ทุเรียน Durian ผลไม้ยอดนิยม ฉายา ราชาแห่งผลไม้ King of fruit มีกลิ่นเฉพาะตัว มีประโยชน์มากมาย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้ ทำความรู้จักกับทุเรียนทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ต้นทุเรียน ภาษาอังกฤษ เรียก Durian ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L. ที่มาของคำว่า Durian มาจากภาษามาเลย์ คือ duri แปลว่า หนาม  ทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันทุเรียนมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ ทุเรียนที่ได้รับความนิยมปลูกกันมาก คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และ ก้านยาว

ประโยชน์ของทุเรียน

นอกจาก ทุเรียน จะเป็น ผลไม้ และ ยาสมุนไพร แล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ทั้งการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  • ใช้เป็นยาลดความอ้วน โดยสามารถลด ระดับไขมัน หรือ คอเลสเตอรอล เพราะทุเรียนมี สารโพลีฟีนอล ( Pholyphenols ) รับประทานแค่ 1 พู ต่อวัน เท่านั้น ห้ามเกินนี้ มิเช่นนั้นจะเป็นโทษมากกว่าประโยชน์
  • ป้องกัน การเสื่อมของอวัยวะ และ การเกิดโรค ต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง เพราะ ทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ อยู่มาก โดยเฉพาะ พันธุ์หมอนทอง ซึ่งมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
  • การกินทุเรียนเป็นประจำ ช่วยการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ มีเส้นใยอยู่เยอะ
  • มีการนำมาแปรรูป เป็นขนมหวานหลากหลายชนิด เช่น ขนมลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์ ( นิยมมาก ), ขนมปังสอดไส้ทุเรียน, ไอศกรีมทุเรียน, มิลก์เชกทุเรียน, เค้กทุเรียน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนทอด, แยมรสทุเรียน
  • เมล็ดทุเรียนใช้เป็นอาหารรับประทาน ทำให้สุก โดย การคั่ว การทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว หรือ การนึ่ง เนื้อใน อร่อย มีลักษณะคล้ายเผือก หรือ มันเทศ มีเหนียวรสชาติดีกว่า
  • ใบอ่อน และ หน่อของทุเรียน ใช้ทำอาหาร ประเภทต้ม เช่นเดียวกับผักใบเขียวได้
  • เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ทำถ่าน และ การรมควันปลา เพื่อดับกลิ่นคาว
  • มีการใช้เปลือกมาผลิตกระดาษ ซึ่งจะได้กระดาษที่เหนียว เพราะ มีเส้นใยเหนียวนุ่ม และ เหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
  • ดอกทุเรียนสามารถนำมารับประทานได้
  • เป็นต้นไม้มงคล เพราะ ทุเรียน มีคำว่า เรียน คนที่ปลูกทุเรียนในบ้าน เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จด้านการศึกษา

ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับประวัติของทุเรียนในประเทศไทย มีประวัติการเขียนบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ หัวหน้าคณะราชทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น เขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน ว่าเป็น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับการปลูกทุเรียน มีการปลูกในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่านำมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย

สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี หรอ สุ่น สุนทรเวช ได้กล่าวถึงทุเรียน ว่ามีการนำพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมากรุงเทพ ปลูกด้วยการใช้การตอนกิ่ง ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ลูกผสมมากมาย สายพันธุ์ทุเรียนมีมากถึง 227 พันธุ์

สายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย มี 6 กลุ่ม สายพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มสายพันธ์กบ กลุ่มสายพันธ์ลวง กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว กลุ่มสายพันธ์กำปั่น กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย และ กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธ์ลวง จำแนกสายพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ทุเรียนลวงทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนสายหยุด ทุเรียนชะนีก้านยาว เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กำปั่น จำแนกสายพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกำปั่นเหลือง ทุเรียนกำปั่นแดง ทุเรียนปิ่นทอง ทุเรียนหมอนทอง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กบ จำแนกสายพันธุ์ได้ 46 สายพันธุ์ เช่น ทุเรียนกบตาดำ ทุเรียนกบทองคำ ทุเรียนกบวัดเพลง ทุเรียนกบก้านยาว
  • กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ลักษณะสายพันธุ์ไม่แน่ชัด มี 83 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกะเทยเนื้อขาว ทุเรียนกะเทยเนื้อแดง ทุเรียนกะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว จำแนกสายพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนก้านยาววัดสัก ทุเรียนก้านยาวพวง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย จำแนกสายพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทุเรียนทองย้อยเดิม ทุเรียนทองย้อยฉัตร ทุเรียนทองใหม่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นทุเรียน 

ต้นทุเรียน เป็น ไม้ยืนต้นอายุยืนยาวถึง 80- 150 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทุเรียน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นทุเรียน ตั้งตรง สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม หยาบ ลอกเปลือกได้ มีรากแก้ว
  • ใบทุเรียน เป็นใบเลี้ยงคู่ ใบสีเขียว เป็นใบเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วตามกิ่งของทุเรียน ปลายใบใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบ ท้องใบเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกทุเรียน ดอกทุเรียน เป็นช่อเจริญออกจากกิ่งหรือลำต้น ใน 1 ช่อ มีดอก 1-45 ดอก เป็น ดอกสมบูรณ์เพศ
  • ผลทุเรียน ทุเรียน เป็น ผลไม้ ที่มีเนื้อหุ้มเมล็ดแบบ aril โดย ที่เปลือกรอบผลมีหนามคมล้อมรอบ แต่ละผลมี 5 พู
  • เมล็ดทุเรียน รูปทรงยาวรี ปกติจะมี สีน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลแดง

การปลูกทุเรียน

ต้นพันธุ์ นิยมใช้พันธุ์การค้า ที่มีจำหน่ายตามโรงเรือนเพาะชำทั่วไป ดินที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง  สูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3%  มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร และมีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5 สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม  อากาศร้อนชื้น ฝนกระจายตัวดี ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,600-3,000 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และ ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30% การให้น้ำ มีเพียงพอในการผลิตทุเรียนตลอดปี ประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ คือ 6.0-7.5  ในน้ำมีสารละลายเกลือไม่มากกว่า 1,400 มิลลิโมล

สรรพคุณของทุเรียน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทุเรียนด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เปลือกผลทุเรียน และ เนื้อผลทุเรียน สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

  • รากทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ และ แก้ท้องร่วง
  • เนื้อผลทุเรียน สรรพคุณช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ
  • เปลือกผลทุเรียน สรรพคุณใช้รักษาตานซาง รักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง ช่วยสมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง
  • ใบทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยรักษาแผลหนอง

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

สำหรับการรับประทานทุเรียนนิยมรับประทานเนื้อผลทุเรียน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียน ปริมาณ 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 174 กิโลแคลอรี ซึ่งมาจาก คาร์โบเดรต ไขมัน และ โปรตีน นอกจากนั้น ยังมีวิตามิน ได้แก่ วิตามินA  วิตามินB1 2 3 5 6 และ 9 วิตามินC  ธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่ Ca Fe Mg Mn P K Na Zn การบริโภคทุเรียนมากเกินไป อาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกาย มากกว่าเกิดประโยชน์ ควรรับประทานแต่พอดี วันละ 1 พู จะเป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุด

โทษของทุเรียน

สำหรับการกินทุเรียน ถึงแม้ว่ากลิ่นจะหอม รสจะหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน มีดังนี้

  • เนื้อทุเรียน ทีน้ำตาลในปริมาณมาก สำหรับผู้ป่วยที่ควรระวังในการกินทุเรียน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคไขมันในเส้นสูง
  • เนื้อทุเรียน ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีแคลอรี่สูง โดยทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงานมากถึง 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการดื่มน้ำอัดลมถึง 2 กระป๋อง
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะ ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง
  • การกินทุเรียน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มผลมแอลกอฮอล์ เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายร้อนเกินไป ทำให้เสียชีวิตได้

ทุเรียน ( Durian ) ผลไม้ยอดนิยม ฉายา ราชาแห่งผลไม้ ( King of fruit ) รชาติอร่อยมีกลิ่นเฉพาะตัว มีประโยชน์มากมาย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้ ทำความรู้จักกับทุเรียน

ดีปลี ( Long pepper ) สมุนไพรสรรพคุณหลากหลาย ลักษณะของต้นดีปลีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของดีปลี เช่น ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ โทษของดีปลี มีอะไรบ้างดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี

ดีปลี ( Long pepper ) สมุนไพรโบราณ แหล่งผลิตดีปลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยมีการปลูกดีปลีทางภาคใต้และภาคเหนือ ดีปลีนิยมนำผลมาทำเครื่องเทศ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ

ต้นดีปลี ( Long pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl พืชตระกลูพริกไทย ชื่อเรียกอื่นๆของดีปลี เช่น ดีปลีเชือก ( ภาคใต้ ) ปานนุ ( ภาคกลาง ) ประดงข้อ (ภาคกลาง) พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นดีปลี

ถิ่นกำเนิดของต้นดีปลีอยู่ที่เกาะโมลัคคาส ( Moluccas ) ที่มหาสมุทรอินเดีย เป็นไม้เถา เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ชอบแสงแดดรำไร ลักษณะของต้นดีปลี มีดังนี้

  • ลำต้นดีปลี ลักษณะเป็นเถา มีรากฝอยบริเวณข้อของลำต้น เพื่อยึดเกาะตามไม้ใหญ่ เถาดีปลีค่อนข้างเหนียว มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก
  • ใบดีปลี ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายไข่แกมขอบขนาน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ
  • ดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ลักษณะยาว ผลอัดกันแน่นเป็นช่อทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายผลดีปลีเล็กมน ผลดีปลีสดสีเขียว ผลสุกสีแดง ผิวของผลค่อนข้างหยาบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน

สรรพคุณของดีปลี

การใช้ประโยชน์จากดีปลีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ได้หลายส่วน จากข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดีปลี
พบว่าดีปลี มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยให้นอนหลับ ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ประโยชน์จากดีปลี ใช้ ผล ใบ ราก ดอก และ ผล สรรพคุณของดีปลี มีดังนี้

  • ผลดีปลี สรรพคุณแก้พิษงู ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดไข้ แก้ปวดฟัน รักษาอัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต แก้อาการปวดเมื่อยตามเส้นเอ็น แก้ท้องร่วง ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบหืด รักษาริดสีดวง แก้อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นยาขับระดู
  • รากดีปลี สรรพคุณช่วยลดไข้ รักษาอัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต แก้ท้องร่วง แก้อาการจุกเสียด รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยขับแก๊สในในกระเพาะอาหาร
  • เถาดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้อืดเฟ้อ รักษาท้องร่วง รักษาแผลฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อยตามตัว ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบดีปลี สรรพคุณแก้ไอ แก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดเส้นเอ็น
  • ดอกดีปลี สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาโรคหืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของดีปลี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดีปลี ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการรับประทานดีปลี ดังนี้

  • การรับประทานดีปลีมากเกินไป จะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ หรือ แสบทวารหนักต้อนขับถ่าย เพราะ ดีปลีมีรสเผ็ดร้อน
  • การกินดีปลีทำให้ร่างกายร้อน สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้ ไม่ควรรับประทานดีปลี เพราะ จะทำให้ไข้สูงขึ้น
  • สตรีมีตั้งครรภ์ ห้ามรับประทานดีปลี อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ เพราะทำให้ความร้อนในร่างกายสูง เป็นอันตรายต่อบุตรในท้อง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย