สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

บอน พืชในที่ราบลุ่ม สมุนไพร ต้นบอนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบอน สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับน้ำนมสตรี โทษของบอน มีอะไรบ้างบอน สมุนไพร สรรพคุณของบอน

ต้นบอน ภาษาอังกฤษ เรียก Elephant ear ลักษณะใบใหญ่คล้ายหูช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอน คือ Colocasia esculenta (L.) Schott สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของบอน เช่น ตุน บอนหอม บอนจืด บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ ขื่อที้พ้อ ขือท่อซู่ คึทีโบ คูชี้บ้อง คูไทย ทีพอ กลาดีไอย์ กลาดีกุบุเฮง บอนหวาน เป็นต้น บอน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะของต้นบอน

ต้นบอน เป็นพืชล้มลุก ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบลุ่ม ชอลดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี สามารถพบบอนได้ทั่วไป ในทุกภาคของประเทศไทย อายุของบอนหลายปี สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ การปักชำหัว ลักษณะของต้นบอน มีดังนี้

  • ลำต้นของบอน บอนมีเหง้าลักษณะเป็นทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน ลำต้นแทงออกจากเหง้า ลักษณะลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ สีเขียว ความสูงประมาณ 1 เมตร
  • ใบบอน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว หนึ่งก้านใบมี 1 ใบ ลักษณะใบใหญ่ คล้ายรูปหูช้าง เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม โคนใบแยกเป็นแฉก ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ
  • ดอกบอน เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ แทงออกจากลำต้น มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวลหุ้ม ดอกสีเขียว มีกลิ่นหอม
  • ผลบอน ผลสดมีสีเขียว ภายในมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของบอน

สำหรับการรับประทานบอนเป็นอาหาร สามารถรับประทานใบบอน และ ก้านใบบอน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของบอน มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบบอน ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 112 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 25.8 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม วิตามินเอ 103 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.15 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 84 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของก้านใบบอน ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กากใยอาหาร 0.9 กรัม วิตามินเอ 300 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 13 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบอน

สำหรับการใช้บอนด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก รากบอน หัวบอน น้ำจากกาบใบบอน ก้านใบบอน น้ำยางบอน ไหลบอน สรรพคุณของบน มีดังนี้

  • รากบอน สรรพคุณแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย
  • หัวบอน สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับน้ำนมสตรี
  • น้ำจากกาบบอน สรรพคุณแก้ไข้ ช่วยห้ามเลือด แก้พิษแมลงป่อง แก้ฟกช้ำ
  • ลำต้นบอน สรรพคุณรักษาแผลงูกัด แก้พิษคางคก
  • น้ำยางบอน สรรพคุณแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย กำจัดหูด
  • ไหลบอน สรรพคุณรักษาฝีตะมอย

โทษของบอน

ต้นบอนมีความเป็นพิษ โดยในน้ำยางของบอน หากสัมผัสจะระคายเคืองผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการแสนร้อน หากรับประทานแบบสดๆ ทำให้เกิดน้ำลายมาก บวมลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า

บอน พืชในที่ราบลุ่ม พืชล้มลุก สมุนไพร ลักษณะของต้นบอน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบอน สรรพคุณของบอน เช่น เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับน้ำนมสตรีโทษของบอน มีอะไรบ้าง

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทย ลักษณะของต้นกล้วยเป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษเรียก Cultivated Banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’ สำหรับชื่อเรียกอ่ื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า จัดเป็น ยาอายุวัฒนะ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน ด้วยรสชาติอร่อย ราคาถูก ทานง่าย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ต่างๆ

กล้วยน้ำว้า เป็นสายพันธ์หนึ่งของกล้วย เกิดจากการผสมพันธ์ระหว่างกล้วยตานีกับกล้วยป่า กล้วยน้ำว้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย คือ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาว และกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้า สามารถรับประทานผลได้ ทั้งผลสุกและผลดิบ มีการนำเอากล้วยน้ำว้ามาทำอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

กล้วยน้ำว้าในสังคมไทย

กล้วยน้ำว้าอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน และ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประเพณีต่างๆในสังคมไทย เราสามารถแบ่งความสำคัญของกล้วยน้ำว้าต่อสังคมไทยในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อ มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้า มากมาย เช่น สตรีมีครรภ์หากรับประทานกล้วยแฝด จะทำให้ได้ลูกแฝด เชื่อว่าในต้นกล้วยมีผีนางตานีสิงอยู่ เป็นต้น
  • ด้านยารักษาโรค มีการนำเอากล้วยมารักษาโรคหรือใช้เป็นส่วนประกอบในการรักษาโรค เช่น ใบกล้วยใช้รองนอน สำหรับผู้ป่วยมีแผลผี หรือ แผลไฟไหม้ ผลกล้วยใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
  • ด้านอาหาร กล้วยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล้วยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน มีผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากกล้วยหลายชนิด เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน เป็นต้น
  • ด้านประเพณีและพิธีกรรม ต้นกล้วยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบูชา ในพิธีกรรมต่างๆของคนไทย เช่น ต้นบายศรี กล้วยในงานแต่งงาน กาบกล้วยแทงหยวกในงานเผาศพ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร สามารถรับประทานผลสุกและผลดิบ เป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 85 แคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม ะาตุแคลเซียม 8 กรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้น ใบ ยางจากใบ ผลสุก ผลดิบ และ หัวปลี สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • รากกล้วย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ลำต้นกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคไส้เลื่อน
  • ใบกล้วย สรรพคุณใช้รักษาแผลสุนัขกัด ช่วยห้ามเลือด
  • ยางจากใบกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด สมานแผล
  • ผลกล้วยดิบ สรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยาระบาย
  • ผลกล้วยสุก สรรพคุณเป็นยาระบาย
  • หัวปลี สรรพคุณช่วยขับน้ำนม

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร หรือ ใช้ในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมาตลอด ลักษณะของต้นกล้วย เป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผล บำรุงระบบทางเดินอาหาร โทษของกล้วยน้ำว้า มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร