ตังกุย โกฐเชียง รากของต้นตังกุย นำมาทำสมุนไพรรักษาโรคได้ สรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ พืชเมืองหนาว ต้นตังกุยเป็นอย่างไร โทษมีอะไรบ้างตังกุย โกฐเชียง สมุนไพร สรรพคุณของตังกุย

ตังกุย เป็นพืชตระกูลผักชี รากตังกุยมีประโยชน์ในการรักษาโรค เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ชอบอากาศหนาวเย็น เป็นพืชท้องถิ่นของญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และ จีน ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels  ภาษาไทยเรียกสมุนไพรนี้ว่า โกฐเชียง

การใช้ตังกุยเพื่อเป็นยา สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต เพิ่มความร้อนให้กระเพาะอาหาร ขับความเย็นออก แก้อาการปวด รักษาภาวะอ่อนเพลียเหนื่อนล้า อาการปวดท้องของสตรีหลังจากคลอด การใช้ตังกุยในการทำยาสมุนไพร นำรากตังกุย น้ำหนัก ประมาร 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดใช้ดื่มเป็นยา หรือ ใช้เป็นเครื่องประกอบอาหาร เช่น ต้มกับข้าวทำเป็นโจ๊กก็ได้

ลักษณะของต้นตังกุย 

ต้นตังกุย พืชล้มลุก ความสูงไม่เกิน 1 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่อยู่ในระหว่างเขตหนาว ชอบอากาศที่เย็นชื้น พบมากในภาคกลางของประเทศจีน มักขึ้นตามป่าดิบเขาที่มีน้ำไหลผ่าน เช่น ในมณฑลเสฉวน กุ้ยโจว ไต้หวัน  เหอเป่ย ส่านซี และ ยูนนาน นิยมนำรากมาทำเป็นยา สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นต้งกุย มีดังนี้

  • รางตังกุย ลักษณะอวบทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมเหลือง รากมีรอยย่นเป็นแนวตามยาว
  • ลำต้นตังกุย ลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกสีน้ำตาลอมม่วง
  • ใบตังกุย เป็นใบเดี่ยว ทรงไข่ แฉกใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ สีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกบริวณยอดของลำต้นและง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลตังกุย เป็นผลแห้ง สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง จะออกผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ในการทำยาสมุนไพร เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะใช้ประโยชน์จากรากตังกุยตากแห้ง ซึ่งสรรพคุณของตังกุย มีดังนี้

  • บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย อ่อนล้า
  • บำรุงสมอง
  • บำรุงตับ บำรุงต่อมน้ำเหลือง รักษาโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง ทำให้เลือดไหลเวียนดั รักษาอาการมือเท้าชา
  • บำรุงผิวพรรณ เพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว
  • รักษาแผล รักษาอาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขัยน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
  • ช่วยลดไข้ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคท้องผูก ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
  • สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • แก้ประจำเดือนเป็นพิษ ลดอาการปวดท้องประจำเดือน

โทษของตังกุย

สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ตังกุยมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และมดลูก อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาเป็นส่วนผสมในสมุนไพรรักษาโรค ต้นปลาไหลเผือกเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรภภาพทางเพศ ทำให้มีลูก โทษปลาไหลเผือกมีอะไรบ้างปลาไหลเผือก พญารากเดี่ยว สมุนไพร สรรพคุณปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก คือ พืชชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurocoma lingifolia jack.  มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หยิงไม่ถึง โสมมาเลเซีย เพียก ตุงสอ แฮพันชั้น เอียนดอน เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา  ต้นปลาไหลเผือก ในตำราแพทย์แผนไทยในพระคัมภีร์ปฐมจินดา นำรากปลาไหลเผือกตากแห้งมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรับยาในการรักษาโรค ซึงบางท้องถิ่นเรียก พญารากเดียว ในด้านความเชื่อโบราณนั้นรากปลาไหลเผือก เชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีพละกำลังในการออกรบ เชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน รากปลาไหลเผือกจะนำไปปลุกเสก ทำของขลังพกติดตัวเหมือนพระเครื่อง

ลักษณะของต้นปลาไหลเผือก

ต้นปลาไหลเผือก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ชอบความชื้นสูง มักจะพบต้นปลาไหลเผือกในป่าต่างๆกัน เช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ เป็นต้น สามรถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์และการตอนกิ่ง กลักษณะของต้นปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • รากปลาไหลเผือก มีความยาวและหยั่งลึกลงไปใต้ดิน ลักษณะกลม สีขาวนวล ความยาวมากกว่า 2 เมตร มีรสขมและเบื่อเมาเล็กน้อย
  • ลำต้นปลาไหลเปือก ตั้งตรงความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาล
  • ใบปลาไหลเผือก เป็นใบประกอบ ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านเรียบเป็นมัน
  • ดอกปลาไหลเผือก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นรูปใบหอก สีม่วงปนแดง จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเดือนมกราคมของทุกปี
  • ผลปลาไหลเผือก ออกผลเป็นพวง หนึ่งพวงจะมี 5 ผลย่อย ลักษณะผลเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกนอกบาง ผลเมื่อแก่จะเป็นสีแดงถึงสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

สรรพคุณของปลาไหลเผือก 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือกในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากรากของปลาไหลเผือก โดยนำรากมาตากแห้งและบดเป็นส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ สรรพคุณของรากปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังทางเพศ ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เพิ่มการสร้างอสุจิ กระตุ้นลูกอัณฑะให้สร้างอสุจิมากขึ้น กระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น กระตุ้นต่อมสมองให้เร่งการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับสเปริ์ม มีจำนวนมากขึ้น
  • บำรุงโลหิต ช่วยรักษาความดันโลหิตร่างกาย
  • ช่วยขับพิษออกจากร้างกาย เช่น ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ และพิษจากโลหิต  ช่วยขับเหงื่อ ทำให้อาเจียน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ช่วยลดไข้ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ
  • แก้ปวดท้อง แก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป ปวดข้อ ปวดตามร่างกาย แก้บวม แก้บิด
  • รักษาอาการท้องเสีย
  • ช่วยขับพยาธิ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด
  • รักษาแผล แก้ฝี แผลพุพอง แผลเรื้อรัง บรรเทาอาการผื่นคัน

โทษของปลาไหลเผือก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาตากแห้งและบดเพื่อเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรในการรักษาโรค การนำรากสดมาใช้ อาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ เพราะ รากมีพิษเบื่อ ทำให้เมาได้ โทษของปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรืออยุ่ในระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน การใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจน ทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  • รากปลาไหลเผือก มีพิษเบื่อเมา การนำมาใช้จึงต้องระวัง เพราะ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย วิงเวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อนๆ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้หยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะๆ จนกว่าอาการจะหายไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย