เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเขือเทศ สมุนไพรสำหรับความงาม ต้นมะเขือเทศเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศมีอะไรบ้างมะเขือเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะเขือเทศ ( Tomato ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือเทศ คือ Lycopersicon esculentum Mill. ชื่อเรียกอื่นๆของมะเขือเทศ เช่น มะเขือส้ม มะเขือเครือ มะเขือน้อย ตรอบ น้ำนอ เป็นต้น ต้นมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก แถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ จากนั้นมะเขือเทศได้แพร่กระจายเข้าสู่ทวีกอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีดังนี้

  • รากมะเขือเทศ เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากแก้วความลึกได้ถึง 1 เมตร และ รากแขนงยาวได้ถึง 50 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นของมะเขือเทศ เนื้อลำต้นอ่อน เป็นทรงกลม เปราะและหักง่าย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม และ ลำต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ใบของมะเขือเทศ ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบสีเขียว มีขนอ่อนๆ ผิวใบหยาบ ในไม่เรียบ
  • ดอกมะเขือเทศ ลักษณะดอกมะเขือเทศออกเป็นช่อ แทงออกตามข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะเขือเทศ ลักษณะกลม ฉ่ำน้ำ ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดง
  • เมล็ดมะเขือเทศ ลักษณะแบน ทรงรี สีเหลือง ขนาดเล็ก อยู่ภายในผลของมะเขือเทศ

มะเขือเทศในประเทศไทย

สำหรับมะเขือเทศในประเทศไทย นั้นมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มะเขือเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพืช โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และ มะเขือเทศสำหรับรับประทานผลสด ซึ่งจากสถิติการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 90,000 พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ ร้อยละ 90 ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เพื่อการบริโภคผลสด ประมาณ  9,000 ไร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และ สารต่างๆจากมะเขือเทศ ได้มีการศึกษาผลมะเขือเทศสด ขนาด 100 กรัม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่ามะเขือเทศให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม น้ำตาล 2.6 กรัม กากใยอาหาร 1.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม น้ำ 94.5 กรัม วิตามินเอ 42 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 123 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.594 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม วิตามินเค 7.9 ไมโครกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.114 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 2,573 ไมโครกรัม

ผลมะเขือเทศสด พบว่ามีสารสำคัญ กลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ไลโคพีน ( Lycopene ) เป็นสารให้สีแดง และ มี กรดซิตริก ที่ให้รสเปรี้ยว ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ จะมีสารอาหารสำคัญมามกา แต่ในมะเขือเทศ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก โดยคุณสมบัติของสารชนิดนี้ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยพบในมะเขือเทศดิบมากกว่ามะเขือเทศสุก

สรรพคุณของมะเขือเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากผลของมะเขือเทศ โดยพบว่า ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหอบหืด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในปาก
  • บำรุงเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  • ป้องกันเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิระ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาสิว
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมชุ่มชื่น

โทษของมะเขือเทศ

สำหรับการบริโภคมะเขือเทศ เพื่อความปลอดภัยต้องรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระมัดระวังในการบริโภคมะเขือเทศ มีดังนี้

  • น้ำมะเขือเทศ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินมะเขือเทศแล้วได้ประโยชน์ทั้งหมด เพราะ ในมะเขือเทศมีธาตุโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือ ผู้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรดื่มน้ำมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศดิบ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ สาร beta-tomatine แต่มีในปริมาณเล็กน้อย เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยผลมะเขือเทศดิบ สีเขียว มีความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม

มะเขือเทศ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร สำหรับความงาม ลักษณะของต้นมะเขือเทศ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย