รากสามสิบ สมุนไพรสามร้อยผัว สรรพคุณสำหรับสตรี ต้นรากสามสิบเป็นอย่างไร สารในรากสามสิบ สรรพคุณแก้กระษัย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงกำลัง โทษของรากสามสิบ มีอะไรบ้างรากสามสิบ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari พืชตระกูลหน่อไม้ฟรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน  ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ สมุนไพรที่สรรพคุณของรากมากมาย เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร หลายตำรับ ทั้งยาแผนไทย ยาแผนจีน สรรพคุณบำรุงสตรีเพศ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อกตูม รูฟิต นิยมใช้รากสามสิบเป็นยาพื้นบ้าน แก้ตกเลือด แก้ปวดเมื่อย แก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี บำรุงตับ บำรุงปอด

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชล้มลุก ประเภทไม้เถา สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย พบตามป่าเขตร้อน หรือ เขาหินปูน ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ใบ และ ทั้งต้น สรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ผลรากสามสิบ สรรพคุณรักษาไข้
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณ บำรุงครรภ์ ลดไข้ แก้ปวดหัว รักษาหอบหืด บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้ปวดเมือย แก้ปวด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ตกเลือด รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาคอพอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยบำรุงกำลัง
  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นยาระบาย
  • ทั้งต้นรากสามสิบ สรรพคุณแก้ตกเลือด รักษาคอพอก

โทษของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • รากสามสิบ สรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หากใช้จะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • การรับประทานรากสามสิบ ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  • ไม่ควรรับประทานรากสามสิบ ติดต่อกันนานเกินไป และ ไม่ควรรับประทานรากสามสิบในปริมาณมากเกินไป หากรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเขือพวง ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวงมีอะไรบ้างมะเขือพวง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะเขือพวง ภาษาอังกฤษ Pea aubergine พืชตระกูลมะเขือ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือพวง คือ Solanum torvum Sw. มะเขือเรียกอื่นๆ เช่น มะแว้งช้าง (สงขลา) มะเขือละคร (นครราชสีมา)  หมากง (ภาคอีสาน) เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้) มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ)  เป็นต้น

มะเขือพวง เป็นพืชเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของมะเขือพวง คือ ทวีปอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ สำหรับในประเทศไทย มะเขือพวงนิยมรับประทานผลสด โดยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู เช่น แกงป่า แกงคั่ว แกงอ่อม แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริก ผัดเผ็ด เป็นต้น

ผลมะเขือพวง มีสารสำคัญอยู่ 2 กลุ่ม คือ สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ เป็นสารที่มีประโยชนืต่อสุขภาพ รายละเอียดของสารดังกล่าว มีดังนี้

  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ( Alkaloids ) ลักษณะเด่น คือ รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ ซึ่งสารชนิดนี้จะสลายตัวเมื่อโดนความร้อน สรรพคุณช่วยต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytonutrient ) สรรพคุณช่วยฟื้นฟูร่างกาย ช่วยคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็นพืชล้มลุก ทนต่อสภาพอากาศร้อน และ ไม่มีแมลงศัตรูพืช สามารถขยายพันธ์โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือพวง ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นและกิ่งแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ปกคลุมด้วยหนามและในบางสายพันธ์ไม่มีหนาม
  • ใบมะเขือพวง ลักษณะใบเป็นรูปไข่ สีเขียว ใบกว้าง เรียบ ขอบใบเว้า
  • ดอกมะเขือพวง ลักษณะดอกเป็นช่อ รูปทรงกรวยแตร กลีบดอกสีเขียว ขาว และ ม่วง เกสรตัวผู้มีสีเหลือง
  • ผลมะเขือพวง ลักษณะกลม สีเขียว ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนรสขม ผลสุกสีเหลือง รสฝื่นและเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

สำหรับการศึกษาสารเคมีและสารอาหารต่างๆในมะเขือพวง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.16 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.649 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.84 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมะเขือพวก มีหลายชนิด ประกอบด้วย  ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A ) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  ทอร์โวนิน บี (torvonin B) โซลานีน (solanine) โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine)  โซลาโซดีน (solasodine) และ เพกติน รายละเอียด ดังนี้

  • ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  คือ สารสตีรอยด์ไกลไซด์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริม
  • เพกติน คือ สารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเคลือบที่ผิวของลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทอร์โวนิน บี ( torvonin B ) คือ สารซาโพนิน มีฤทธิ์ขับเสมหะ
  • โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine) คือ ไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์
  • โซลานีน ( solanine ) คือ สารทำให้แคลเซียมในร่างกายไม่สมดุลย์ ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก ควรหลีกเลี่ยง
  • โซลาโซดีน ( solasodine ) คือ สารที่สรรพคุณต้านโรคมะเร็ง

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือพวง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เช่น ใบ ลำต้น ผล และ ราก สรรพคุณของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ผลมะเขือพวง สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง รักษาโรคเริม ช่วยขับเสมหะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบ ช่วยชะลอวัย ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดความเครียด ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด บำรุงสายตา แก้ไอ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้อาการฟกช้ำ รักษาแผลฝีมีหนอง
  • ใบมะเขือพวง สรรพคุณช่วยรักษาโรคซิฟิลิส เป็นยาระงับประสาท ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการชัก ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี รักษาแผลติดเชื้อ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยห้ามเลือด
  • ทั้งต้นมะเขือพวง สรรพคุณแก้อาการหืด
  • รากมะเขือพวง สรรพคุณช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยรักษารอยเท้าแตก ช่วยแก้โรคตาปลา
  • เมล็ดมะเขือพวง สรรพคถณแก้ปวดฟัน
  • ลำต้นมะเขือพวง สรรพคุณช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคกลากเกลื้อน

โทษของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะเขือพวงมีข้อควรระวังดังนี้

  • ผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแข็งตัวของเลือด สำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด ควรงดกินมะเขือพวง อาจส่งผลต่อการเลือดไม่หยุดไหลได้
  • มะเขือพวงมีสารโซลานีน ( Solanine ) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

มะเขือพวง พืชพื้นบ้าน ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือพวง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย