อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โรคมะเร็งตับ อาการมีก้อนเนื้อที่ชายโครงด้านขวา ปวดท้อง ท้องบวม ตาเหลือง อ่อนเพลีย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งตับ แนวทางการรักษาและป้องกันมะเร็งตับทำอะไรได้บ้างโรคมะเร็งตับ มะเร็ง การรักษามะเร็งตับ โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งตับ ( liver cancer ) เป็นภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ตับ เป็นโรคที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคมะเร็งตับที่พบมากในคนไทย เป็น มะเร็งตับ ที่เรียกว่า เอชซีซี ( HCC , hepatocellular carcinoma ) มักพบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากตัวเนื้อเยื่อตับเอง และ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อวัยวะอื่น โดยทั่วไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ

สำหรับมะเร็งตับเกิดจากเซลล์ที่ตับเกิดการกลายพันธุ์ จนส่งผลให้เซลล์ที่ตับเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ เนื้องอก แต่สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่สามารถระบุสาเหตุทัี่ชัดเจนได้ แต่สามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ มีดังนี้

  • ภาวะป่วยโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคตับแข็ง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • การดื่มสุรา การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน ( Aflatoxins ) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อรา
  • การสูบบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีอันตรายกลุ่มยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ ( Vinyl Chloride ) และ สารหนู ( Arsenic )
  • การใช้ยากลุ้มยา อนาโบลิคเสตียรอยด์ ( Anabolic steroids ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายซึ่งนักกีฬาชอบใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ

อาการโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับมักจะไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก ซึ่งมักจะแสดงอาการของโรคเมื่อเกิดความร้ยแรงแล้ว ซึ่งลักษณะอาการของโรคมะเร็งตับ สามารถสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร และ อิ่มง่ายถึงแม้ว่ารับประทานเพียงเล็กน้อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บท้อง โดยเจ็บท้องส่วนบนด้านขวา และช้องท้องบวม มีก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา
  • ผิวพรรณผิดปรกติ ผิวเหลืองซีด คันตามผิวหนัง และ ตาเหลือง
  • อุจจาระผิดปรกติ อุจจาระมีสีซีด
  • มีไข้ และ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย

ระยะของโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งระยะของโรค ได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง ถึง ระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะแรงขึ้นเรื่อยๆตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับระยะแรก จะเกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ แต่ไม่แสดงอาการของโรค
  • มะเร็งตับระยะที่สอง ก้อนเนื้อที่ตับมาปริมารมากขึ้น และ มีขนาดใหญ่ขึ้น และ มีการลุกลามมากขึ้น
  • มะเร็งตับระยะที่สาม ลักษณะก้อนเนื้อที่ตับมีขนาดใหญ่มากขึ้น และ ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะข้างเคียง สามารถแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้
  • มะเร็งตับระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย เข้าสู่อวัยะต่างๆที่สำคัญตของร่างกาย ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักถามประวัติ และ การตรวจช่องท้องด้วยการอัลตราซาวด์ การเอกซเรย์ การเจาะเลือด และ การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูเซลล์ว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

การรักษาโรคมะเร็งตับ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตัย สามารรักษาได้หากสามารถตรวจสอบพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้โดยการ ผ่าตัด การเปลี่ยนตับ การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง แต่การพิจารณาการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆและความพร้อมในการรักษาของผู้ป่วย

  • การผ่าตัด ( Surgical Resection ) หากพบเซลล์มะเร็งในระยะเริ่ม สามารถผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก การผ่าตัดแบบนี้อาจไม่ปลอดภัย
  • การผ่าตัดเปลี่ยนตับ การเปลี่ยนตับใหม่ต้องได้รับบริจาค และ ตับต้องสามารถเข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ การรักษาวิธีนี้มีความเสี่ยงการต่อต้านตับใหม่ของร่างกายสูง
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง และ ทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง ซึ่งการฉายรังสี อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อตับและอวัยวะรอบข้างตับได้ ร่างกายอาจมีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน
  • การทำเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เป็นการรับประทาน หรือ ฉีดยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้ผู้ป่วยจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน เช่น ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ผมร่วง ขาบวม เจ็บปาก และ ท้องเสีย
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง ( Targeted Drug Therapy ) เป็นวิธีการรักษาด้วยยา เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงที่เซลล์มะเร็งตับ

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ตับไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งสิ่งที่ทำได้ คือ การลดความเสี่ยงทุกอย่างที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับ รายละเอียด ดังนี้

  • รักษาโรคตับให้หายขาด เนื่องจากโรคตับหากเกิดอาการเรื้อรังมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้
  • เลิกดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดไขมัน แป้ง เพิ่ม กากใย ผัก พลไม้ให้มากขึ้น
  • มั่นตรวจสุขภาพร่ากายประจำปี

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย