ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง

ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย