เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย