ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย โทษของเห็ดชุมเทศเป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ต้นเห็ดชุมเทศเป็นอย่างไรชุมเห็ดเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ เรียก Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ เรียก Senna alata (L.) Roxb. เห็ดชุมเทศเป็นไม้ล้มลุกตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทอง สวยงาม สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เห็ดชุมเทศในประเทศไทย พบได้ในตอนบนของประเทศ และ เขตภูเขาสูง ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ เช่น ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า  ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ พืชล้มลุก ขนาดกลาง ทรงพุ่ม ในประเทศไทยพบได้ตามเขตภูเขาสูง การขยายพันธ์ของชุมเห็ดเทศใช้การเพาะเมล็ด ต้นชุมเห็ดเทศมีลักษณะ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของลำต้น เรียบ ตรง มีขน สีน้ำตาล ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ ลักษณะใบทรงรี ใบหยัก ปลายใบโค้งมน เรียงสลับกันตามกิ่งก้าน เนื้อของใบค่อนหนา หยาบ และ เหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของดอก ตั้งตรง รูปไข่ ดอกมีขนาดใหญ่ สึเหลืองทาง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของผลเป็นฝัก ยาว แบน เรียบ ไม่มีขน ฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมล็ดอยู่ภายในฝัก

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

มีการนำเอาชุมเห็ดเทศ มาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมกินยอดอ่อน และ ดอกชุมเห็ดเทศ กินเป็นผักสด โดยนำมาลวกก่อนนำมากิน  แต่ด้วยความสวยงามของดอกชุมเห็ดเทศ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามของบ้าน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

การใช้ชุมเห็ดเทศด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น ชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นของชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกของต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดเส้น  แก้กษัย ขับเสมหะ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้เป็นยาบ้วนปาก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น รักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลพุพอง เป็นต้น
  • รากของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลย์ของร่างกาย แก้กษัย แก้ตาเหลือง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับพายธิ แก้พิษตานซาง รักษาอาการท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร

โทษของชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ มีพิษเป็นยาเบื่อ การใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ชุมเห็ดเทศ เพราะ ชุมเห็ดเทศช่วยกระตุ้นการคลอดลูก อาจทำให้แท้งได้
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ชุมเห็ดเทศ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถใช้ได้อาจเป็นอันตราย
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ คือ พืชพื้นเมือง สุมนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของเห้ดชุมเทศ เป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ประโยชน์ของเห็ดชุมเทศ เป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชุมเห็ดเทศ (Chumhet Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 108.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หน้า 75.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 208.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ชุมเห็ดเทศ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 271-274.
  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [13 มี.ค. 2014].
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 มี.ค. 2014].
  • สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [13 มี.ค. 2014].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 26 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 มี.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [13 มี.ค. 2014].
  • พืชสมุนไพร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/tewpharmacyherb/mean.htm. [13 มี.ค. 2014].
  • หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. “ชุมเห็ดเทศ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 74-75.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

การบูร พืชมีผลึกสีขาว กลิ่นหอม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ต้นการบูรเป็นอย่างไร สรรพคุณของการบูร เช่น ช่วยกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว แก้เวียนหัว แก้มึนเมา โทษของการบูร

การบูร สมุนไพร สรรพคุณของการบูร

การบูร คือ ผลึกธรรมชาติที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ซึ่งจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ต้นการบูร และพบมากที่สุดในแก่นของราก และ แก่นของต้น ส่วนในใบและยอดอ่อนของต้นการบูร มีผลึกการบูรน้อย ลักษณะของผลึกการบูร เป็นเกล็ด กลม ขนาดเล็ก  สีขาว จับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย หากทิ้งเอาไว้ผลึกที่มีกลิ่นหอมของการบูรจะเหิดไปหมด

ซึ่งข้อมูลทางเภสัชวิทยาได้ศึกษาการบูร พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยของการบูร และ การบูร มีสารเคมีประกอบด้วย acetaldehyde , betelphenol , caryophyllen , cineole , eugenol , limonene , linalool , orthodene , p-cymol , และ salvene การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง และ ลดระดับคอเลสเตอรอล การบูรมีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้การหายใจถี่ขึ้น

การบูร ( Camphor ) ชื่อวิยาศาสตร์ของการบูร คือ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl เป็นพืชตระกูลอบเชย ชื่อเรียกอื่นๆของการบูร เช่น การะบูน  อบเชยญวน  พรมเส็ง เจียโล่ จางมู่ จางหน่าว เป็นต้น

ลักษณะของต้นการบูร

ต้นการบูร เป็นไม้ยืนต้น เป็นพื้นเมืองของประเทศในเขตอบอุ่น อย่างประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ลักษณะของต้นการบูรเป็นทรงพุ่ม ขนาดกว้างและทึบ

  • ลำต้นการบูร มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลักษณะผิวหยาบ เปลือกของกิ่งการบูรเป็นสีเขียว และ สีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เป็นส่วนที่สามารถนำมาทำ การบูร ที่มีกลิ่นหอม
  • ใบการบูร เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลักษณะมัน ท้องใบมีสีเขียวอมเทา ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม การบูร
  • ดอกการบูร ต้นการบูรออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมสีเหลือง การบูรจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลการบูร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของการบูร

สำหรับการบูร สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ด้านใช้เป็นยารักษาโรค และ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง อาหาร และ ยารักษาโรค เนื่องจาก กลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึก บรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้เมารถ เมาเรือ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้น มีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และ ขนม ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก เป็นต้น

การบูร นำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ โดยนำมาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้า และ ยังช่วยลดกลิ่นอับชื้นได้ นอกจากนี้ มีการใช้การบูร เป็นส่วนผสมของยาหอมเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำมาใช้ทำน้ำมันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของการบูร

การใช้ประโยชน์ของการบูร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลึกการบูร เมล็ด เปลือกลำต้น รากการบูร กิ่งการบูร เนื้อไม้การบูร โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของการบูร สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้องน้อย
  • เปลือกการบูร สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย ช่วยสมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลเน่าเปื่อย
  • เนื้อไม้การบูร สรรพคุรบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ผลึกการบูร สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ยาบำรุงหัวใจ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ยาระงับประสาท ช่วยแก้เลือดลม แก้ปวดฟัน ช่วยในการขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง บำรุงกำหนัด ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ปวด ช่วยแก้อาการชัก
  • กิ่งของการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก
  • รากการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก

โทษของการบูร

การใช้ประโยชน์จากการบูรมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากการบูร มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินการบูร เนื่องจากจะเป็นพิษ
  • สำหรับคนที่อยู่ในภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ป่วยโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งและแห้ง ไม่ควรกินการบูร เพราะ จะทำให้ไม่หาย
  • การบูรที่มีสีสีเหลืองและสีน้ำตาล ห้ามกิน เนื่องจากเป็นพิษ
  • การกินการบูรในปริมาณเกิน 0.5 กรัมจะทำให้เวียนหัว แสบร้อนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง เป็นอันตรายถึงชีวิต

แหล่งอ้างอิง

  • The Merck Index, 7th edition, Merck & Co., Rahway, New Jersey, 1960
  • Handbook of Chemistry and Physics, CRC Press, Ann Arbor, Michigan, USA
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0096”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
    “Camphor (synthetic)”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  • Mann JC, Hobbs JB, Banthorpe DV, Harborne JB (1994). Natural products: their chemistry and biological significance. Harlow, Essex, England: Longman Scientific & Technical. pp. 309–11. ISBN 978-0-582-06009-8.
  • “การบูร ไม้หอมมากประโยชน์ สร้างรายได้น่าลงทุน”. kaset.today.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย