กระวาน สมุนไพร นิยมทำนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และนำมาทำยารักษาโรค สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  ประโยชน์และโทษของกระวานเป็นอย่างไร

กระวาน สมุนไพร เครื่องเทศ

กระวาน ภาษาอังกฤษ เรียก Camphor ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระวาน คือ Amomum verum Blackw. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระวาน เช่น ปล้าก้อ กระวานขาว มะอี้ ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง กระวานแดง กระวานไทย กระวานจันทร์ กระวานดำ กระวานโพธิสัตว์ เป็นต้น กระวานมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก เมล็ดกระวาน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสมุนไพรโบราณในตำรับยา พิกัดตรีธาตุ ที่ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และ อบเชย ซึ่งสูตรยาสมุนไพรโบราณนี้มีสรรพคุณ แก้ธาตุพิการ รักษาไข้ ช่วยขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาพิษตานซาง และ ช่วยบำรุงระบบน้ำดี นอกจากนั้นน้ำมันหอมระเหยของกระวานมีสรรพคุณ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ดี

กระวานในประเทศไทย

สำหรับกระวานจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีการส่งออกกระวานเพื่อทำเป็นเคร่ื่องเทศในการประกอบอาหาร ส่งออกไปประเทศจีนและฮ่องกง โดยแหล่งปลูกกระวานที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฐธานี สงขลา แต่กระวานคุณภาพดีที่สุดที่ได้รับความนิยมและราคาสูง คือ กระวานจันทบุรี ที่ผลิตได้จากป่าบริเวณเขาสอยดาว ในจังหวัดจันทบุรี ผลผลิตของกระวานจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี

ชนิดของกระวาน

สำหรับกระวานที่มีการซื้อขายในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กระวานไทย และ กระวานเทศ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • กระวานเทศ ( Elettaria cardamomum ) ลักษณะผลแบนรี เป็นกระวานที่ปลูกมากในประเทศอินเดีย ศรีลังกา
  • กระวานไทย ( Amomum krevanh ) ลักษณะผลค่อนข้างกลม เป็นกระวานที่ปลูกมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก

ประโยชน์ของกระวาน เมล็ดของกระวานมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เหง้าอ่อนของกระวานใช้รับประทานได้มีกลิ่นหอมรสเผ็ดเล็กน้อย ผลแก่ของกระวาน นำมาตากแห้งทำเป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร ผลกระวานมาทำน้ำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

ลักษณะของต้นกระวาน 

ต้นกระวานจัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800 ฟุตขึ้นไป เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ใต้ร่มไม้ที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในบริเวณป่าดงดิบของประเทศไทย โดยลักษณะของต้นกระวาน มีดังนี้

  • ลำต้นกระวาน มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นความสูงประมาณ 2 เมตร มีสีเขียว ลักษณะอวบน้ำ
  • ใบกระวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบยาว ปลายใบแหลม ใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกกระวาน ออกดอกเป็นช่อ โดยช่อดอกกระวานจะออกมาจากเหง้า และชูขึ้น กลีบดอกกระวานมีสีเหลือง
  • ผลกระวาน ลักษณะกลม ติดกันเป็นพวง ผลมีสีขาวนวล ผิวของเปลือกผลกระวานเกลี้ยง ผลอ่อนมีขน ผลแก่จะร่วง มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดกระวาน มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร รสเผ็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมล็ดแก่เป็นสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน

สำหรับด้านโภชนาการของกระวาน มีนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดกระวาน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 254 กิโลแคลอรีและมีสารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย โปรตีน 9.5 กรัม ไขมัน 6.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 39.7 กรัม แคลเซียม 16.0 กรัม ฟอสฟอรัส 23.0 มิลลิกรัม และ เหล็ก 12.6 มิลลิกรัม น้ำมันหอมระเหยจากกระวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa

สรรพคุณของกระวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระวานนิยมใช้ใบกระวาน ผลกระวานและเมล็ดกระวาน ซึ่งสรรพคุณของกระวาน มีดังนี้

  • ผลแก่กระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับเลือด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ใบกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับลม ขับเสมหะ ทำให้สดชื่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ไข้ ทำให้สดชื่น รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย
  • แก่นกระวาน สรรพคุณรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
  • รากกระวาน สรรพคุณช่วยฟอกเลือด แก้โลหิตเน่าเสีย ขับเสมหะ
  • กระพี้กระวาน สรรพคุณบำรุงเลือด รักษาโรคผิวหนัง
  • หน่อกระวาน สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ

วิธีทำน้ำกระวาน

น้ำกระวาน ใช้ในการรักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ช่วยให้ระบบทำงานของลำไส้ ให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีเตรียมน้ำกระวาย คือ เตรียมผลกระวานแก่จัด ประมาณ 6-10 ลูก ตากแห้ง โดยใช้แสงแดด แล้วบดละเอียด ให้เป็นผง เวลาชง ให้ใช้ผงกระวานแห้งบดละเอียด ที่เตรียมไว้ ประมาณ 1-3 ช้อนชา นำผงมาต้มกับน้ำสะอาด 1 แก้ว เคี่ยวจน น้ำต้มลดเหลือครึ่งแก้ว ดื่มครั้งเดียวจนหมด

โทษของกระวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์กระวาน ก็เหมือนสมุนไพรทั่วไป ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดโทษต่อร่างกาย แต่ยังไม่พบว่ามีรายงานถึงความเป็นพิษจากการใช้กระวาน ดังนั้นการใช้กระวานจึงน่าจะมีความปลอดภัยสูง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

รากสามสิบ สมุนไพร บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เชื่อกันว่าเมื่อกินรากสามสิบ ทำให้ผิวพรรณดี สวยงามได้ตลอดทุกวัย ช่วยให้มีบุตร และ อ่อนวัยเสมอ

รากสามสิบ สมุนไพร สรรพคุณรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ คือ พอควายเมะ เตอสีเบาะ จ๋วงเครือ สามร้อยราก ผักชีช้าง ผักหนาม เป็นต้น รากสามสิบ มีชื่อเรียกในตำรับยาบำรุงสตรี ว่า สาวร้อยผัว และในตำรับยาบำรุงบุรุษว่า ม้าสามต๋อน สรรพคุณต้านทานโรคต่างๆมากมาย ต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรียได้ดี

รากสามสิบ สมุนไพรไม้ชนิดเถา เป็นไม้เนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นได้ดีและมีหนามแหลม พบมากในประเทศไทย และประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เจริญเติยโตได้ดี ในป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือ ตามเขาหินปูนในเขตแล้ง

วิธีเตรียมน้ำรากสามสิบ นิยมใช้ส่วนราก มาทำเป็นยา ล้างรากให้สะอาด และตากรากจนแห้ง นำราก แห้งประมาณ 90-100 กรัม ใส่หม้อต้มน้ำสะอาด รอจนน้ำเปลี่ยนสี ใช้ดื่มตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชประเภทไม้เถา พบได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อนต่างๆ เช่น ไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสตรี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน พบสาร steroidal saponins มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สรรพคุณและประโยชน์ของรากสามสิบ มีดังนี้

  • แก้ปัญหาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการผิดปกติต่างๆจาก ภาวะหมดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • สร้างสมดุลระบบฮอร์โมนสตรี แก้อาการวัยทอง ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนมขณะให้นมบุตร ป้องกันการแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • เพิ่มขนาดหน้าอก สรพคุณช่วยช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นคาวปลาในช่องคลอด สรรพคูรช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังคลอด สรรพคุณช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกินตามเอว ต้นแขน ตันขา
  • บำรุงโลหิต
  • บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวสวยใส ช่วยชะลอความแก่ชราก่อนวัยอันควร
  • ลดกลิ่นตัวในผู้ที่กลิ่นตัวแรง ลดกลิ่นปาก
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง
  • มีฤทธิ์ยากระตุ้นประสาท
  • ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และ ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ใช้รักษาโรคคอพอก
  • นิยมใช้รากต้มกับน้ำดื่มสะอาด ใช้เป็นเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาท้องอืดท้องเฝ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
  • รักษาอาการท้องเสีย โรคบิด
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ในผู้ที่ปัสสาวะไม่ออก
  • บำรุงตับและปอดให้ทำงานเป็นปกติ
  • ใช้แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย
  • บรรเทาอาการแพ้ ระคายเคืองต่างๆ
  • แก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของรากสามสิบ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ เป็นยาบำรุงหรือรักษาโรคนั้น ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากสามสิบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน หากรับประทานจะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนสตรีมากเกินไป
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย