บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม นิยมนำมาทำยา ต้นบอระเพ็ดเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

บอระเพ็ด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson ชื่อเรียกอื่นๆของต้นบอระเพ็ด เช่น เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวดำ หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เถาหัวด้วน จุ่งจะลิง เจ็ดหมุนปลูก เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด คือ พืชประเภทไม้เลื้อย ซึ่งเป็นพืชที่สามารถพบด้ตามป่า โดยเฉพาะป่าดิบแล้ง คนไทยนิยมใช้เป็นสมุนไพร ยารักษาโรค สารพัดปรัโยชน์ นิยมนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยา เลือกส่วนเถา ที่มีลักษณะไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป บอระพ็ดมีรสชาติขมจัด

ลักษณะของต้นบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พบมากตามป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ ที่มีความชื้น ต้นบอระเพ็ดจะเกาะตามพุ่มไม้ใหญ่ เถาบอระเพ็ดจะเลื้อยตามต้นไม้ต่างๆ สำหรับการปลูกบอระเพ็ด สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ และ การปักชำ ลัษณะของต้นบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ลำต้นบอระเพ็ด เป็นลักษณะเถาไม้เนื้ออ่อน ยาวมากกว่า 10 เมตร ผิวของลำต้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เถามีสีเขียวเข้ม และหากเถามีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เถาบอระเพ็ดน้ำยางสีเหลือง เถาบอระเพ็ดรสขมจัด
  • ใบบอระเพ็ด เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกันจามเถา ลัษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ เหมือนใบพลู ขอบใบเรียบ ปลายใบมีหยัก ใบบอระเพ็ดมีสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนๆ
  • ดอกบอระเพ็ด ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เกสรมีสีขาว
  • ผลบอระเพ็ด ลักษณะกลมรี มีเปลือกบางๆห่อหุ้ม ผลบอระเพ็ดมีสีเขียว และ ผลสุกมีสีเหลือง

คุณค่าทางโชนาการของบอระเพ็ด

บอระเพ็ดมีสารเคมีหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยองค์ประกอบทางเคมีของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • สารเคมีที่ทำให้เกิดรสขม คืิอ picroretin , columbin , picroretroside , tinosporide , tinosporidine
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอปีนอยส์ คือ Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A , Tinocrisposide , tinosporan
  • สารเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ คือ N-formylannonaine , N-acetylnornuciferine
  • สารเคมีกลุ่มอามีน คือ N-trans-feruloyl tyramine , N-cis-feruloyl tyramine
  • สารเคมีกลุ่มฟีนอสิคไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ บำรุงร่างกาย โดยบอระเพ็ด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทุดส่วนประกอบของต้นบอระเพ็ด ทั้ง ใบบอระเพ็ด เถาบอระเพ็ด รากบอระเพ็ด และ ผลบอระเพ็ด โดย สรรพคุณของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ใบบอระเพ็ด สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รักษารังแค รักษาชันนะตุ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดความอ้วน ลดความดัน บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ สร้างความชุ่มชื่นในลำคอ บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับพยาธิ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เถาบอระเพ็ด สามารถใช้แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย บำรุงเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวด ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รากบอระเพ็ด เป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันมะเร็ง ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยดับพิษร้อน ช่วยลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผลบอระเพ็ด สามารถใช้ลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ดอกบอระเพ็ด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ช่วยฆ่าพยาธิในฟัน และ ช่วยฆ่าพยาธิในหู แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของบอระเพ็ด

สำหรับต้นบอระเพ็ด มีสารเคมีต่างๆมากมาย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของบอระเพ็ด คือ ความขม การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานรากของบอระเพ็ด เป็นเวลานานส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงได้
  • การศึกษาสารสกัดจากบอระเพ็ด ใน หนูขาว พบว่าการบริโภคบอระเพ็ดในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานเป็นพิษต่อไต เป้นพิษต่อตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับและ โรคไตไม่ควรรับประทานบอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม ลักษณะของต้นบอระเพ็ด เป็น เถาไม้เลื้อย ประโยชน์ของบอระเพ็ด และ สรรพคุณของบอระเพ็ด เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพริกไทย ( Pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกไทย เช่น พริกขี้นก , พริกไทยดำ ,  พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย เป็นต้น พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกมี 6 สายพันธุ์ คือ พริกไทยพันธุ์ใบหนา พริกไทยพันธุ์บ้านแก้ว พริกไทยพันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พริกไทยพันธุ์ปรางถี่หยิก พริกไทยพันธุ์ควายขวิด และ พริกไทยสายพันธุ์คุชชิ่ง โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และ จังหวัดระยอง

พริกไทยกับอาหาร

สำหรับการนำพริกไทยมาทำอาหาร มักจะนำพริกไทยมาทำเครื่องเทศ และ ปรุงอาหาร ให้รสชาติเผ็ดร้อน ให้กลิ่นหอม ช่วยในการดับคาวอาหาร นอกจากนี้พริกไทยสามารถช่วยในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น

ชนิดของพริกไทย

สำหรับชนิดของพริกไทย ที่นำมาใช้ในการทำอาหาร มี 2 ชนิด คือ พริกไทยขาว และ พริกไทยดำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยดำ คือ เมล็ดพริกไทยแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก โดยนำมาตากแดดจนแห้งเป็นสีดำ โดยไม่ปลอกเปลือกเมล็ด
  • พริกไทยขาว คือ เมล็ดพริกไทยที่สุกเต็มที่ โดยนำมาแช่น้ำ ให้เปลือกของเมล็ดพริกไทยลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปตากแห้ง

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย เป็นพืชล้มลุก ปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน สามารถขยายพันธ์ได้โดยการการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะของต้นพริกไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริกไทย ลักษณะเป็นเถา เลื้อยตามเสาหรือกิ่งไม้ต่างๆ ลำต้นเป็นข้อ เป็นปล้องๆ ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นอ่อนมีสีเขียว และ ลำต้นแก่มีสีนํ้าตาล รากของพริกไทยออกตามข้อมีหน้าที่ช่วยเกาะเสาหรือกิ่งไม้
  • ใบพริกไทย เป็นใบเลี้ยงคู่ โดยแตกใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ใบหนา ผิวใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกพริกไทย ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกจากปลายยอด ดอกอ่อนมีสีเขียวอมขาว ส่วนดอกแก่มีสีเขียว
  • ผลพริกไทยหรือเมล็ดพริกไทย มีลักษณะกลม และ เล็ก ผลจับกลุ่มกันเป็นช่อๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเขียวเข้มขึ้น เปลือกผลพริกไทยแข็ง รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน

คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย

สำหรับพริกไทยนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ทั้งผลสด ผลแห้ง โดยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพริกไทยดำ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี  มีสารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 12.46 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม ไขมัน 3.26 กรัม คาร์โบไฮเดรต 63.95 กรัม กากใยอาหาร 25.3 กรัม แคลเซียม 443 มิลลิกรัม เหล็ก 9.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 171 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 158 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1329 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม สังกะสี1.19 มิลลิกรัม  ไทอะมีน 0.108 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.180 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.143 มิลลิกรัม วิตามินบี6  0.291 มิลลิกรัม โฟเลต 17 ไมโครกรัม วิตามินเอ 27 ไมโครกรัม และ วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม

น้ำมันพริกไทย ( Pepper oil ) คือ น้ำมันหอมระเหยที่สามารถสกัดได้จากพริกไทย โดยน้ำมันหอมระเหยพริกไทยมีกลิ่นหอม โดยสารต่างๆที่พบในน้ำมันพริกไทย ประกอบด้วย α – thujene , α – pinene , camphene , sabinene , β-pinene , myrcene , 3-carene , limonene และ β-phellandren

ผลผลิตจากพริกไทย

สำหรับผลผลิตต่างๆจากพริกไทย มี 4 ลักษณะ คือ พริกไทยสด พริกไทยดำ พริกไทยขาว และ พริกไทยป่น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยสด ( Fresh pepper ) คือ ผลพริกไทยสด มีสีเขียวช่วยดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม
  • พริกไทยดำ ( black pepper ) คือ ผลพริกไทยแก่ตากแห้ง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร รสเผ็ดร้อน
  • พริกไทยขาว ( white pepper ) คือ ผลพริกไทยนำมาแช่น้ำ และ นวดเพื่อแยกเปลือกออก จนเหลือแต่เมล็ดสีขาว จากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด
  • พริกไทยป่น ( powder pepper ) คือ พริกไทยขาวนำมาบดให้ละเอียด มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด

สรรพคุณของพริกไทย

สำหรับประโยชน์ของพริกไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เมล็ดพริกไทย เถาพริกไทย รากพริกไทย ดอกพริกไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดพริกไทย สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นประสาท แก้โรคลมบ้าหมู ช่วยบำรุงร่างกาย  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มความอบอุ่นของร่างกาย ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ไอ ช่วยลดไข้ บำรุงเลือด  ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูขาว ช่วยแก้อักเสบ รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงผิว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกพริกไย สรรพคุณแก้อาการตาแดง แก้อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ช่วยผ่อนคลาย
  • ลำต้นพริกไทย หรือ เถาพริกไทย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ท้องร่วง
  • รากพริกไทย สรรพคุณแก้เวียนหัว แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม
  • ใบพริกไทย สรรพคุณแก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันพริกไทย สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท

โทษของพริกไทย

สำหรับพริกไทยมีคุณสมบัติร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • พริกไทย รสเผ็ดร้อน สำหรับคนที่ป่วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • การกินพริกไทยมากเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบบ่อย เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง
  • พริกไทยมีรสเผ็ด สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระตายเคือง

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย ประโยชน์และสรรพคุณของพริกไทย เช่น ขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย