โรคระบบประสาท สมอง และ ไขสันหลัง มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง เซลล์ประสาท ทำให้การควบคุมร่างกายผิดปรกติ ความรุนแรงของโรคสูง โรคประสาทและสมองมีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกันโรค
โรคประสาท โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

โรคระบบประสาทและสมอง ( Nervous system disease ) คือ ภาวะการเกิดโรคที่ ระบบประสาทและสมองของมนุษย์ ซึ่งทำให้การทำหน้าที่ควบคุมและส่งการอวัยวะต่างๆของร่างกายผิดปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท และ โรคเกี่ยวกับสมอง จัดเป็นโรคร้ายแรงส่งผลต่อการดำรงค์ชีวิตเป็นอย่างมาก

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง

โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ภาวะความผิดปรกติของระบบประสาทและสมอง มีโรคอะไรบ้าง สาเหตุ อาการ และ แนวทางการรักษาโรค

ระบบประสาทถูกทำลาย ระบบประสาทและสมอง ระบบประสาทถูกทำลาย
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เหน็บชา โรคเหน็บชา เหน็บชา
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท หน้าเบี้ยวครึ่งซีก สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก เด็กไฮเปอร์
ออทิสติก โรคเด็ก โรคสมองและประสาท ออทิสติก อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง อัลไซเมอร์
ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ไข้กาฬหลังแอ่น โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค โรคซีพี สมองพิการโดยกำเนิด
โรคไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ โรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ
โรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ โรคลมชัก โรควัวบ้า สารพรีออน โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรควัวบ้า
โรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง โรคฝีในสมอง โรคพาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ โรคพาร์กินสัน
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ โรคเนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง สมองติดเชื้อ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองขาดเลือด โรคสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคสมองฝ่อ โรคสมอง การรักษาสมองฝ่อ ความจำเสื่อม โรคสมองฝ่อ
  • โรคบาดทะยัก
  • โรคฉี่หนู
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • อัมพาต
  • โรคอัมพฤกษ์
  • โรคสมองฝ่อ
  • โรคเนื้องอกในสมอง
  • โรคบ้านหมุน
  • โรคระบบประสาทถูกทำลาย
  • โรคไฮเปอร์
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคหลอดเลือดในสมองแตก
  • โรคงูสวัด
  • โรคสมองพิการ
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคกระดูกทับเส้นประสาท
  • โรคปากเบี้ยว
  • ลมบ้าหมู
  • โรคเหน็บชา
  • โรคลมชัก
  • โรควัวบ้า
  • โรคออทิสติก
  • โรคฝีในสมอง
  • โรคไมเกรน
  • โรคไบโพล่าร์

ระบบประสาท คือ ส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และ ประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และ สร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน ระบบประสาทของมนุษย์ มีความคิด และ อารมณ์ จึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

ชนิดของระบบประสาท

ระบบประสาท สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และ ระบบประสาทส่วนกลาง มีรายละเอียด ดังนี้

ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system ) คือ ระบบประสาทที่เป็นศูนย์กลาง การควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท รายละเอียด ดังนี้

  • สมอง ( Brain ) คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่การจดจำ คิดคำนวน และ แสดงความรู้สึกต่างๆ สมองของมนุษย์ มี 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และ สมองส่วนท้าย โดยรายละเอียดมี ดังนี้
    • สมองส่วนหน้า ( Forebrain ) เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ ออลเฟกทอรีบัลบ์ ( Olfactory bulb )  ซีรีบรัม ( Cerebrum ) ทาลามัส ( Thalamus ) และ ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus )
    • สมองส่วนกลาง ( Midbrain ) ทำหน้าที่เป็นสถานีรับ และส่งการทำงานไปยังสมองส่วนหน้าและส่วนท้าย เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้า ส่วนนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับดวงตา
    • สมองส่วนท้าย ( Hindbrain ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย มี 3 ส่วน ประกอบด้วย พอนส์ ( Pons ) เมดัลลา ( Medulla ) ซีรีเบลลัม ( Cerebellum )
  • ไขสันหลัง ( Spinal cord ) คือ เนื้อเยื่อประสาทที่อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง ที่กระดูกสันหลังของมนุษย์ มีเส้นประสาทไขสันหลัง ( Spinal nerve ) 31 คู่ มีรากประสาท เส้นประสาทไขสันหลังที่สำคัญ เช่น เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ มี 8 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณอก มี 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณเอว มี 5 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ มี 5 คู่ และ เส้นประสาทไขหลังสันบริเวณกระดูกก้นกบ มี 1 คู่
  • เซลล์ประสาท ( Neuron ) คือ เซลล์ประสาทส่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วย เซลล์ประสาทรับความรู้สึก ( Sensory neuron ) เซลล์ประสาทสั่งการ ( Motor neuron ) และ เซลล์ประสาทประสานงาน ( Interneuron )

ระบบประสาทส่วนปลาย ( Peripheral nervous system ) คือ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากร่างกาย และ ส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เรียกอีกช่ื่อหนึ่ง ว่า เซลล์ประสาทส่วนนำเข้าคำสั่ง ( Afferent neurons ) ระบบประสาทส่วนปลาย มี 2 แบบ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ (  Voluntary nervous system ) ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ รับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
  • ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ( Involuntary nervous system ) ทำหน้าที่เป็นระบบประสาทที่ทำงานอัตโนมัติ เมื่อถูกกระตุ้นจากสื่งเร้าภายนอก

สาเหตุการเกิดจากโรคระบบประสาทและสมอง

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เป็นโรคอันตราย หากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงค์ชีวิตอย่างรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

  1. ความเสื่อมของเซลล์สมองตามวัย เซลล์สมองและระบบประสาทจะเสื่อมลงไปเรื่อยๆหากอายุเพิ่มขึ้น
  2. ภาพวะสุขภาพของเลือดและหลอดเลือด การสะสมของไขมัน และ คอเรสเตอรัล ทำให้กระตุ้นการเกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับสมอง และ ระบบประสาท
  3. ภาวะการถูกระทบกระเทือนทางสมอง และ ระบบประสาท อย่างรุนแรง
  4. ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ
  5. การเกิดเนื้องอกในสมอง หรือ มะเร็งที่สมอง
  6. การได้รับสารพิษที่ระบบสมอง
  7. ความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่กำเนิด

ลักษณะของอาการโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง จะแสดงอาการ 2 ลักษณะที่เกิดจากสมอง และ ระบบประสาทของร่างกาย โดยลักษณะของอาการที่สามารถสังเกตุได้ มีดังนี้ 

  1. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  2. มีอาการปวดหัว และ ปวดหัวอย่างรุนแรง
  3. มีอาการมึนๆงงๆ เซื้องซึม
  4. กล้ามเนื้อของใบหน้าไม่ปรกติ เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว เป็นต้น
  5. การทรงตัวของร่างกายไม่ดี
  6. มีอาการชา ซึ่งชาตามมือ เท้า และ ใบหน้า
  7. ไม่มีแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
  8. อาจมีอาการชัก
  9. มีอาการโคม่า หลับสนิทไม่รู่สึกตัว

การตรวจวินิจฉัยโรคระบบประสาทและสมอง 

สำหรับโรคระบบประสาทและสมอง นั้น หากเกิดขึ้นแล้ว แพทยต้องมีการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด ทั้ง การตรวจประวัติการรักษา ประวัติการใช้ยา ประวัติการประสบอุบัติเหตุ ตรวจการตอบสนองของร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจคลื่นสมอง  เอกซ์เรยย์คอมพิวเตอร์เอมอาร์ไอ ตรวจไขสันหลัง  และ ตัดชิ้นเนื้อสมองตรวจทางพยาธิวิทยา

การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทและสมอง

โรคระบบประสาทและสมอง นั้นโรคหากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ คือ การดูแลร่างกาย และ การป้องกันปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค โดย แนวทางการป้องกัน การเกิดโรคระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  2. รักษาสุขภาพจิต โดยให้ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียดมากเกินไป
  3. ไม่สูบบุหรี่
  4. ไม่ดื่มสุรา และ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก
  7. หมั่นบริหารสมอง หากิจกรรมที่ได้ฝึกสมองบ่อยๆ
  8. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุกระแทกร่างกายอย่างรุนแรง

โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท ทำให้การควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายผิดปรกติ ความผิดปรกติของประสาทและสมองมีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการและการรักษา

Last Updated on September 9, 2022