ผักกระเฉด นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร วิตามินและแร่ธาตุสูง สมุนไพร สรรพคุณของผักกระเฉด บำรุงสายตา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย แก้ปวดเมื้อย ป้องกันโรคท้องผูกผักกระเฉด ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักกระเฉด

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักกระเฉด คือ Neptunia oleracea Lour. สำหรับชื่อเรียกตามท้องถิ่นของผักกระเฉด เช่น ผักรู้นอน ผักกระเสดน้ำ ผักหนอง ผักหละหนอง ผักฉีด เป็นต้น พืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นปล้อง ใบคล้ายใบต้นกระถิน โดยในเวลากลางคืน ใบจะสามารถหุบได้ มีลำต้นลอยน้ำสีขาว เรียกว่านมผัก ผยุงให้ลอยน้ำได้ มีรากงอกออกมา เรียกหนวด มีดอกขนาดเล็กสีเลือง มีผักภายในมีเมล็ด ประมาณ 10 เมล็ด

ประโยชน์ของผักกระเฉด นิยมใช้ในการประกอบอาหารโดยเฉพาะประเภทยำ เนื่องจากเป็นการเพิ่มสีสรร สร้างเนื้อสัมผัสกรอบ กลิ่นหอม เมนูที่นิยม ได้แก่ ผักกระเฉดทอดไข่สามรส ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด  ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย  แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง  ผัดหมี่กระเฉดผัดผักกระเฉดไฟแดง เป็นต้น

เคล็ดลับความอร่อยของผักกระเฉด การใช้ผักกระเฉดประกอบอาหาร มีเคล็ดลับ คือ เลือกซื้อผักกระเฉดที่มียอดอ่อน เนื่องจากหากแก่มากไปจะเหนียวและเหม็ยเขียวได้ ยอดอ่อนจะมีความกรอบและอร่อยมากกว่าผักกระเฉดแก่มาก นิยมนำมาต้มก่อนนำไปประกอบอาหาร โดยควรใส่เกลือลงไปในน้ำเล็กน้อย ไม่ควรลวกนานเกินไป เพราะจะทำให้ผักกระเฉดเหนียวไม่อร่อย เมื่อลวกแล้วใส่ลงไปในน้ำเย็นทันที อาจจะใช้น้ำแข็งช่วยโปะ ทำให้ผักกระเฉดกรอบ นุ่มคงรสชาติอร่อยได้ดี

ผักกระเฉดในประเทศไทย

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่

ลักษณะของผักกระเฉด

ผักกระเฉด เป็นพืชล้มลุก พืชน้ำ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำขัง ผักกระเฉดไม่สามารถปลูกในดินที่ไม่มีน้ำขังได้ ผักกระเฉด ไวต่อแสง จะแทงยอดมากในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ลักษณะของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ลำต้นของผักกระเฉด ลักษณะลำต้นเลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นกลม เป็นปล้อง สีเขียว ภายในลำตันไม่เป็นรูกลวง มีนวมสีขาวหุ้มลำต้นให้ลอยน้ำ นวมสีขาว เรียก นม
  • รากของผักกระเฉด เป็นรากฝอยออกรากตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักกระเฉด ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามปลายยอดของผักกระเฉด ใบจะรีเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวใบอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกผักกระเฉด ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง คล้ายดอกกระถิน ดอกออกตามปลายยอดของผักกระเฉด
  • ผลของผักกระเฉด ลักษณะเป็นฝัก ขนาดเล็ก ฝักแบนยาว ภายในฝักมีเมล็ด

สรรพคุณของผักกระเฉด 

ผักกระเฉดมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ธาตุแคลเซียม (Ca) สูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย (Fiber) ธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุฟอสฟอรัส (P) วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงร่างกาย และช่วยขับสารพิษที่ตับได้ดี
  • รักษาอาการปวดศีรษะ วินเวียนศีรษะ
  • ผักกระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อนได้ เช่น อาการไข้สูง หรือ ตัวร้อน บรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี
  • สรรพคุณช่วยแก้พิษไข้ เมื่อรับประทานผักกระเฉดจะช่วยลดพิษได้ดี
  • บรรเทาอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ เช่น อาการปวดฟัน อาการปวดเมื้อยตามตัว อาการปวดหลัง
  • ช่วยขับเสมหะ ลดอาการได ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ลดลมในกระเพาะ ลดอาการท้องอืด ท้องเฝ้อ
  • รักษาโรคกามโรค อาการคันในร่มผ้า
  • ลดอาการปวดแสบปวดร้อน จากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใช้ถอนพิษเมื่อได้รับสารพิษ หรือเมื่อเกิดอาการเมาเมื่อได้รับสารพิษ
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ระบบการมองเห็นเนื่องจากผักกระเฉดมีวิตามินเอสูง
  • บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะในผักกระเฉดมีแคลเซียมสูง
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงให้เป็นปกติ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้ดี เนื่องจากมีธาตุเหล็กสูง
  • สามารถช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้ดี เนื่องจากมีไฟเบอร์หรือกากใยสูง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ปรับสมดุลร่างกายให้ปกติ ลดธาตุไฟลดความร้อนในร่างกาย

ข้อควรระวังการรับประทานผักกระเฉด 

ผักกระเฉด พบได้ตามแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้อาจจะมีการเข้าไปปะปนของพยาธิ สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลิงน้ำ ซึ่งไข่สามารถทนความร้อนได้มาก แม้จะทำให้สุกก่อนรับประทาน ดังนั้น ควรล้างให้สะอาด และต้มให้สุกด้วยความร้อนก่อนรับประทาน นอกจากนั้น ในแหล่งน้ำใกล้เขตการเกษตร อาจจะมีสารเคมีการเกษตรปะปนได้ การรับประทานควรแน่ใจเรื่องความสะอาด และความร้อนที่พอเพียงในการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทยำที่นิยมใส่ผักกระเฉด แต่การประกอบอาหารแค่ลวดพอสุกเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอต่อสุขอนามัย

ผักกระเฉด ผักสวนครัว นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุสูง พืชสมุนไพรมีประโยชน์ สรรพคุณของผักกระเฉด ้เช่น บำรุงสายตา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย แก้ปวดเมื้อย ป้องกันโรคท้องผูก

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักไชยา หรือ คะน้าเม็กกซิโก พืชสารพัดประโยชน์ ฉายา ต้นผงชูรส สรรพคุณบำรุงร่างกาย ธาตุเหล็กสูง ลดโอกาสการเกิดโรคโลหิตจาง ประโยชน์และโทษของผักไชยา มีอะไรบ้างผักชายา ผักไชยา ต้นผงูรส คะน้าเม็กซิโก

ต้นชายา ภาษาอังกฤษ เรียก Chaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชในตระกูลยางพารา ( Euphorbiaceae ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น คะน้าเม็กซิกัน ผักชายา ต้นมะละกอกินใบ ต้นผงชูรส เป็นต้น ต้นไชยา ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง  ผักไชยา เมื่อนำมาตากแห้งป่นเป็นผง สามารถใช้ปรุงรสอาหาร เหมือน ผงชูรส เป็นสมุนไพรไม้พุ่มโตง่าย สามารถแตกยอดได้สูงสุดถึง 6 เมตร มีน้ำยางสีขาว

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ ต้นคะน้าเม็กซิโก ใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

คะน้าเม็กซิโก หรือ ผักไชยา ไม่ใช้พืชท้องถิ่นของไทย แต่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา   

การรับประทานผักไชยาจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะ มีโปรตีนสำคัญ มีวิตามินต่างๆ ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุอาหารรอง มี ธาตุเหล็ก มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ทำให้ผู้รับประทานดูอ่อนกว่าวัย และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 421 มิลลิกรัม มากกว่าผักทั่วไปอื่นๆ หลายเท่า จึงนิยมรับประทานมากในคนที่กินมังสวิรัติ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง และรสชาติอร่อย

สารสำคัญที่พบในผักไชยา เป็นสารในกลุ่ม flavonoids และ phenolic acids นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม saponins และ alkaloids ด้วย ซึ่งการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าผักไยามีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด

สรรพคุณผักไชยา

สำหรับการมช้ประโยชน์จากผักไชยา นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว สามารถใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • บำรุงร่างกายทำให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่าดูอ่อนกว่าวัย เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • บำรุงโลหิต โดยช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ โดยลดไขมันเลือด เพิ่มเม็ดเลือดแดง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคโลหิตจาง
  • บำรุงระบบขับถ่ายโดย ช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเกิดโรคท้องอืดท้องเฝ้อ บำรุงการทำงานของไต ให้ขับของเหลวออกจากร่างกายได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • ลดน้ำหนัก โดยลดน้ำตาลในเลือดเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดการกินโซเดียมมากเกินไปจากผงชูรส ปรับสมดุลการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย
  • บำรุงระบบประสาท ลดอาการปวดศีรษะ อาการชาที่ปลายประสาท บำรุงสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • รักษาอาการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย และลดอาการอักเสบ เช่น อาการติดเชื้อในปอด ปวดตามข้อต่างๆ เส้นเลือดอักเสบ
  • ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น โดยลดอาการไอ บำรุงปอด
  • ผักไชยามีธาตุแคลเซียมสูงมาก จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะ ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และยังมีวิตามินต่างๆอีกด้วย
  • ทำให้การมองเห็นดีขึ้น เพราะ มีวิตามินสำคัญที่บำรุงสายตา ลดการเสื่อมของประสาทรับภาพ

โทษของผักไชยา

เนื่องจากต้นไชยามีสารกลูโคไซด์ ซึ่งจะปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ การรับประทานผักไชยาเป็นอาหาร ต้องปรุงให้สุก เพื่อลดความเป็นพิษของไซยาไนด์ และ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษไซยาไนด์ จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย