โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย