รากสามสิบ สมุนไพร บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เชื่อกันว่าเมื่อกินรากสามสิบ ทำให้ผิวพรรณดี สวยงามได้ตลอดทุกวัย ช่วยให้มีบุตร และ อ่อนวัยเสมอ

รากสามสิบ สมุนไพร สรรพคุณรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ คือ พอควายเมะ เตอสีเบาะ จ๋วงเครือ สามร้อยราก ผักชีช้าง ผักหนาม เป็นต้น รากสามสิบ มีชื่อเรียกในตำรับยาบำรุงสตรี ว่า สาวร้อยผัว และในตำรับยาบำรุงบุรุษว่า ม้าสามต๋อน สรรพคุณต้านทานโรคต่างๆมากมาย ต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรียได้ดี

รากสามสิบ สมุนไพรไม้ชนิดเถา เป็นไม้เนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นได้ดีและมีหนามแหลม พบมากในประเทศไทย และประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เจริญเติยโตได้ดี ในป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือ ตามเขาหินปูนในเขตแล้ง

วิธีเตรียมน้ำรากสามสิบ นิยมใช้ส่วนราก มาทำเป็นยา ล้างรากให้สะอาด และตากรากจนแห้ง นำราก แห้งประมาณ 90-100 กรัม ใส่หม้อต้มน้ำสะอาด รอจนน้ำเปลี่ยนสี ใช้ดื่มตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชประเภทไม้เถา พบได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อนต่างๆ เช่น ไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสตรี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน พบสาร steroidal saponins มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สรรพคุณและประโยชน์ของรากสามสิบ มีดังนี้

  • แก้ปัญหาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการผิดปกติต่างๆจาก ภาวะหมดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • สร้างสมดุลระบบฮอร์โมนสตรี แก้อาการวัยทอง ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนมขณะให้นมบุตร ป้องกันการแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • เพิ่มขนาดหน้าอก สรพคุณช่วยช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นคาวปลาในช่องคลอด สรรพคูรช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังคลอด สรรพคุณช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกินตามเอว ต้นแขน ตันขา
  • บำรุงโลหิต
  • บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวสวยใส ช่วยชะลอความแก่ชราก่อนวัยอันควร
  • ลดกลิ่นตัวในผู้ที่กลิ่นตัวแรง ลดกลิ่นปาก
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง
  • มีฤทธิ์ยากระตุ้นประสาท
  • ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และ ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ใช้รักษาโรคคอพอก
  • นิยมใช้รากต้มกับน้ำดื่มสะอาด ใช้เป็นเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาท้องอืดท้องเฝ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
  • รักษาอาการท้องเสีย โรคบิด
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ในผู้ที่ปัสสาวะไม่ออก
  • บำรุงตับและปอดให้ทำงานเป็นปกติ
  • ใช้แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย
  • บรรเทาอาการแพ้ ระคายเคืองต่างๆ
  • แก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของรากสามสิบ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ เป็นยาบำรุงหรือรักษาโรคนั้น ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากสามสิบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน หากรับประทานจะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนสตรีมากเกินไป
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป

กล้วย สมุนไพร ผลไม้ รับประทานง่าย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยงาช้าง กล้วยหิน กล้วยให้พลังงานสูง มีแร่ธาตุและวิตามินครบ

กล้วย สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณกล้วย

ประโยชน์ของกล้วย นอกจากกล้วยจะเป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมายแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้วยอีกมากมาย ได้แก่ ผลกล้วยใช้เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว โดยนำมาเป็นส่วนประกอบของครีมมาร์กหน้า มีการนำเปลือกกล้วย มาแก้ผื่นคัน ตรงบริเวณที่ยุงกัด ใบกล้วยนำมาใช้เป็นเครื่องใช้บรรจุอาหารภายในบ้าน เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้ โดยต้องเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

ต้นกล้วย ภาษาอังกฤษ เรียก banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วย คือ Musa balbisiana Musa acuminata กล้วยที่กล้วยกินผลสดได้ เช่น  กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และ กล้วยที่ต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด ซึ่งแต่ละชนิดพบแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะของต้นกล้วย

ต้นกล้วย เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วย ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วย เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางอาหารของกล้วย 

การรับประทานกล้วย 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 89 กิโลแคลอรี ซึ่งมากจากน้ำตาล และ คาร์โบไฮเดรต ประเภทแป้งกล้วย มีไฟเบอร์ ไขมัน โปรตีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี1, 2, 3, 5, 6 และ 9 วิตามินซี แร่ธาตุต่างๆ Fe, Mg, Mn, P, K, Na และ Zn

สรรพคุณของกล้วย 

นอกจากกล้วยจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง และ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ได้แก่

  • บำรุงร่างกายโดยรวม เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอความแก่ หน้าเด็กกว่าวัย
  • ลดความอ้วน โดยรับประทานกล้วยแทนขนมจุกจิก ทำให้อิ่มท้อง ไม่อยากรับประทานมากเกินความจำเป็น
  • ช่วยอาการนอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย โดยรับประทานกล้วยก่อนนอน
  • ลดอาการหงุดหงิด จากความเครียด หรือ จากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ตามรอบเดือนของสตรี
  • แก้อาการเมาค้าง ช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำตาลของร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกินไป
  • แก้อาการท้องผูกเพราะมีเส้นใยมาก ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี
  • บรรเทาอาการของริดสีดวงทวารช่วยให้อาการปวดลดลงขณะขับถ่าย
  • ลดกรดในกระเพาะ ลดอาการแสบท้องจากกรดในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง เพราะในผลกล้วยมีธาตุเหล็กสูง
  • สรรพคุณรักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตก
  • รักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง ช่วยลดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร
  • สรรพคุณรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด ช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี
  • ลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่อง
  • บรรเทาอาการแพ้ท้อง
  • บรรเทาอาการนิ่วในไตได้ดี

โทษของกล้วยน้ำว้า

ถึงแม้ว่ากล้วยจะมีประโยชน์สามารถรับประทานและใช้ประโยชน์ได้มาก แต่หากใช้ส่วนที่เป็นพิษหรือรับประทานมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกล้วย มีดังนี้

  • ไม่ควรกินยางกล้วบ เนื่องจากยางกล้วยมีความเป็นพิษ คือ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์
  • การกินผลกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ มีแก๊สในลำไส้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย