บุก บุกคางคก หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ต้นบุกเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้างบุก สมุนไพร สรรพคุณบุก

ต้นบุกคางคก ภาษาอังกฤษ เรียก Stanley’s water-tub ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุกคางคก คือ Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุกคางคก คือ บุกหลวง บุกหนาม เบีย เบือ บักกะเดื่อ กระบุก บุกคุงคก หัวบุก มันซูรัน  กระแท่ง บุกรอ หัววุ้น บุกอีรอกเขา เป็นต้น ต้นบุกคางคกเป็นพืชตระกูลบอน

บุกในประเทศไทย

ประเทศไทยสามารถปลูกบุกได้ทั่วไป พบได้ทุกภาค การปลูกบุกนิยมนำหัวบุกมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม โดยนำเอามาผลิตแป้ง และ แปรรูปเป็นสินค้าด้านอาหารต่างๆ เช่น แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุก ผงวุ้นกลูโคแมนแนน และ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ นอกจากนั้นยังนำมาทำวุ้นเส้น สำหรับรับประทานได้

ลักษณะของต้นบุกคางคก

ต้นบุกคางคก เป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน อายุยืนยาน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ลักษณะของต้นบุกคางคก มีดังนี้

  • ลำต้นบุกคางคก ลักษณะตั้งตรง ลำต้นอวบน้ำ ความสูงประมาณ 1 เมตร แก่นลำต้นมีผิวขรุขระ ตัวลำต้นกลมสีเขียว มีหัวบุกอยู่ใต้ดิน ลำต้นบุกแทงออกมาจากหัวบุก หัวบุกมียาง
  • ใบบุกคางคก เป็นใบเดี่ยวใบอยู่ปลายของก้านใบ ลักษณะใบยาว ลักษณะใบแผ่ออกคล้ายร่มที่กางแล้ว ขอบใบเว้าลึก ก้านใบกลม ลักษณะกาบใบอวบน้ำ
  • ดอกบุกคางคก ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกบุกแทงขึ้นมาจากโคนลำต้น ปลายช่อดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นเหม็นเน่า
  • ผลบุกคางคก ลักษณะของผลเป็นทรงรียาว เนื้อนุ่ม ผลจะขึ้นเป็นช่อๆจำนวนมาก ผลอ่อนบุกสีเขียว ผลสุกของบุกสีเหลืองส้ม ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะเมล็ดกลมรี

สารสำคัญในบุก

หัวบุก มีสารเคมีสำคัญ คือ กลูโคแมนแนน ( glucomannan ) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ช่วยกำจัดเสมหะ แก้ไอ แก้พิษงู รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อน ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด ได้

สรรพคุณของบุก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากบุก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวบุก ราก และ ผล สรรพคุณของบุก มีดังนี้

  • หัวบุก สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด แก้ไอ ป้องกันมะเร็ง แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้ท้องมาน ช่วยให้ประจำเดือนมาปรกติ แก้พิษงู รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลหนอง แก้ปวด แก้บวม ลดความอ้วน
  • รากบุก สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี รักษาฝี
  • ผลบุก สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของบุก

การรับประทานบุก หรือ ใช้ประโยชน์จากบุกในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง เนืองจากบุกมียางและมีความเป็นพิษ ต้องมีการนำมาทำให้พิษออกก่อนจึงจะไม่เกิดโทษ โทษของบุก มีดังนี้

  • ยางจากหัวบุก หากสัมผัสทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน หากเข้าตาทำให้แสบตา หากรุนแรงทำให้ตาบอดได้
  • การรับประทานบุกโดยไม่เอายางออกก่อน ทำให้ระคายเคืองปากได้
  • ผงวุ้นจากบุก หากกินในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดได้

บุก หรือ บุกคางคก พืชท้องถิ่น หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ลักษณะของต้นบุก เป็นอย่างไร สรรพคุณของบุก เช่น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น

ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ

สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลายส่วน ทั้ง ผล เมล็ด ดอก ใบ และ น้ำคั้นจากดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ผลกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • เมล็ดกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วบลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ล้างแผล

โทษของกระเจี๊ยบ

สำหรับข้อควรระวังในการบริโภค และ ใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย มีดังนี้

  • กระเจี๊ยบ สรรพคุณเป็นยาระบาย การกินกระเจี๊ยบมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งพักฟื้นจากอาการท้องเสีย ไม่ควรกินกระเจี๊ยบ
  • น้ำกระเจี๊ยบที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล อาจมีความหวานมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบที่หวาน
  • กระเจี๊ยบสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดการบริโภคกระเจี๊ยบ เพื่อลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย