พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพริกไทย ( Pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกไทย เช่น พริกขี้นก , พริกไทยดำ ,  พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย เป็นต้น พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกมี 6 สายพันธุ์ คือ พริกไทยพันธุ์ใบหนา พริกไทยพันธุ์บ้านแก้ว พริกไทยพันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พริกไทยพันธุ์ปรางถี่หยิก พริกไทยพันธุ์ควายขวิด และ พริกไทยสายพันธุ์คุชชิ่ง โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และ จังหวัดระยอง

พริกไทยกับอาหาร

สำหรับการนำพริกไทยมาทำอาหาร มักจะนำพริกไทยมาทำเครื่องเทศ และ ปรุงอาหาร ให้รสชาติเผ็ดร้อน ให้กลิ่นหอม ช่วยในการดับคาวอาหาร นอกจากนี้พริกไทยสามารถช่วยในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น

ชนิดของพริกไทย

สำหรับชนิดของพริกไทย ที่นำมาใช้ในการทำอาหาร มี 2 ชนิด คือ พริกไทยขาว และ พริกไทยดำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยดำ คือ เมล็ดพริกไทยแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก โดยนำมาตากแดดจนแห้งเป็นสีดำ โดยไม่ปลอกเปลือกเมล็ด
  • พริกไทยขาว คือ เมล็ดพริกไทยที่สุกเต็มที่ โดยนำมาแช่น้ำ ให้เปลือกของเมล็ดพริกไทยลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปตากแห้ง

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย เป็นพืชล้มลุก ปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน สามารถขยายพันธ์ได้โดยการการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะของต้นพริกไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริกไทย ลักษณะเป็นเถา เลื้อยตามเสาหรือกิ่งไม้ต่างๆ ลำต้นเป็นข้อ เป็นปล้องๆ ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นอ่อนมีสีเขียว และ ลำต้นแก่มีสีนํ้าตาล รากของพริกไทยออกตามข้อมีหน้าที่ช่วยเกาะเสาหรือกิ่งไม้
  • ใบพริกไทย เป็นใบเลี้ยงคู่ โดยแตกใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ใบหนา ผิวใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกพริกไทย ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกจากปลายยอด ดอกอ่อนมีสีเขียวอมขาว ส่วนดอกแก่มีสีเขียว
  • ผลพริกไทยหรือเมล็ดพริกไทย มีลักษณะกลม และ เล็ก ผลจับกลุ่มกันเป็นช่อๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเขียวเข้มขึ้น เปลือกผลพริกไทยแข็ง รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน

คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย

สำหรับพริกไทยนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ทั้งผลสด ผลแห้ง โดยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพริกไทยดำ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี  มีสารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 12.46 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม ไขมัน 3.26 กรัม คาร์โบไฮเดรต 63.95 กรัม กากใยอาหาร 25.3 กรัม แคลเซียม 443 มิลลิกรัม เหล็ก 9.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 171 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 158 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1329 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม สังกะสี1.19 มิลลิกรัม  ไทอะมีน 0.108 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.180 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.143 มิลลิกรัม วิตามินบี6  0.291 มิลลิกรัม โฟเลต 17 ไมโครกรัม วิตามินเอ 27 ไมโครกรัม และ วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม

น้ำมันพริกไทย ( Pepper oil ) คือ น้ำมันหอมระเหยที่สามารถสกัดได้จากพริกไทย โดยน้ำมันหอมระเหยพริกไทยมีกลิ่นหอม โดยสารต่างๆที่พบในน้ำมันพริกไทย ประกอบด้วย α – thujene , α – pinene , camphene , sabinene , β-pinene , myrcene , 3-carene , limonene และ β-phellandren

ผลผลิตจากพริกไทย

สำหรับผลผลิตต่างๆจากพริกไทย มี 4 ลักษณะ คือ พริกไทยสด พริกไทยดำ พริกไทยขาว และ พริกไทยป่น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยสด ( Fresh pepper ) คือ ผลพริกไทยสด มีสีเขียวช่วยดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม
  • พริกไทยดำ ( black pepper ) คือ ผลพริกไทยแก่ตากแห้ง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร รสเผ็ดร้อน
  • พริกไทยขาว ( white pepper ) คือ ผลพริกไทยนำมาแช่น้ำ และ นวดเพื่อแยกเปลือกออก จนเหลือแต่เมล็ดสีขาว จากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด
  • พริกไทยป่น ( powder pepper ) คือ พริกไทยขาวนำมาบดให้ละเอียด มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด

สรรพคุณของพริกไทย

สำหรับประโยชน์ของพริกไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เมล็ดพริกไทย เถาพริกไทย รากพริกไทย ดอกพริกไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดพริกไทย สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นประสาท แก้โรคลมบ้าหมู ช่วยบำรุงร่างกาย  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มความอบอุ่นของร่างกาย ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ไอ ช่วยลดไข้ บำรุงเลือด  ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูขาว ช่วยแก้อักเสบ รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงผิว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกพริกไย สรรพคุณแก้อาการตาแดง แก้อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ช่วยผ่อนคลาย
  • ลำต้นพริกไทย หรือ เถาพริกไทย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ท้องร่วง
  • รากพริกไทย สรรพคุณแก้เวียนหัว แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม
  • ใบพริกไทย สรรพคุณแก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันพริกไทย สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท

โทษของพริกไทย

สำหรับพริกไทยมีคุณสมบัติร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • พริกไทย รสเผ็ดร้อน สำหรับคนที่ป่วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • การกินพริกไทยมากเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบบ่อย เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง
  • พริกไทยมีรสเผ็ด สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระตายเคือง

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย ประโยชน์และสรรพคุณของพริกไทย เช่น ขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง สรรพคุณของมะขามป้อม บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับของเสีย ลักษณะของต้นมะขามป้อม คุณค่าทางโภชนาการและโทษเป็นอย่างไร

มะขามป้อม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) จัดเป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ผลมะขามป้อมมีรสเปรียว ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กำทวด กันโตด หมากขามป้อม มั่งลู่ สันยาส่า เป็นต้น มะขามป้อม มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ มะขามอินเดีย

ต้นมะขามป้อม ขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม สามารถขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน จึงสามารถพบมะขามป้อมได้ในประเทศไทย และ ประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะขามป้อมเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม มีความสูงประมาณ 8 – 10 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกมีผิวเรียบ มีน้ำตาล สามารถลอกออกเป็นแผ่นๆได้ เนื้อไม้มีสีแดง ต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม
  • ใบมะขามป้อม มีขนาดเล็ก ทรงรี สีเขียว เหมืิอนต้นมะขาม ใบเป็นใบประกอบ มีจำนวนมาก ตามกิ่งของมะขามป้อม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ ปลายใบมน ใบแก่จะออกสีน้ำตาล หรือ สีส้ม และ จะร่วงหล่น
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง
  • ผลมะขามป้อม สีเขียวอ่อน ลักษณะทรงกลมแบน เปลือกของผลมะขนป้อมลักษณะ เรียบ มัน เนื้อผลมะขามป้อมอ่อน ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม โดยศึกษาจากผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยรายละเอียดของคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญและวิตามิน ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1 กรัมธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม  โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี ในผลสดมะขามป้อมมีสารอาหารและวิตามิน ต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 84.10 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัมโปรตีน 0.70 กรัม  ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

นอกจากนี้และ การศึกษาสารเคมีต่างๆในมะขามป้อม สามารถพบสารสำคัญมากมาย จาก เมล็ดมะขามป้อม เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสารต่างๆ มีดังนี้

  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน

สรรพคุณมะขามป้อม

สำหรับสรรพคุณของมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม  เปลือกมะขามป้อม และ เมล็ดมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของมะขามป้อม มีดังนี้

  • ใบและผลของมะขามป้อม สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ  เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดน้ำตาลในเลือด ลดเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาแผลในปาก ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม ในเมล็ดของมะขามป้อมมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกลำต้นของมะขามป้อม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้อาหารเป็นพิษ  และ รักษาโรคผิวหนัง
  • แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง แก้อาหารเป็นพิษ และ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะขามป้อม

สำหรับโทษจากใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม หรือ การรับประทานมะขามป้อม นั้นจะเกิดจากการใช้อย่างไม่เหมาะสม หรือ การกินในปริมาณที่มากเกินไป และ ติดต่อกันนานเกินไป ข้อควรระวังในการใช้มะขามป้อม มีดังนี้

  • ผลมะขามป้อม มีรสเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งรับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือ มีโรคที่ระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินมะขามป้อม
  • มะขามป้อม มีสรรพคุณเป็นยาเย็น มีฤทธิ์เย็น ทำให้อณหภูมิร่างกายลดลง สำหรับคนที่มีภาวะร่างกายเย็น ไม่ควรกินมะขามป้อม เพราะจะทำให้ร่างกายเย็นเกินไป
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มียาจากแพทย์อยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์หากรับประทานมะขามป้อมในปริมาณที่มาก และ ติดต่อกันนานๆ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย