ขมิ้น สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมใช้เหง้ามาทำประโยชน์ สรรพคุณของขมิ้น เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงระบบเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล ลดการอักเสบ แก้ท้องอืด บำรุงสมองขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ต้นขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นมีกลิ่นหอมที่มีความเฉพาะตัว นิยมใช้ตกแต่งกลิ่นและสีของอาหาร อาหารไทยนิยมใช้ขมิ้นมาทำอาหารหลายเมนูอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ ปลาต้มขมิ้น เป็นต้น

ขมิ้นมีประวัติการนำเอาขมิ้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากกว่า 5000 ปี ทั้งการนำมาทำเป็นยาและอาหาร ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าและหัวอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ขมิ้นชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนิยมใช้ประโยชน์จากเหง้าขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของเหง้าขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • บำรุงผิวพรรณ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • ช่วยสมานแผลทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น

โทษของขมิ้น 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้น หถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคขมิ้นต้องระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจจะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้น มีดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

มะขามป้อม มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง สรรพคุณของมะขามป้อม บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับของเสีย ลักษณะของต้นมะขามป้อม คุณค่าทางโภชนาการและโทษเป็นอย่างไร

มะขามป้อม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) จัดเป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ผลมะขามป้อมมีรสเปรียว ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กำทวด กันโตด หมากขามป้อม มั่งลู่ สันยาส่า เป็นต้น มะขามป้อม มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ มะขามอินเดีย

ต้นมะขามป้อม ขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม สามารถขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน จึงสามารถพบมะขามป้อมได้ในประเทศไทย และ ประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะขามป้อมเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม มีความสูงประมาณ 8 – 10 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกมีผิวเรียบ มีน้ำตาล สามารถลอกออกเป็นแผ่นๆได้ เนื้อไม้มีสีแดง ต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม
  • ใบมะขามป้อม มีขนาดเล็ก ทรงรี สีเขียว เหมืิอนต้นมะขาม ใบเป็นใบประกอบ มีจำนวนมาก ตามกิ่งของมะขามป้อม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ ปลายใบมน ใบแก่จะออกสีน้ำตาล หรือ สีส้ม และ จะร่วงหล่น
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง
  • ผลมะขามป้อม สีเขียวอ่อน ลักษณะทรงกลมแบน เปลือกของผลมะขนป้อมลักษณะ เรียบ มัน เนื้อผลมะขามป้อมอ่อน ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม โดยศึกษาจากผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยรายละเอียดของคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญและวิตามิน ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1 กรัมธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม  โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี ในผลสดมะขามป้อมมีสารอาหารและวิตามิน ต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 84.10 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัมโปรตีน 0.70 กรัม  ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

นอกจากนี้และ การศึกษาสารเคมีต่างๆในมะขามป้อม สามารถพบสารสำคัญมากมาย จาก เมล็ดมะขามป้อม เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสารต่างๆ มีดังนี้

  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน

สรรพคุณมะขามป้อม

สำหรับสรรพคุณของมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม  เปลือกมะขามป้อม และ เมล็ดมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของมะขามป้อม มีดังนี้

  • ใบและผลของมะขามป้อม สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ  เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดน้ำตาลในเลือด ลดเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาแผลในปาก ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม ในเมล็ดของมะขามป้อมมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกลำต้นของมะขามป้อม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้อาหารเป็นพิษ  และ รักษาโรคผิวหนัง
  • แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง แก้อาหารเป็นพิษ และ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะขามป้อม

สำหรับโทษจากใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม หรือ การรับประทานมะขามป้อม นั้นจะเกิดจากการใช้อย่างไม่เหมาะสม หรือ การกินในปริมาณที่มากเกินไป และ ติดต่อกันนานเกินไป ข้อควรระวังในการใช้มะขามป้อม มีดังนี้

  • ผลมะขามป้อม มีรสเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งรับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือ มีโรคที่ระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินมะขามป้อม
  • มะขามป้อม มีสรรพคุณเป็นยาเย็น มีฤทธิ์เย็น ทำให้อณหภูมิร่างกายลดลง สำหรับคนที่มีภาวะร่างกายเย็น ไม่ควรกินมะขามป้อม เพราะจะทำให้ร่างกายเย็นเกินไป
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มียาจากแพทย์อยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์หากรับประทานมะขามป้อมในปริมาณที่มาก และ ติดต่อกันนานๆ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย