ฝีในสมอง Brain abscess การติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงสูง ปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกายโรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง

โรคฝีสมอง ( Brain abscess ) คือ ภาวะการติดเชื้อในสมองจนทำให้เกิดฝี โรคชนิดนี้เป็นโรคอันตรายมีความรุนแรงของโรคสูง การติดเชื้อภายในสมองและเนื้อเยื่อใกล้เคียง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ารุกรานร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้าสู่สมองทางช่องทางต่างๆ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยสุด คือ สเตรปโตคอคคัส เป็นเชื้อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต โรครุนแรงพบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจพิการ ส่วนผู้ใหญ่มักป่วยจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน จากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองและเกิดเป็นฝี โรคนี้ลักษณะการใกล้เคียงกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดฝี มาจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมีหลายช่องทาง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ติดเชื้อโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการติดเชื้อหลังจากที่ผ่าตัด
  • ติดเชื้อจากอวัยวะอื่นและลามเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่สมองจึงทำให้เกิดฝีที่สมอง
  • อาการป่วยจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการของโรคฝีในสมอง

สำหรับการแสดงอาการของฝีในสมอง จะแสดงอาการผิดปรกติที่หัวและการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น มีไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง มีหนองออกจากหู ชัด คลื่นไส้อาเจียน สายตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ซึ่งอาการของโรคนี้ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแสดงอาการจากการติดเชื้อที่ศรีษะ และ อาการจากการติดเชื้อจากเนื้อสมองถูกกดทับ โดยรายละเอียด ดังนี้

อาการฝีในสมองจากการติดเชื้อในศีรษะ ผู้ป่วยจะมีไข้ และเพิ่มอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

อาการฝีในสมองจากการถูกกดทับของเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง ชา และ ชัก ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร ความจำเสื่อม ความแจ่มชัดของสายตาลดลง สายตาแคบ ตามัว เดินเซ และ สมองเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจดูจากอาการ ตรวจประวัติการรักษา สังเกตุอาการ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ ทำเอ็มอาร์ไอ เจาะนํ้าไขสันหลังส่งตรวจเพาะเชื้อ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณที่เป็นฝี

การรักษาโรคฝีในสมอง

แนวทางการรักษาโรคฝีในสมอง ต้องตรวจหาตำแหน่งของฝี และ ขนาด จากนั้นจะกำจัดเอาก้อนฝี หรือ ระบายออกหนองออก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่พบในก้อนฝีนั้น การให้ยาต้านเชื้อที่ติดจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนฝีหายโดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลา แต่หากฝีไม่หาย ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเอาฝีออก และ ต้องรักษาด้วยการควบคุมเชื้อโรค เพื่อยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดโรคฝีในสมองซ้ำอีกครั้ง

การป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับโรคฝีในสมองเกิดจากการติดเชื้อที่สมอง ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันภาวะการติดเชื้อโรคทั้งหมด โดยให้รักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อศีรษะ

 

โรคฝีในสมอง ( Brain abscess ) ภาวะการติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมักปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกาย แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร 

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อและอุบัติเหตุที่สมองอย่างรุนแรง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง ชักเกรง คลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ไม่ควรเขย่าเด็กอ่อน อันตรายถึงชีวิตเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง สมองติดเชื้อ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา บริเวณเยื่อหุ้มรอบสมองและไขสันหลัง รวมถึงการกระแทกอย่างรุนแรงที่สมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการนี้พบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ ลักษณะของอาการ ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และมีไข้ ซึ่งเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรง

โรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มสมองเป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ ปกป้องสมอง มีความแข็งแรง หากเกิดการติดเชื้อก็จะกระทบต่อการทำงานของสมอง เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ จากการใกล้ชิดผู้ป่วย ทางการหายใจ การไอ การจาม สารคัดหลั่งต่างๆ ผู้ที่ป่วยโรคนี้มักจะเสียชีวิตในอัตรา 25-30 เปอร์เซนต์

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สำหรับสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วมมากเกิดจากการติดเชื้อโรค และ เชื้อไวรัส คือ สาเหตุหลักของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รองลงมา คือ เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อรา ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดของสาเหตุจากการติดเชื้อ มีดังนี้

  • เชื้อไวรัสที่ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ ไวรัสโรคคางทูม ( Mumps ) ไวรัสโรคเริม ( Herpes ) ไวรัสจากโรคอีสุกอีใส ( Chicken pox ) และ ไวรัสจากไข้หวัด ( Influenza ) เป็นต้น
  • เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เยื่อหุ้มสมอง ลักษณะอาการมักรุนแรง ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียโรคไข้กาฦหลังแอ่น ( Meningococcus ) เชื้อแบคทีเรียโรคปอดอักเสบ ( Pneumococcus ) เชื้อแบคทีเรียโรคฮิบ ( Haemophilus influenzae Type B ) เชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli) เชื้อวัณโรค (TB)
  • เชื้อราที่ทำใหเเยื่อหุ้มสมองอักเสบ พบได้น้อยที่สุด แต่สำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างผู้ติดเชื้อเอดส์มักมีโอกาสเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

นอกจากสาเหตุการเกิดโรคจากการติดเชื้อโรคแล้ว ยังมสาเหตุที่มีโอกาสเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น การอักเสบของอวัยวะต่างๆ เช่น ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อในหู อุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่สมอง การใช้เข็มร่วมกัน การผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง ภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรงคลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก หมดสติ กระสับกระส่าย เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มช่วงอายุ คือ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 เดือน และ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบของคนอายุ 2 ปีขึ้นไป รายละเอียด ดังนี้

อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 2 ปีขึ้นไป

  • คอแข็ง
  • มีอาการสับสน
  • มีไข้ขึ้นสูงอย่างเฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการชัก
  • แพ้แสง
  • เบื่ออาหารผิดปรกติ หรือ อยากรับประทานอาหารมากว่าปรกติ
  • ง่วงนอน และ ตื่นนอนยาก
  • ผิวหนังมีผื่น

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กอายุไม่เกิน 1 เดือน

  • ร้องไห้ตลอดเวลา
  • มีไข้สูง
  • ตัวและลำคอแข็ง
  • นอนมากเกินไป
  • เคลื่อนไหวน้อย
  • กระหม่อมนูน
  • ดื่มนมได้น้อย

การตรวจวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษา ประวัติการประสบอุบัติเหตุ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจระบบประสาท เจาะน้ำไขสันหลัง เจาะน้ำเลี้ยงสมอง และ ตรวจเลือด

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เมื่อแพทย์ตรวจพบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง แพทย์จะทำการใช้ยาฆ่าเชื้อโรค ส่วนหากอาการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้เองภายใน 2 สัปดาห์ และ นอกจากนั้น คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เช่น การนอนพักผ่อน ให้ดื่มน้ำมากๆ และ รับประทานยาลดไข้และยาแก้ปวด

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อและการกระแทกที่สมองอย่างรุนแรง ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคนี้ต้องหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและการติดเชื้อโรคต่างๆที่จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีแนวทางดังนี้

  • หลักเลี่ยงแหล่งสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรคต่างๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการติดเชื้อและอุบัติเหตุที่สมองทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง ชักเกรง คลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ไม่ควรเขย่าเด็กอ่อน โรคเกี่ยวกับสมอง โรคร้ายแรง อันตรายถึงชีวิต

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย