ตะลิงปลิง สมุนไพร รสเปรี้ยว ต้นตะลิงปลิงเป็นอย่างไร สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก บำรุงระบบประสาท โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ เรียก  Bilimbi ชื่อวิทยาศาตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อนและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ซึ่งตะลิงปลิงนิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผลตะลิงปลิงเป็นอาหาร

ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใช้เป็นอาหารรับประทานยามว่าง นำมาจิ้มพริกเกลือรับประทาน หรือ ทำมาเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทแกง จะให้รสเปรี้ยว เพิ่มความอร่อย หากนพมาตากแห้ง สามารถใช้ทำชา ชงเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย บำรุงร่างกาย ส่วนใบและราก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์รักษาสิว ใช้พอกหน้า ทำให้หน้าใส

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง 

ต้นตะลิงปลิง เป็นพันธ์ไม้ขนาดเล็กในประเทศเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในลุ่มแม่น้ำอะเมซอลของประเทศบราซิล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลำต้นมัขนาดเล็ก ความสูงของต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อน ใบมีขุยนุ่มปกคลุม ลักษณะรูปใบคล้ายรูปหอก ใบเป็นมัน ปลายใบแหลม
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีช่อหลายๆช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกสีแดงเข้ม
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผิวของผลเรียบ สีเขียว และผลสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลืองและมีรสเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

การบริโภคตะลิงปลิงเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลของตะลิงปลิง ซึ่งผลตะลิงปลิงให้รสเปรี้ยว โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปิง มีสรรพคุณมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบขับพิษ ระบบภูมิคุ้มกัน สรรพคุณต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงระบบย่อยอาหาร ทำให้รับประทานได้มากขึ้น เจริญอาหาร
  • แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษ ช่วยดับกระหายจากการเสียน้ำ จากอาการร้อน
  • ช่วยขับเหงื่อ โดยผสมกับพริกไทย รับประทาน
  • ฟอกโลหิตโดยการรับประทานผลตะลิงปลิง
  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย
  • สามารถใช้รักษาคางทูม โดยใช้ใบนำมาพอก
  • ใช้ผลมาทำเป็นยาลดไข้ได้
  • กรณีมีไข้ขึ้น สามารถใช้รากของตะลิงปลิงมาดับพิษร้อนของไข้ได้ดี
  • นำดอก และ ผล มาใช้ชงเป็นชาดื่ม สามารถช่วยแก้อาการไอ อาการคันคอ อาการเคืองคอ ได้ดี
  • นำผลมาใช้เป็นยาละลายเสมหะ ยาแก้เสมหะเหนียวข้น ยาแก้น้ำลายเหียว ทำให้ชุ่มคอได้ดี
  • นำผล และราก มาทำเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนได้ดี
  • ใช้รากแก้อาการเลือดออก ที่กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ กรณีเกิดการอักเสบ จนแสบร้อนท้อง
  • ใช้รากรักษาอาการอักเสบของลำไส้ แสบลำไส้ ปวดท้อง ปวดลำไส้
  • รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส
  • ลดอาการปวดจากโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้อาการปวดลดลง ขณะอุจจาระ
  • ลดอาการปวดมดลูก โดยใช้ผลของตะลิงปลิง
  • ในผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถใช้ส่วนราก บรรเทาอาการปวดของโรคเกาต์ ปวดตามข้อต่างๆ ลดการสะสมของผลึกยูริกได้ดี
  • ใช้รักษาโรครูมาตอยด์ อาการข้อปวด ปุ่มรูมาตอยด์ โดยใช้ส่วนใมาทำเป็นยา
  • ใช้ผลหรือราก เพื่อใช้สมานแผล ใช้ลดการไหลของเลือด
  • ใช้ใบลดอาการแพ้ อาการคัน อาการบวมแดง โดยนำใบมาต้มอาบ
  • สรรพคุณลดระดับน้ำตาลและไขมัน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
  • ผลของน้ำตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ดี

สูตรน้ำตะลิงปลิง นำตะลิงปลิงประมาณครึ่งกิโลกรัม มาล้างให้สะอาด ตากแห้งเพื่อที่จะสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ต้มน้ำตาล 2 ถ้วย โดยเติมน้ำประมาณ 3 ถ้วยครึ่ง นำตะลิงปลิงเข้าเครื่องปั่นรวมกับน้ำเชื่อม แต่อย่าให้ล้น ปั่นรวมกัน กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเฉพาะน้ำ นำมาดื่มโดยเติมเกลือ เติมน้ำเปล่า ตามชอบ

โทษของตะลิงปลิง

เนื่องจากตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การกินอาหารที่มีเปรี้ยวจัด อาจส่งเสียกระทบต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะละกอ พืชท้องถิ่น สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงผิวพรรณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของมะละกอมีอะไรบ้างมะละกอ สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะละกอ

ต้นมะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L. สำหรับชื่อเรียกอื่ืนๆของมะละกอ เช่น ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ และ บักหุ่ง เป็นต้น ต้นมะละกอ มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอล ปัจจุบันมะละกอมีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำดำเนิน มะละกอแขกหลอด มะละกอปากช่อง มะละกอแขกนวล มะละกอสายน้ำผึ้ง มะละกอจำปาดะ มะละกอโซโล มะละกอฮอลแลนด์ เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลักๆนำผลมะละกอมาทำเป็นอาหารรับประทาน รับประทานผลมะละกอดิบ เช่น แกงส้ม ส้มตำ ส่วนผลมะละกอสุกใช้เป็นอาหารยามว่าง รับประทานเป็นผลไม้ รสหวานอร่อย ผลมะละกอช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอกจากนั้นผลมะละกอนำมาแปรรูปอาหารในรูปแบบสินค้าอุตสาหกรรม เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น ยางมะละกอ มีเอนไซม์ชื่อPapain ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยโปรตีนได้ และที่สำคัญ มะละกอนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ มาร์กหน้า เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถปลูกได้ในดินทุกสภาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

คุณค่าทางอาหารของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก นักโภชนาการได้ศุกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

ยางมะละกอ มีเอนไซม์โปรตีน 4 ชนิด คือ papain , chymopapain A และ B และ papaya peptidase A  โดย เอนไซม์ chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ ทนความร้อนและทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ดี ทำให้เนื้อมีความนุ่ม เอนไซม์ในยางมะละกอส่วนมากพบที่ใบก้านและผลดิบ

สรรพคุณของมะละกอ

สำหรับมะละกอนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะละกอ ยางมะระกอ และ รากมะละกอ สรรพคุณของมะละกอ มีดังนี้

  • ผลมะละกอดิบ สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงน้ำนม ช่วยขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ช่วยขับพยาธิ
  • ผลมะละกอสุก สรรพคุณแก้ท้องผูก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับถ่ายพยาธิ
  • รากของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

โทษของมะละกอ

สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน มีความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรระวังการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของยางมะละกอ
  • ผลมะละกอสุกมีความหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ใยบางคน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย