เป็นโรคคอพอก และ สามารถยับยั้งการสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์

สรรพคุณของผักคะน้า

สำหรับประโยชน์ของผักคะน้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากทั้งต้นผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  • บำรุงสายตา ช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจก ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงระบประสาทและสมอง ลดอาการปวดหัว ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการโดยกำเนิด
  • ช่วยระบาย ป้องกันโรคท้องผูก
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้

โทษของผักคะน้า

สำหรับโทษของผักคะน้า นั้น เนื่องจากผักคะน้ามี สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) หากกินติดต่อกันเป็นเวลานาน และ กินในปริมาณที่มาก ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์

คะน้า เป็น ผักใบเขียว หาซื้อง่าย ราคาถูก แต่ต้องระวังสารพิษเจือปนจากยาฆ่าแมลงจากการปลูก ก่อนนำมารับประทานควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย