อะโวคาโด้ ลูกเนย ผลไม้ต่างแดน ราคาสูง สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงระบบเลือด ลดไขมัน บำรุงผิวพรรณ สามารถใช้แทนเนยได้ นิยมใช้ลดน้ำหนัก โทษของอะโวาโด้ มีอะไรบ้างอโวคาโด้ สมุนไพร ผลไม้ สรรพุคณของอะโวคาโด้

ต้นอโวคาโด้ ภาษาอังกฤษ เรียก Avocado ชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโวคาโด้ คือ Persea americana Mill สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอะโวคาโด้ เช่น ลูกเนย ต้นอโวคาโด้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ต้นอโวคาโด้ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ต่อมาจึงแพร่หลายในทุกภาคของประเทศไทย

สายพันธ์อะโวคาโด้

สำหรับต้นอะโวคาโด้ที่ได้รับความนิยม มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก โดยราบละเอียด มีดังนี้

  • สายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะเด่น คือ ผลสีเขียว ขั้วของผลจะขรุขระ เมล็ดค่อนข้างกลม เนื้อหนา ให้ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง ซึ่งสายพันธ์กัวเตมาลา เช่น พันธุ์แฮส (Hass) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)
  • สายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะเด่น คือ ผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา รสหวานอ่อนๆ ให้ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน ซึ่งสายพันธ์อินดีสตะวันตก เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)
  • สายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะเด่น คือ ผลเล็ก ผิวเรียบ สีม่วง เปลือกบาง เมล็ดใหญ่ ให้ไขมันมาก ทนอากาศเย็นได้ดี

ประโยชน์ของอะโวคาโด้ สามารถรับประทานเป็นผลไม้สด ทำให้อิ่มท้อง ใช้เป็นอาหารลดน้ำหนักได้ดี สกัดนำน้ำมันจากอะโวคาโด้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น เพื่อการบริโภค นำมาเป็นส่วนผสมในครีมบำรุงผิว และ นำมาเป็นส่วนผสมของแชมพูบำรุงเส้นผม

ลักษณะของต้นอะโวคาโด้

ต้นอะโวคาโด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นอะโวลาโด้ มีดังนี้

  • ลำต้นอะโวคาโด เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ความสูงประมาณ 20 เมตร
  • ใบอะโวคาโด ลักษณะใบใหญ่รียาว สากมือ ใบสีเขียวสด
  • ดอกอะโวคาโด ออกดอกเป็นช่อออกดอกที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก ดอกมีสีเขียวอมเหลือง
  • ผลอะโวคาโด ลักษณะกลมรี ภายในผลมีเนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติมัน ไม่มีกลิ่น ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางของผล

วิธีปลูกอะโวคาโด

สำหรับการเพาะพันธ์ต้นอโวคาโด้นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ ซึ่งเริ่มจากการนำเมล็ดล้างด้วยน้ำอุ่น นำกระดาษชำระพรมน้ำให้ชุ่ม ใส่ถุงพลาสติก โดยไม่ต้องปิดปากถุง วางเมล็ดลงคอยสังเกตุอย่าให้กระดาษแห้ง รอจนรากงอกออกมา ประมาณ 3 นิ้ว จึงค่อยย้ายลงกระถางปลูกและกลบดินครึ่งลูก รดน้ำให้ชุ่ม ครบ 3 เดือนให้ย้ายกระถางที่ใหญ่ขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด้

สำหรับการรับประทานอะโวคาโด้ นิยมนรับประทานเนื้อผลสุกของอะโวคาโด้เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลอะโวคาโด้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 160 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม น้ำตาล 0.66 กรัม กากใยอาหาร 6.7 กรัม ไขมัน 14.66 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 2.13 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 9.8 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.82 กรัม โปรตีน 2 กรัม น้ำ 73.23 กรัม วิตามินเอ 7 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 42 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 271 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.738 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.389 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.257 มิลลิกรัม วิตามินบี9 81 ไมโครกรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.07 มิลลิกรัม วิตามินเค 21 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.142 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 52 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 485 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.64 มิลลิกรัม

สรรพคุณของอะโวคาโด

สำหรับการนำอะโวคาโด้มาใช้ประโยชน์จากผล นำมารับประทานสดๆ หรือ นำมาสกัดนำน้ำมันมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสมุนไพรสรรพคุณของอะโวคาโด้ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  • บำรุงพิวพรรณ ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้ใบหน้าสดใส
  • บำรุงสายตา ช่วยชะลอการเสื่อมของกระจกตา
  • ช่วยบำรุงเลือด ลดไขมันเลว ( LDL ) ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งปากมดลูก
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันโรคหวัด
  • ช่วยระบบขับถ่าย เนื่องจากมีกากใยอาหารสูง
  • มีโฟเลตสูง เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ สร้างความแข็งแรงให้กับบุตรในครรภ์
  • บำรุงเส้นผม รักษาอาการผมร่วง รักษาศีรษะล้าน

โทษของอะโวคาโด้

สำหรับการรับประทานหรือใช้ประโยชน์จากอะโวคาโด้ มีข้อควรระวัง เนื่องจากอะโวคาโด้มีความเป็นพิษ หากใช้อย่างไม่เหมาะสำอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โทษของอะโวคาโด้ สมุนไพร มีดังนี้

  • ผลดิบอะโวคาโด้ มีสารแทนนินในปริมาณมาก ให้รสขม หากรับประทานมากเกินไปจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน ผื่นคัน ลมพิษ หากรุนแรงอาจจะเสียชีวิตได้
  • ใบ เปลือกต้น และ เปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอะโวคาโด มีความเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า

สูตรมาร์กหน้าอะโวคาโด

ควรทำการมาร์กหน้า ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลควรทำต่อเนื่อง สูจรนี้เป็นสูตรกลาง สำหรับผิวทุกสภาพ สามารถเติมส่วนผสมเพิ่มเติมตามชอบใจได้

  • ผลอะโวคาโดสุก ประมาณ 2 ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ไข่แดง 1 ฟอง
  • นำส่วนผสมทั้งหมดปั่นให้ละเอียด
  • ล้างหน้าให้สะอาดก่อนมาร์ก และเช็ดให้แห้ง
  • ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
  • ล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ จะทำให้หน้าตึง ชุ่มชื้น ดูอ่อนกว่าวัย

วิธีทำเครื่องดื่มอะโวคาโด

เครื่องดื่มอะโวคาโด ใช้ดื่มตอนเช้า บำรุงร่างกาย หรือ ใช้ดื่มดับกระหายได้ตามต้องการ มีประโยชน์ต่อร่างกาย

  • หั่นอะโวคาโดเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กำมือ
  • หั่นมะเขือเทศล้างสะอาดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ผล
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา
  • น้ำเปล่า 1 ถ้วย
  • น้ำแข็ง 2 ถ้วย
  • เกลือป่นนิดหน่อยประมาณ 1/4 ช้อนชา
  • ใส่อะโวคาโด และ มะเขือเทศ หั่นที่เตรียมไว้ ลงเครื่องปั่น
  • ใส่น้ำเปล่า และ น้ำแข็ง เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนชา และ น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ปั่นจนละเอียด
  • เติมเกลือเล็กน้อย และปั่นนิดหน่อย เพื่อให้เข้ากัน
  • ใช้ดื่มดับกระหาย ดื่มเป็นประจำบำรุงร่างกาย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ยี่หร่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณบำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่ายี่หร่า เครื่องเทศ สมุนไพร สรรพคุณของยี่หร่า

ต้นยี่หร่า ภาษาอังกฤษ เรียก Shrubby basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. นอกจากนั้นมีชื่อท้องถิ่นภาษาไทยอื่นๆ ได้แก่ หอมป้อม ( ภาษาถิ่นของภาคเหนือ ), กะเพราญวณ ( ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร ), จันทร์หอม เนียม ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ), สะหลีดี ( ภาษาถิ่นของกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ), โหระพาช้าง กะเพราควาย ( ภาษาถิ่นของภาคกลาง ), หร่า ( ภาษาถิ่นของภาคใต้ )

ยี่หร่ามีถิ่นกำเนิดในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าเรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศ หรือทำยาหอม คนละประเภทกับที่เราใช้รับประทานใบที่ใช้รับประทาน ยี่หร่ามีชื่อหลากหลายชื่อ เช่น ยี่หร่าจันทร์หอม ยี่หร่าเนียมต้น เนียม กะเพราญวน และ โหระพาช้าง เป็นต้น เรานิยมคุ้นเคยนำมาผัดรับประทานกัน

ชนิดของยี่หร่า

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ยี่หร่าเทียนขาว และ ยี่หร่าจันทรหอม รายละเอียด ดังนี้

  • เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • จันทร์หอม เป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้กันครับ

ลักษณะของต้นยี่หร่า 

ต้นยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ชอบความชื้นปานกลาง ในสภาพกลางแจ้งและแสงเข้าถึง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีทรงเตี้ย โดยมีความสูงไม่มากแค่ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอกใน 1 ช่อ
  • ผล เป็นรูปทรงกลมยาวรี มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดมากมาย อบให้แห้ง ใช้ดับกลิ่นคาว เป็นเครื่องเทศชั้นดี

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เนื่องจากเป็นพืชที่สะสมแร่ธาตุและวิตามิน การรับประทานยี่หร่า จึงแทบจะไม่ให้พลังงาน แต่จะมีกากใยและวิตามินแร่ธาตุจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินบี1-3 วิตามินซีสูง มีธาตุอาหารหลัก คือ แคลเซียมสูง และธาตุอาหารรอง คือ เหล็กและฟอสฟอรัส โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่น้อย

สรรพคุณของยี่หร่า

สรรพคุณทางการรักษาโรคของยีหร่า นอกจากจะใช้ยี่หร่าเป็นอาหาร ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ในอาหารไทยต่างๆแล้ว การรับประทานยี่หร่ายังมีระโยชน์ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ให้ย่อยอาหารได้เป็นปกติ ลดก๊าซในไส้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฝ้อ อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ขับก๊าซในกระเพาะ และลำไส้ได้ดี ลดการจุกเสียดเมื่อรับประทานอาหาร
  • เมื่อเกิดอาการลำไส้หด การบีบตัวของลำไส้ ยี่หร่าสามารถลดอาหารต่างๆเหล่านี้ได้ดี
  • ในใบยี่หร่ามีธาตุอาหารรองต่างๆมากมาย ช่วยบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย ให้สมดุล
  • เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน จากการหดเกร็งของมดลูก ยี่หร่าสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ดี
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ สามารถใช้ผลยี่หร่าตากแห้งประมาณ 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือด ประมาณ 1 ลิตร ใช้ดื่มแก้อาการ
  • ผลการวิจัย พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้ง หรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต้นๆ ได้ดี
  • มีวิตามินซีสูง บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน และลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงระบบกระดูกและฟันได้ดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ

ประโยชน์ของยี่หร่า

คนไทยรับประทานยี่หร่ามาช้านาน เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณบำรุงร่างกายมากมาย มีการนำยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่

  • ยี่หร่าถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันยี่หร่า ( Caraway oil ) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว สร้างกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก
  • เมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหอมสำหรับถนอนอาหาร ใช้หมักอาหารประเภทเนื้อต่างๆ ให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยเฉพาะการทำเนื้อตากแห้ง ใช้ผสมเครื่องหมักเนื้อก่อนนำไปตาก พบว่านอกจากจะถนอมอาหารได้ดีแล้วยังดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง
  • เมล็ดยี่หร่าแห้งนิยมนำมาทำเครื่องแกง โดยโขลกรวมกับเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริกแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เพิ่มความหอม
  • ใบยี่หร่าใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมรับประทนกับไส้อั่ว เพิ่มรสชาติและความหอม

ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศสำคัญในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะแกงกะหรี่และมัสมั่น ส่วนอาหารไทยนิยมใช้ใบยี่หร่าในการแต่งกลิ่นอาหาร และ ยังมีน้ำมันระเหย เรียก น้ำมันยี่หร่า ( cumin oil ) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม

ยี่หร่า สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม นำเสนอเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่า

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย