กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สะเลเต สมุนไพร ไม้มงคลเสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์มีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นว่านมหาหงส์ ( Butterfly lily ) พีชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่านมหาหงส์ คือ  Hedychium coronarium J.Koenig ชื่อเรียกอื่นๆของว่านมหาหงส์ เช่น เลเป ลันเต ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ ว่านกระชายเห็น สะเลเต กระทายเหิน หางหงส์ ตาเหิน เฮวคำ  เป็นต้น

ลักษณะของต้นว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์ เป็นพืชล้มลุก ชอบน้ำ ขึ้นได้ดีตามที่ลุ่มชื้น อายุยืน มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร โตเร็ว ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และ ศัตรูพืช มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร ลักษณะของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ เหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม สีเขียว เนื้อในสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ลำต้นของว่านมหาหงส์ จะออกมาจากเหง้า ขึ้นตรง สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม เป็นสีเขียว
  • ใบของว่านมหาหงส์ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายหอก ปลายแหลม ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวสด
  • ดอกของว่านมหาหงส์ จะออกดอกเป็นช่อ ดอกออกจากปลายยอดของลำต้น ปลายกลีบดอกเป็นสีขาวอมสีเขียว โคนดอกเป็นสีขาว ดอกมหาหงส์ออกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี
  • ผลของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นผลแห้ง ทรงกลม แตกออกได้เป็นพู

คุณค่าทางโภชนากการของว่านมหาหงส์ 

สำหรับการนำเอาว่านมหาหงส์มาใช้ประโยชน์ นั้นจะนิยมนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย โดยได้จากการสัดจากเหง้าของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นของเหลว ใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน โดยในน้ำมันหอมระเหยของว่านมหาหงส์ มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย  beta-pinene , borneol , d-limonene และ linalool สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของโลชั้นกันยุงได้ และ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย

ประโยชน์ของว่านมหาหงส์

สำหรับว่านมหาหงส์ สามารถใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งการนำเอามาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรค และ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ รายละเอียด ดังนี้

  • สามารถใช้เป็นอาหาร โดยนำเหง้าอ่อนของว่านมหาหงส์มารับประทาน รสชาติเผ็ดร้อนคล้ายขิง คนเหนือนิยมลวกรับประทานกับน้ำพริก
  • ดอกว่านมหาหงส์ นำมาใช้บูชาพระ
  • เหง้าว่านมหาหงส์ สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เรียก น้ำมันมหาหงส์ นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำหอม โลชั้นทากันยุง สบู่ ครีมอาน้ำ เป็นต้น
  • น้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาหงส์ ใช้นำมาให้กลิ่นหอม และ เป็นส่วนผสมของครีมสปาต่างๆ เช่น โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ หรือโคลนหมักตัว เป็นต้น
  • ไม้มงคล ดอกสวย ว่านมหาหงส์ ดอกจะมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด และ เชื่อกันว่าว่านมหาหงส์จะช่วยเสริมอำนาจและบารมี

สรรพคุณของว่านมหาหงส์

การใช้ประโยชน์จากว่านมหาหงส์ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้าของมหาหงส์มา ดดยรายละเอียดของสรรพคุณของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ตากแห้งนำมาบดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ยาบำรุงกำลัง ทำยาอายุวัฒนะ แก้กษัย บำรุงไต
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาต้มดื่มช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย แก้ลมชัก
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาคั้นน้ำ สามารถรักษาแผลฟกช้ำ แผลอักเสบ และ แผลบวมได้

โทษของว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขิง ที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน หากสัมผัสโดยไม่ใส่ถุงมือ หรือ บางคนที่ผิวบอบบาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ แสบร้อนได้

ว่านมหาหงส์ สะเลเต พืชสมุนไพร ไม้มงคล เสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์ของมหาหงส์ สรรพคุณของมหาหงส์ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับต้นมหาหงส์

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย